วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

ว่าที่คุณแม่กับความเลี่ยง

ผู้หญิงทุกคนเมื่อรู้ว่าตัวเองตั้งครรภื  แม้จะไม่ใช่ครรภ์แรกก็อดกังวลไม่ได้ว่า  การตั้งครรภ์ครั้งนี้จะมีความเสี่ยงไหม  เป็นคำถามที่เกิดขึ้นได้และคำตอบนั้นก็เป็นเพียงการคาดคะเน
                ตลอด 9 เดือนของการตั้งครรภ์  ว่าที่คุณแม่อาจต้องพบเจอกับเรื่องราวต่างๆ  มากมาย  ซึ่งหลายเหตุการณ์อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์  แต่บางครั้งความวิตกกับเรื่องที่ยังมาไม่ถึง  ไม่ใช้เรื่องที่ดีต่อสุขภาพของคุณแม่ในขณะนี้เพราะระหว่างตั้งครรภ์ ความเครียดและสิ่งที่คุณแม่เป็น  จะเชื่อมต่อสายสัมพันธ์ไปยังลูกน้อย
                ดังนั้น  การพิจารณา “ความเสี่ยง” ด้วยสติ  เป็นคำตอบที่ดีกว่า  สำหรับคุณแม่ทุกคนเริ่มต้นที่มาพิจารณาดูว่า  ขณะนี้คุณมีความเสี่ยงเหล่านี้หรือไม่
  • ป่วยด้วยโรคเบาหวาน
  • ตรวจพบโรคผิวหนัง
  • มีความผิดปกติของเลือด
  • ป่วยด้วยโรคหัวใจ ตับ  ไต
  • เป็นการตั้งครรภ์ฝาแฝด  แฝดสาม  หรือมากกว่านั้น
  • ลูกคนก่อนมีความผิดปกติจากการคลอด
  • มีประวัติการแท้งลูก
  • มดลูกมีรูปร่างผิดปกติ
  • เป็นโรคลมชัก
  • มีการติดเชี้อบางอย่าง
  • มีการตกเลือด
             ถ้ามีปัจจัยต่างๆ  เหล่านี้  คุณมีความเสี่ยงค่อนข้างสูง  และการตั้งครรภ์ครั้งนี้  ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างไกล้ชิด  คุณควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยงชาญเฉพาะด้าน
การเลือกแพทย์เพื่อฝากครรภ์ในกรณีนี้  อาจต้องพิจารณาด้วยคำถาม  หลักๆ  คือ
  • คุณรู้สึกสบายใจและมีความมั่นใจในตัวแพทย์  คุณต้องรู้สึกไว้วางใจและรู้สึกสบายในในตัวแพทย์ที่คุณเลือก  รวมถึงกลุ่มบุคคลที่ทำงานด้านนี้  คุณมีอิสระที่จะถามในสิ่งที่คุณกังวลหรือไม่อีกประเด็นหนึ่งที่ต้องจำไว้  คือ  บุคลิกภาพโดยทั่วไปของคุณเข้ากันได้ดีกับปรัชญาการทำงานของคุณหมอหรือไม่  เช่น  ผู้หญิงบางคนชอบแนวการคลอดแบบธรรมชาติ  ไม่ชอบเทคโนโลยีมากมายเพื่อการดูแลชาวงก่อนคลอด  ในชณะที่บางคนต้องการให้แพทย์ทำการตรวจวินิจทุกระยะทุกอย่างก้าสว  ประวิติการรักาและประวัติทางสูตินารีเวชของคุณมีอิทธิพลต่อแนวความคิดเกี่ยว กับการตั้งครรภ์ของคุณ
  • จำนวนแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการทำคลอด  คุณอาจตัดสินใจเลือกระหว่าแพทย์ที่ทำงานกันเป็นทีมหรือแพทย์ที่ปฎิบัติงานเพียงลำพัง
  • ถามแพทย์เกี่ยวกับนโยบายการทำงานกรณีที่เป็นเหตการณ์ฉุกเฉิน  รวมถึงถามคำถามที่คุณต้องการทราบทางโทรศัพท์ในชาวงเวลาเย็นหรือวันหยุด
  • ลักษณะของโรงพยาบาล  ถ้าครรภ์ของคุณไม่มีปัญหา  โรงพยาบาลหรือศูนย์ที่ทำคลอดดีๆ  สักหน่อยก็ถือว่าเหมาะสม  แต่ถ้าคุณมีปัญหาความเสี่ยง  คุณอาจต้องเลือกโรงพยาบาลที่ดีสักหน่อยซึ่งมีพยาบาลพร้อมที่จะรับมือกับ ปัญหาที่เกิดขึ้น  เช่น  ทารกคลอดก่อนกำหนด  โดยพิจาณาว่า
- กรณีฉุกเฉิน  สามารถเรียกวิสัญญีแพทย์ได้ทันที  หรือตลอด 24 ชั่วโมงหรือไม่
-  โรงพยาบาลมีการควบคุมความเจ็บปวดระหว่างคลอดหรือไม่  ถ้าไม่มีการว่างยาสลบ  หรือคุณไม่สนมจยาสลบ  คุณน่าจะได้มองหาทางเลือดอื่นที่ลดความความเจ็บปวดระหว่างคลอด
- ภายหลังการคลอด  คุณสามารถเช้าไปดูลูกได้บ่อยเท่านี้ต้องการหรือไม่  โรงพยาบาลจัดที่พักไว้สำหรับคุณพ่อในช่วงหลังคลอดหรือไม่
  • มีผู้เชียวชาญให้การดูแลใกล้ชิดหรือไม่  กรณีที่คุณต้องการได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญด้านแม่และเด็ก  หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลทารกที่คลอดก่อนกำหนดหรือเด็กทารกที่มี ปัญหาการให้ยาทางที่ดีแพทย์จะต้องส่งคนไข้ไปยังผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ได้โดย ทันทีที่มีอะไรเกิดขึ้น
                      อย่างไรก็ตามแม้ปัจจัยต่างๆ  ที่กล่าวมาข้างต้นจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ของคุณ  แต่คุณไม่ควรกังวลมากเกินไป  เพียงแค่ต้องวางแผนเพิ่มในการเลือกแพทย์และโรงพยาบาลเผื่อไว้ในกรณีฉุกเฉิน  และเมื่อคุณฝากครรภ์แล้ว  แพทย์จะดูแลคุรเป็นอย่างดี  และคอยให้คำแนะนำคุณตลอดกาตั้งครรภ์
                ที่มา : นิตยสารใกล้หมอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น