วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กฎหมายจราจรที่ควรทราบ

ข้อหาหรือฐานความผิดตามกฎหมายจราจรทีเกี่ยวข้องกับการขับรถที่ควรทราบ
ลำดับ ข้อหาหรือฐานความผิด มาตราที่กำหนด ความผิดและโทษ อัตราโทษ
1. ขับรถในทางเดินรถทางขวา
ม.33, 151 
ปรับตั้งแต่ 200-500 บาท


2. ขับรถในทางเดินรถล้ำกึ่งกลางของทางเดินรถเว้นแต่ (1)ทางด้านซ้ายมีสิ่งกัีดขวางหรือถูกปิดการจราจร (2)เป็้นทางเดินรถทางเดียว (3)ทางเดินรถกว้างไม่ถึง 6 เมตร
ม.33, 151 
ปรับตั้งแต่200-500บาท


3. ขับรถผิดช่องทางเดินรถ
ม.34, 151 
ปรับตั้งแต่ 200-500 บาท


4. ไม่ขับรถใกล้กับช่องเดินรถประจำทาง ในทางที่ได้จัดช่องเดินรถประจำทางไว้ในซ่องเดินรถซ้ายสุด เว้นแต่ (1)ช่องเดินรถนั้นมีสิ่งกีดขวางหรือถูกปิดการ จราจร (2)เป็นทางเดินรถทางเดียว (3)จะต้องเข้าช่องทางให้ถูกต้องเมื่อใกล้ทาง ร่วมทางแยก (4)เมื่อจะแซงขึ้นหน้ารถคันอื่น 
ม.34, 151 
ปรับตั้งแต่ 200-500 บาท


5. ขัยรถช้าไม่ขับให้ใกล้ขอบทางเดินรถทางด้านซ้ายเท่าที ่จะทำได้
ม.35 วรรคแรก, 157 
ปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท


6. ไม่ขับรถในช่องทางเดินรถซ้ายสุดหรือใกล้เคียงกับช่อง เดินรถประจำทาง
ม.35 วรรคสอง, 157 
ปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท


7. ผู้ขับขี่รับหรือเสพเข้าร่า่งกายซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ต่ อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีน  
ม.43ทวิ, 157ทวิ วรรคแรก
- จำคุกไม่เกิน 6 เดือน   
- ปรับ 5,000-20,000 บาท
- หรือทั้งจำทั้งปรับ


8. ผู้ขับขี่รับหรือเสพเข้าร่า่งกายซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ต่ อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีน เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส 
ม.43ทวิ, 157 ทวิ  วรรคสาม
- ให้ศาลเพิกถอนใบขับขี่
- จำคุก 2-6 ปี ปรับ 40,000-120,000 บาท


9. ผู้ขับขี่รับหรือเสพเข้าร่า่งกายซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ต่ อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีน เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย 
ม.43ทวิ, 157ทวิ  วรรคสาม 
- ให้ศาลเพิกถอนใบขับขี่
- จำคุก 3-10 ปี 
- ปรับ 6,0000- 200,000 บาท


10. ขับรถแซงรถคันอื่นโดยไม่ให้เสียงสัญญาณดังพอที่จะทำใ ห้ผู้ขับรถคันหน้าทราบ (กรณีมิได้แบ่งทางเดินรถไว้)  
ม.44 วรรค1, 148 
ปรับไม่เกิน 500 บาท


11. ขับรถแซงโดยรถคันหน้ายังไม่ได้ให้สัญญาณตอบ (อนุญาตหรือยอมให้แซง) 
ม.44 วรรค1, 148 
ปรับไม่เกิน 500 บาท


12. ขับรถแซงรถคันอื่นแล้วตัดหน้ารถคันที่ถูกแซงในระยะกระขั้นขิด
ม.44 วรรค2, 148 
ปรับไม่เกิน 500 บาท


13. ขับรถแซงรถคันอื่นด้านซ้าย เว้นแต่ (1)รถที่ถูกแซงกำลังเลี้ยวขวาหรือให้สัญาณว่าจะเลี้ยวขวา (2)ทางเดินรถแบ่งไว้ตั้งแต่ 2 ช่องทางขึ้นไป
ม.45, 157 
ปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท


14. ขับรถแซงซ้ายในทางที่จัดแบ่งช่องเดินรถทางเดียวกันไว ้ตั้งแต 2 ช่องขึ้นไปแล้วตัดหน้ารถที่ตามมาในระยะกระชั้นชิด
ม.45 วรรคท้าย, 157 
ปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท


15 ขับรถแซงรถคันอื่นเมื่อรถกำลังขึ้นทางชัน
ม.46(1) , 157 ปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท


16. ขับรถแซงรถคันอื่นในทางโค้ง เว้นมีป้ายให้แซงได้
ม.46(1), 157 
ปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท


17. ขับรถแซงรถคันอื่นเมื่อรถกำลังขึ้นสะพาน
ม.46(1), 157 
ปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท


18. ขับรถแซงรถคันอื่นภายในระยะ 30 เมตร ก่อนถึงทางข้าม
ม.46(2), 157 
ปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท


19. ขับรถแซงรถคันอื่นภายในระยะ 30 เมตร ก่อนถึงทางร่วมทางแยก
ม.46(2), 157 
ปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท


20. ขับรถแซงรถคันอื่นภายในระยะ 30 เมตร ก่อนถึงวงเวียน
ม.46(2), 157 
ปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท


21. ขับรถแซงรถคันอื่นภายในระยะ 30 เมตร ก่อนถึงเกาะที่สร้างไว้ (เพื่อให้รถอ้อม)
ม.46(2), 157 
ปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท


22. ขับรถแซงรถคันอื่นภายในระยะ 30 เมตร ก่อนถึงทางเดินรถที่ตัดข้ามทางรถไฟ
ม.46(2), 157 
ปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท


23. ขับรถแซงรถคันอื่นเมื่อมีหมอก, ฝุ่น, ฝน, ควัน ทำให้ไม่อาจเห็นทางข้างหน้าได้ในระยะ 60 เมตร 
ม.46(3), 157 
ปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท


24. ขับรถแซงรถคันอื่นเมื่อเข้าที่คับขันหรือเขตปลอดภัย
ม.46(4), 157 
ปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท


25. ขับรถแซงรถคันอื่นล้ำเส้นกึ่งกลางของทางเดินรุที่กำหนดไว้ 
ม.47 วรรค1, 157 
ปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท
26. ขับรถแซงรถคันอื่นล้ำเข้าไปในช่องเดินรถประจำทาง (เว้นมีสิ่งกีดขวางหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานจราจร)  
ม.48, 157 
ปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท


27. ขับรถด้วยความเร็วต่ำไม่ยอมให้รถที่ใช้ความเร็วสูงกว ่าแซงเมื่อได้รับสัญญาณขอแซงจากรถคันที่อยู่ข้างหลัง 
ม.49, 152 
ปรับไม่เกิน 1,000 บาท


28. ขับรถที่ถูกขอแซงไม่ให้สัญญาณอนุญาตให้แซงเมื่อเห็นว่าทางเดินรถข้างหน้าปลอดภัย และไม่มีรถอื่นสวนมาในระยะกระชั้นชิด 
ม.49, 152 
ปรับไม่เกิน 1,000 บาท


29. ขับรถที่ถูกขอแซงไม่ลดความเร็วและขับรถชิดด้านซ้ายของทาง เพื่อให้รถที่จะแซงผ่านขึ้นไปโดยปลอดภัย  
ม.49, 152 
ปรับไม่เกิน 1,000 บาท


30. ขับรถไม่ให้สัญญาณก่อนจะเลี้ยว, ก่อนให้รถคันอื่นแซงขึ้นหน้า, ก่อนเปลี่ยนช่องเดินรถ หรือก่อนจะหยุดรถ  
ม.36 วรรค1, 148 
ปรับไม่เกิน 500 บาท


31. ให้สัญญาณก่อนเลี่้ยว, เปลี่ยนช่องเดินรถ, จอดหรือหยุดรถเป็นระยะทางน้อยกว่า 30 เมตร
ม.36 วรรค3, 148 
ปรับไม่เกิน 500 บาท


32. ขับรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ ให้สัญญาณไม่ถูกต้องก่อนจะหยุดรถ, เลี้ยวรถ, เปลี่ยนช่องเดินรถ, หรือให้รถคันอื่นแซงขึ้นหน้า 
ม.38, 148 
ปรับไม่เกิน 500 บาท


33. ขับรถสวนกันไม่ชิดทางด้านซ้ายของทางเดินรถ
ม.38,148 
ปรับไม่เกิน 500 บาท


34. ขับรถสวนกันในช่องทางเดินรถที่แคบ ไม่ลดความเร็ว
ม.39,151
ปรับ 200 – 500 บาท


35. ขับรถในทางเดินรถ ฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจรให้เดินรถทางเดียว
ม.41, 148
ปรับไม่เกิน 500 บาท


36. ขับรถในขณะหย่อนความสามารถที่จะขัยรถ
ม.43(1), 160 วรรค 3
- จำคุกไม่เกิน 3 เดือน
- ปรับ 2,000 -10,000 บาท
- ทั้งจำทั้งปรับ


37. ขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น
ม.43(2), 160 วรรค 3
- จำคุกไม่เกิน 3 เดือน
- ปรับ 2,000 -10,000 บาท
- ทั้งจำทั้งปรับ


38. ขับรถในลักษณะผิดปกติวิสัยของการขับรถตามธรรมดา หรือไม่อาจแลเห็นทางด้านหลังได้พอแก่ความปลอดภัย
ม.43(5), 160 วรรค 3
- จำคุกไม่เกิน 3 เดือน
- ปรับ 2,000 -10,000 บาท
- ทั้งจำทั้งปรับ


39. ขับรถโดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนหรือความปลอดภัยของ ผู้อื่น
ม.43(8), 160 วรรค 3
- จำคุกไม่เกิน 3 เดือน
- ปรับ 2,000 -10,000 บาท
- ทั้งจำทั้งปรับ


40. ขับรถในลักษณะกีดขวางการจราจร
ม.43(3), 157
ปรับตั้งแต่ 400 – 1,000 บาท


41. ขับรถโดยประมาทอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลและทรัพย์สิน
ม.43(4), 157
ปรับตั้งแต่ 400 – 1,000 บาท


42. ขับรถคร่อมหรือทับเส้นแนวแบ่งช่องเดินรถ (เว้นเปลี่ยนช่องเดินรถ, เลี้ยวรถหรือกลับรถ)
ม.43(6), 157
ปรับตั้งแต่ 400 – 1,000 บาท


43. ขับรถบนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร
ม.43(7), 157
ปรับตั้งแต่ 400 – 1,000 บาท


44. ขับรถออกจากที่จอด ไม่ให้สััญญาณในกรณีที่มีรถจอดหรือมีสิ่งกัดขวางอยู่ ข้างหน้า
ม.50, 152
ปรับตั้งแต่ 400 – 1,000 บาท


45. ขับรถออกจากที่จอดเป็นการกีดขวางการจราจรหรือไม่ปลอด ภัย
ม.50,152
ปรับไม่เกินตั้งแต่ 400 – 1,000 บาท


46. ขับรถจะเลี้ยวขวาไม่ชิดทางด้านขวาของแนวกึ่งกลางทางเ ดิินรถก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่า 30 เมตร
ม.51(2) (ก), 148
ปรับไม่เกิน 500


47. ขับรถเลี้ยวขวาในทางร่วมทางแยก ไม่ยอมให้รถที่สวนมาิิิผ่านทางร่วมทางแยกไปก่อน
ม.51(2) (จ), 148
ปรับไม่เกิน 500


48. ขับรถอ้อมไปทางขวาของวงเวียน หรือเกาะ (ย้อนศร)
ม.51(23) (จ), 148
ปรับไม่เกิน 500


49. กลับรถเมื่อมีรถอื่นสวนหรือตามมาในระยะ ไม่น้อยหว้า 150 เมตร
ม.52, 151
ปรับตั้งแต่ 200 – 500 บาท


50. เลี้่้ยวรถในทางเดินรถที่มีเครื่องหมายห้ามเลี้ยว
ม.53(1), 157
ปรับตั้งแต่ 200 – 500 บาท


51. กลับรถในทางเดินรถที่มีเครื่องหมายห้ามกลับ
ม.53(1), 157
ปรับตั้งแต่ 200 – 500 บาท


52. กลับรถในที่คับขัน, บนสะพาน, ในเขตปลอดภัย หรือในระยะ 100 เมตร จากทางราบของเชิงสะพาน
ม.53(2), 157
ปรับตั้งแต่ 200 – 500 บาท


53. กลับรถในทางร่วมทางแยกโดยไม่มีเครื่องหมายจราจรให้กลับได้
ม.53(3), 157
ปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท


54. ขับรถไม่ให้สัญญาฯก่อนหยุดหรือจอดรถ
ม.54, 148 
ปรับไม่เกิน 500 บาท


55. ให้สัญญาณก่อนหยุดรถหรือจอดรถในระยะน้อยกว่า 30 เมตร
ม.54, 148 
ปรับไม่เกิน 500 บาท


56. หยุดหรือจอดรถเป็นการกีดขวางการจราจร
ม.54, 148 
ปรับไม่เกิน 500 บาท


57. จอดรถทางขวาของทางเดินรถ
ม.54 , 148 
ปรับไม่เกิน 500 บาท


58. จอดรถไม่ขนานกับขอบทางหรือไหล่ทาง
ม.54, 148 
ปรับไม่เกิน 500 บาท


59. จอดรถห่างจากขอบทางหรือไหล่ทางเกิน 25 เซนติเมตร
ม.54, 148 
ปรับไม่เกิน 500 บาท


60. ไม่จอดรถตามทิศทางที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนดไว้
ม.54, 148 
ปรับไม่เกิน 500 บาท


61. หยุดรถในช่องทางเดินรถ
ม.55(1), 148
ปรับไม่เกิน 500 บาท


62. หยุดรถในทางเท้า
ม.55(2), 148
ปรับไม่เกิน 500 บาท


63. หยุดรถบนสะพานหรือในอุโมงค์
ม.55(3), 148
ปรับไม่เกิน 500 บาท


64. หยุดรถในทางร่วมทางแยก
ม.55(4), 148
ปรับไม่เกิน 500 บาท


65. หยุดรถในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามหยุด
ม.55(5), 148
ปรับไม่เกิน 500 บาท


66. หยุดรถตรงปากทางเข้า – ออก ของอาคารหรือทางเดินรถ
ม.55(6), 148
ปรับไม่เกิน 500 บาท


67. หยุดรถในเขตปลอดภัย
ม.55(7), 148
ปรับไม่เกิน 500 บาท


68. จอดรถบนทางเท้า
ม.57(1), 148
ปรับไม่เกิน 500 บาท


69. จอดรถบนสะพานหรือในอุุโมงค์
ม.57(3), 148
ปรับไม่เกิน 500 บาท


70. จอดรถในทางร่วมทางแยกหรือในระยะ 10 เมตร จากทางร่วมทางแยก
ม.57(3), 148
ปรับไม่เกิน 500 บาท


71. จอดรถในทางข้ามหรือในระยะ 3 เมตรจากทางข้าม
ม.57(4), 148
ปรับไม่เกิน 500 บาท


72. จอดรถในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามจอด
ม.57(5), 148
ปรับไม่เกิน 500 บาท


73. จอดรถในระยะ 3 เมตรจากท่อน้ำดับเพลิง
ม.57(6), 148
ปรับไม่เกิน 500 บาท


74. จอดรถในระยะ 10 เมตร จากที่ติดตั้งสัญญาณจราจร
ม.57(7), 148
ปรับไม่เกิน 500 บาท


75. จอดรถในระยะ 15 เมตรจากทางรถไฟผ่าน
ม.57(8), 148
ปรับไม่เกิน 500 บาท


76. จอดรถซ้อนคันกับรถคันอื่นที่จอดอยู่ก่อนแล้ว
ม.57(9), 148
ปรับไม่เกิน 500 บาท


77. จอดรถตรงปากทางเข้า ออกของอาคารหรือทางเดินรถในระยะ 5 เมตร จากปากทางเดินรถ
ม.57(10), 148
ปรับไม่เกิน 500 บาท


78. จอดรถระหว่างเขตปลอดภัยกับขอบทางหรือในระยะ 10 เมตร นับจากปลายสุดของเขตปลอดภัยทั้งสองข้าง
ม.57(11), 148
ปรับไม่เกิน 500 บาท


79. จอดรถในที่คับขัน
ม.57(12), 148
ปรับไม่เกิน 500 บาท


80. จอดรถในระยะ 15 เมตร ก่อนถึงเครื่องหมายหยุดรถประจำทางหรือจอดรถในระยะเลยเครื่องหมายไปอีก 3 เมตร
ม.57(12), 148
ปรับไม่เกิน 500 บาท


81. จอดรถในระยะ 3 เมตร จากตู้ไปรษณีย์
ม.57(14), 148
ปรับไม่เกิน 500 บาท


82. จอดรถในลักษณะกีดขวางการจราจร
ม.57(15), 148
ปรับไม่เกิน 500 บาท


83. จอดรถในทางเดินรถ ไม่หยุดเครื่องยนต์และห้ามล้อรถ เมื่อผู้ขับขี่ไม่อยู่ควบคุมรถ
ม.58, 148
ปรับไม่เกิน 500 บาท


84. จอดรถในทางเดินรถที่เป็นทางลาดหรือชัน ไม่หันล้อหน้าของรถเข้าขอบทาง
ม.58, 148
ปรับไม่เกิน 500 บาท


85. ขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งใ ห้เคลื่อนย้ายที่หยุดหรือจอดให้พ้นจากการกีดขวาง 
ม.59 วรรค 1 แก้ตาม รสช.39 พ.ศ.2534, 159
- จำคุกไม่เกิน 3เดือน
- ปรับไม่เกิน 5000 บาท
- หรือทั้งจำทั้งปรับ


86. หยุดหรือจอดในทางเดินรถนอกเขตเทศบาล ณ ที่ซึ่งผู้ขับรถอื่นจะเห็นได้ในระยะน้อยกว่า 150 เมตร
ม.3, 148
ปรับไม่เกิน 500 บาท


87. จอดรถในทางเดินรถหรือไหล่ทางในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ ไม่เปิดไฟหรือใช้แสงสว่างตามที่กำหนดในกฎกระทรวงฯ
ม.61, 151 กฎกระทรวง ฉบับที่2 (2522) ลง 30 พ.ค.2522 ข้อ14(1) หรือ (2)
ปรับตั้งแต่ 200 – 500 บาท


88. ไม่ลดความเร็วของรถและไม่หยุดรถให้ห่างจากทางรถไฟ ไม่น้อยกว่า 5 เมตร ถ้าปรากฏว่า (1)มีเครื่องหมายหรือสัญญาณระวังรถไฟ แสดงว่ารถไฟกำลังจะผ่าน (2)มีเสียงสัญญาณของรถไฟหรือรถไฟกำลังแล่นผ่านเข้ามาใกล้
ม.62, 148
ปรับไม่เกิน 500


89. ไม่ลดความเร็วของรถเมื่อขับตามหรือสวนรถโรงเรียนที่กำลังหยุดรับ-ส่ง นักเรียน
ม.64, 152
ปรับไม่เกิน 1000 บาท


90. ขับรถเร็วเกินกำหนด ฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจรที่ได้ติดตั้งไว้ในทาง
ม.67 วรรค 1, 152
ปรับไม่เกิน 1000 บาท


91. ขับรถเร็วเกินกำหนดในกฎกระทรวง (1)รถบรรทุกเกิน 1200 กก./ช.ม. รถโดยสาร ในเขตเทศบาล 60 ก.ม./ช.ม. นอกเขตเทศบาล
80 ก.ม./ช.ม. (2).รถอื่น นอกจาก 1 ขณะลากจูง, พ่วง, บรรทุกหนักเกิน 1200 กก., รถยนต์ 3 ล้อ ในเขตเทศบาล 45 ก.ม./ช.ม. นอกเขตเทศบาล 60 ก.ม./ช.ม. (3).รถอื่นๆ นอกจาก 1 หรือ 2 หรือรถจักรยานยนต์ ในเขตเทศบาล 80 ก.ม./ ช.ม. นอกเขตเทศบาล 90 ก.ม./ช.ม.
ม.67วรรค 1, 152 ฎกระทรวงฉบับที่6 (2522) ลง 30 พ.ค.2522 ข้อ1(1), (2) หรือ (3)
ปรับไม่เกิน 1000 บาท


92. เลี้ยวรถโดยไม่ลดความเร็วของรถ
ม.68, 148
ปรับไม่เกิน 500 บาท


93. ให้รถคันอื่นแซงโดยไม่ลดความเร็วของรถ
ม.68, 148 
ปรับไม่เกิน 500 บาท


94. ขับรถในทางเดินรถบนเนินเขาโดยไม่ลดความเร็วของรถ
ม.69, 148
ปรับไม่เกิน 500 บาท


95. ขับรถบนสะพาน, เชิงสะพาน, ที่แคบ, ทางโค้ง, ทางลาดหรือที่คับขัน ไม่ลดความเร็ว
ม.69, 148
ปรับไม่เกิน 500 บาท


96. ขับรถเข้าใกล้ทางร่วมทางแยกหรือวงเวียน หรือใกล้ทางข้าม ไม่ลดความเร็วของรถ
ม.70, 148
ปรับไม่เกิน 500 บาท


97. ขับรถถึงทางร่วมทางแยก ไม่ยอมให้รถอื่น(ซึ่งอยู่ในทางร่วมทางแยก)ผ่านไปก่อน
ม.71(1), 148
ปรับไม่เกิน 500 บาท


98. ขับรถถึงทางร่วมทางแยกพร้อมกัน ไม่ยอมให้รถที่อยู่ทางซ้ายของตนผ่านไปก่อน
ม.71(2), 148
ปรับไม่เกิน 500 บาท


99. ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรที่ติดตั ้งไว้ที่วงเวียน
ม73 วรรค 1, 152
ปรับไม่เกิน 1,000 บาท


100. ขับรถในทางก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน (จะผิดหรือไม่ก็ตาม) ไม่หยุดรถและให้ความช่วยเหลือตามสมควร ม.78 วรรค1, 160 วรรค1
- จำคุกไม่เกิน 3 เดือน
- ปรับ 2000- 10000 บาท
- ทั้งจำทั้งปรับ


101. ขัับรถในทางก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน (จะผิดหรือไม่ก็ตาม) ไม่หยุดรถและให้ความช่วยเหลือตามสมควร ไม่แสดงตัวและแจ้งเหตุต่อเจ้าพนักงานที่ใกล้เคียงทันที
ม.78 วรรค1, 160 วรรค1
- จำคุกไม่เกิน 3 เดือน
- ปรับ 2000- 10000 บาท
- ทั้งจำทั้งปรับ


102. ขี่หรือควบคุมสัตว์ในทางก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุค คลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น ไม่แจ้งชื่อตัว ชื่ิอสกุล ที่อยู่ของตนและเลขทะเบียนรถแก่ผู้ได้รับความเสียหาย
ม.78 วรรค1, 160 วรรค1
- จำคุกไม่เกิน 3 เดือน
- ปรับ 2000- 10000 บาท
- ทั้งจำทั้งปรับ


103. ขี่หรือควบคุมสัตว์ในทางก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น ไม่แจ้ง ชื่อตัว ชื่ิอสกุล ที่อยู่ของตนและเลขทะเบียนรถแก่ผู้ได้รับความเสียหาย ไม่แสดงตัวและแจ้งเหตุต่อเจ้าพนักงานที่ใกล้เคียงทันที
ม.78 วรรค1, 160 วรรค1 
- จำคุกไม่เกิน 3 เดือน
- ปรับ 2,000- 10,000 บาท
- ทั้งจำทั้งปรับ


104. ขับรถ ขี่ หรือ ควบคุมสัตว์ ไม่ปฏิบัติตาม ม.78 เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย 
ม.78, 160 วรรค2 
- จำคุกไม่เกิน 6 เดือน
- ปรับ 5,000- 20,000 บาท
- ทั้งจำทั้งปรับ (เปรียบเทียบปรับไม่ได้)


105. ขับรถในทางในเวลาที่มีแสงสว่าง ไม่เพียงพอ ไม่เปิดไฟหรือใช้แสงสว่างตามประเภทลักษณะและเงื่อนไขตามที่กำหนดในกฎกระทรวง โดย (1)ใช้โคมไฟแสงพุ่งไกลเมื่้อไม่มีรถสวนมา (2)ใช้โคมไฟแสงพุ่งต่ำเมื่อมีรถสวนมา 
ม.11, 148 กฎกระทรวงฯ ฉบับที่2 (2522) ลง 30 พ.ค. 22 ข้อ 13(1) หรือ (2)
ปรับไม่เกิน 500 บาท


106. ขับรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ ใช้เสียงสัญญาณไม่ใช่เสียงแตร
ม.12(1), 147
ปรับไม่เกิน 200 บาท


107. ขับรถจักรยาน ใช้เสียงสัญญาณ ไม่ใช่เสียงกระดิ่ง
ม.12(3), 147
ปรับไม่เกิน 200 บาท


108. ขับรถในทางเดินรถ ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ ใช้เสียงสัญญาณไซเรน เสียงนกหวีด ใช้เสียงสัญญาณหลายเรื่องหรือใช้เสียงสัญญาณดังเกินควร
ม.13 วรรค 1, 152
ปรับไม่เกิน 1000 บาท


109. ขับรถใช้เสียงสัญญาณโดยไม่จำเป็น หรือใช้เสียงสัญญาณยาว หรือซ้ำเกินควร
ม.14 วรรค1, 148
ปรับไม่เกิน 500 บาท


110. ขับรถบรรทุกของยื่นเกินความยาวของรถในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ, ไม่จุดไฟ, สัญญาณแสงแดงที่ปลายสุดของสิ่งที่บรรทุกให้เห็นในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร
ม.15 วรรค1, 152
ปรับไม่เกิน 1000 บาท


111. ขับรถบรรทุกของยื่นเกินความยาวของรถในเวลากลางวัน ไม่ติดธงสีแดงไว้ที่ปลายสุดของสิ่งที่บรรทุกให้เห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร
ม.15 วรรค1, 152
ปรับไม่เกิน 1000 บาท

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความแตกต่างของกล่อง F – CON S กับ F-CON-V PRO

ข้อแตกต่างของ F-CON S กับ F-CON V Pro สามารถแยกเป็นข้อๆ แบบคร่าวๆ ได้ดังนี้
1. F-CON S ยังจำเป็นที่จะต้องรับสัญญาณขาเข้าของ sensor มาคำนวนและปรับแต่งค่าตามที่ต้องการก่อน แล้วจึงส่งให้กับ ECU ติดรถ เมื่อ ECU ส่งสัญญาณออกมาที่กล่อง F-CON S เพื่อให้ตรวจสอบค่าที่ถูกต้องรวมไปถึงปรับเปลี่ยนค่า ต่างๆให้เหมาะสม จากนั้นจึงกำหนดองศาการจุดระเบิดและปริมาณการฉีดจ่าย น้ำมันไปยังเครื่องยนต์ พูดง่ายๆก็คือ F-CON S จะทำการดักสัญญาณทั้งขาเข้าและขาออกเพื่อตรวจสอบและป รับแต่งค่าต่างๆให้เหมาะสมที่สุด อย่างไรก็ดี F-CON S ยังจำเป็นที่จะต้องรับค่าต่างๆจากกล่อง ECU เดิมอยู่ดี หรือเป็นได้แค่ Piggy Back
ส่วน F-CON V Pro นั้นจะรับค่าต่างๆ จาก sensor โดยจะประมวลผลรวมถึงปรับแต่งค่าเหล่านั้น และส่งค่าต่างๆที่ถูกกำนหดใหม่ออกจากกล่อง F-CON V Pro ไปกำหนดองสาไฟจุดระเบิดและปริมาณการจ่ายน้ำมัน ไปยังเครื่องยนต์โดยไม่จำเป็นที่จะต้องรอรับข้อมูลจา ก ECU เดิมเหมือนกับ F-CON S ส่วนข้อมูลมาตรฐานจะส่งผ่าน กล่อง F-CON V Proกลับไปที่ ECU เดิม (เช่นระบบความคุมแอร์) ดังนั้น F-CON V Pro ไม่จำเป้นที่จะต้องพึ่งข้อมูลเดิมจากกล่อง ECU คือสามารถทำงานได้แบบ stand alone หรือเป็นกล่องแบบ Engine Management ซึ่งทำให้ F-CON V Pro สามารถปรับแต่งข้อมูลและกำนหนดค่าต่างๆ ได้อิสระกว่า
2. F-CON S จะมีค่า default ที่เป็นโปรแกรมสั่งการในขั้นเริ่มต้นมาให้ โดยจะเป็นค่าที่จะปรับแต่งเครื่องยนต์มาให้แบบ Light Tune ซึ่งค่าที่ให้มาจะเป็นของเครื่องยนต์แต่ละรหัสของรถแ ต่ละรุ่น เช่น 2JZ GTE ในรถ JZA80 เป็นต้น ซึ่งค่าเหล่านี้จะสามารถใช้ได้กับ spec รถและเครื่องยนต์นั้นๆ แม้ว่าจะเป็นเครื่องรหัสเดียวกัน แต่ว่าอยู่ในรถคนละคันก็ไม่สามารถใช้กันได้ นอกจากนี้ค่าที่ set มาใน Step Light Tune นี้จะเป็นค่าที่ถูกกำหนดมาสำหรับรถที่ใช้ octane 100 (เพราะในญี่ปุ่นเบนซินซูเปอร์จะไม่ใช่แค่ 91 ครับแต่เป็น 100) รวมไปถึงชุดหัวฉีดที่ใช้ต้องเป็นของเดิม และ บูสท์ไม่เกินค่าที่กำหนดไว้ด้วย ดังนั้นถ้ามีการเปลี่ยนปั้มเบนซิน หรือเปลี่ยนหัวฉีด รวมไปถึง บูสท์เกินกว่าที่กำนหด จำเป็นที่จะต้องไล่จูนป้อนค่าต่างๆที่ต้องการกันใหม่ หมด ไม่สามารถใช้ค่า default ที่กล่อง F-CON S มีมาให้ได้ แต่ถ้าทุกอย่างยังเป็น Standard ก็แค่กำหนดค่าน้ำมัน octane ใหม่ (คือยังไงก็ต้องจูนใหม่ แต่จูนนิดเดียว) 
ส่วน F-CON V Pro นั้นจะมาแบบว่างเปล่าเลย (เหมือนตอนก่อนเริ่มเรียนหนังสือ) ไม่มีค่า default เริ่มต้นมาให้ทำให้ทุกๆค่าจำเป็นที่จะต้องไล่ป้อนค่า กันใหม่ทั้งหมด ซึ่งจะยุ่งยากสำหรับรถที่มีสภาพ standard ชิ้นส่วนต่างๆทั้งหมดเกือบเดิมสนิท ต้องการแค่แบบ Light Tune นั้นเอง


3. F-CON S มีความฉลาดหรือที่เรียกว่าความละเอียดในการจูนนั้นน้อยกว่า F-CON V Pro เนื่องจากหน่วยความจำในการควบคุมและสั่งการเครื่องยน ต์ของ F-CON V Pro มีจำนวนมากกว่าของ F-CON S


4. F-CON S มีราคาถูกกว่า F-CON V Pro เนื่องจากมีหน่วยความจำในการสั่งการและควบคุมเครื่องยนต์น้อยกว่า แต่ F-CON S สามารถปรับจูนได้ง่ายกว่า เนื่องจากมีค่า default มาให้อยู่แล้วในกล่อง (สำหรับรถที่เป็นแบบ Light Tuning) 
ส่วน F-CON V Pro นั้นจูนยากกว่าเยอะ เนื่องจากไม่มีค่า default เริ่มต้นมาให้ ทำให้จำเป็นต้องนั่งเขียนค่าทั้งหมดใหม่เลย นอกจากนี้ F-CON V Pro ไม่สามารถบอกทุกๆอย่างเกี่ยวกับตัวรถได้ เพราะรับสัญญาณค่าเข้าจาก sensor แล้วจึงนำค่าที่ได้ไปแปลงแล้วกำหนดองศาการจุดระเบิดแ ละปริมาณการฉีดจ่ายน้ำมันของเครื่องยนต์ แต่ไม่ได้ควบคุมระบบอื่นๆของรถ เช่นการ เปิดแอร์ปิดแอร์ ดังนั้นหากยังต้องการให้รถของคุณสามารถใช้งานได้ทุกว พันยังจำเป็นที่จะต้องพ่วง F-CON V Pro กับกล่อง ECU เดิมติดรถอยู่ดี แต่ถ้าไม่แคร์ว่าไม่มีแอร์ก็ไม่เป็นไร อากาศเมืองไทยมันโคตรเย็น จะใช้ F-CON V Pro แบบ stand alone ก็ได้ไม่มีปัญหา

5. แม้ว่า F-CON S จะมีราคาถูกกว่า และมีหน่วยความจำในการสั่งค่าและควบคุมเครื่องยนต์น้ อยกว่า F-CON V Pro รวมถึงมี range ในการจูนได้น้อยกว่า (พูดง่ายๆก็คือมีข้อจำกัดมากกว่าหากต้องการจะทำเครื่องเยอะๆ) แต่ถ้าเป็นการจูนแบบใช้งานทั่วไปไม้ได้ boost บ้าพลัง คลั่งแรงม้ามากนัก F-CON S ก็สามารถที่จะสร้างแรงม้าและแรงบิดได้ไม่แพ้ F-CON V Pro สักเท่าไร จากตัวอย่างข้อมูลของ HKS ญี่ปุ่นมีดังนี้ครับ ในการจูน JZA 80 เครื่องยนต์ 2JZ GTE Turbo T04 R ด้วยหัวฉีดขนาด 650 cc. (ของเดิมขนาด 480 cc.) ใช้ F-CON S ในการจูนสามารถสร้างแรงม้าได้ที่ 485 แรงม้า 
ส่วนของ F-CON V Pro สามารถสร้างแรงม้าออกมาได้ 508 แรงม้าซึ่งจะเห็นว่า F-CON S มีแรงม้าน้อยกว่า F-CON V Pro อยู่ประมาณ 23 ตัว สำหรับบางคนอาจจะมองว่ามันเยอะนะ แต่ว่าถ้ามองในแง่ของเงินที่ต้องจ่ายเพิ่มแล้วล่ะก็ มันก็น่าจะ OK ใช่ไหมครับ ส่วนความสามารถในการสร้างแรงม้าของ F-CON S กับ F-CON V ธรรมดานั้นแถบจะไม่ต่างกันเลยคือ F-CON V สามาถสร้างแรงม้าได้ 487.5 ซึ่งมากกว่า F-CON S เพียง 2.5 ตัวเท่านั้น จุดที่เหมือนกันของ F-CON S กับ F-CON V Pro ก็คือจะมี function ปลดล็อคความเร็ว และปลดล็อคบูสท์มาให้เรียบร้อยแล้วทำให้ไม่มีความจำเ ป็นที่จะต้องติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมเข้าไปอีก 

เอาละเมื่อเรารู้แล้วว่า กล่อง F-CON S กับ F-CON V Pro แตกต่างกันอย่างไร คราวนี้มาดูกันสิว่าเราจะสามารถใช้กล่อง F-CON S กับ F-CON V Pro ปรับแต่งและ set ค่าต่างๆ ได้อย่างไร ก่อนจะจูนเราก็ต้องติดตั้งก่อนโดยกล่อง F-CON S กับ F-CON V Pro จะมีชุด Harness ที่ใช้สำหรับต่อพ่วงเข้ากับกล่อง ECU เดิมของรถยนต์ถ้าเป็นของ F-CON S จะเป็นแบบ Plug in ได้เลยถ้ากล่องนั้นตรงกับเครื่องยนต์และรถรุ่นนั้นๆ ไม่ต้องเสียเวลาเดินสายไฟให้เมื่อยตุ้ม แต่ถ้าเป็นของ F-CON V Pro แล้วอาจจะต้องไล่สายไฟใหม่บ้างบางจุดไม่ได้เป็นแบบ plug in เหมือนกับ F-CON Sทั้งหมด แหมก็ของมันแพงต้องยุ่างยากในการใช้หน่อยสิ ซึ่งก็คงป็นหน้าที่ของช่างที่จะติดตั้งหรือไม่ก็คนจูน แต่ถ้าอยากจะลองเดินสายไฟเอาเองก็ตามสะดวกครับ แต่ส่วนใหญ่ที่ผมเห็นมักจะเป็นแบบเหมาจ่ายเหมือน Package มือถือ คือจ่ายทีเดียวรวมติดตั้ง จูน แล้วก็เก็บงาน สำหรับการปรับแต่งค่าต่างๆ เพื่อ Tune เครื่องยนต์ให้ไปตามที่เราต้องการ นั้นจะใช้ program Power Writer ซึ่งเป็น program ที่ HKS ใช้ในการปรับแต่งค่าต่างๆของ F-CON S กับ F-CON V Pro การใช้ program นี้จะทำให้สามารถควบคุม ปรับแต่งการสั่งจ่ายน้ำมันและองศาไฟจุดระเบิดกันใหม่ หมดเพื่อให้ Match กับเครื่องยนต์ที่ทำmodify ขึ้นมาใหม่ ซึ่งขั้นตอนการปรับแต่งค่าต่างๆ นั้นมีรายละเอียดปลีกย่อยเยอะมาก


F-CON V Pro, F-CON V, F-CON SZ และสุดท้าย F-CON S ซึ่งก็มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่จะเห็นใช้กันอยู่สองรุ่นเป็นหลักนั้นก็คือ F-CON V Pro กับ F-CON S ไม่ใช่รุ่นอื่นๆเค้าไม่ใช้กันนะ แต่ว่าส่วนใหญ่เห็นจะไป up-grade F-CON V ให้ไปเป็น V-PRO กันหมด (ไอ้กล่องสีทองๆ) หรือไม่ก็เล่น F-CON S เลย เพราะราคาถูกกว่ากันเยอะ คราวนี้ผมเลยจะถือโอกาศนำสองรุ่นยอดฮิตมาเล่าให้ฟังว ่ามันแตกต่างกันอย่างไร บางคนอาจจะรู้แล้ว บางคนอาจจะรู้แล้ว บทความนี้อาจจะน่าเบื่อไปบ้าง แต่ผมพยายามที่จะเรียบเรียงให้เป็นภาษที่อ่านง่ายๆ ยังไงก็ลองอ่านกันดูละกันนะครับหลายคนอาจจะเคยได้ยิน คำว่า Piggy Back มาก่อนซึ่งถูกแล้วล่ะครับ F-CON นี้ทั้งหมดเป็น Piggy Back แต่มีอยู่รุ่นเดียวที่สามารถใช้แทนกล่อง ECU เดิมๆ ได้เลยโดยไม่ต้องพ่วงนั้นก็คือ F-CON V Pro ซึ่งสามารถเป็น Stand Alone หรือ Engine Management ได้ (เดี๋ยวผมจะกล่าวที่หลังเดี๋ยวหมดมุข) เอาเป็นว่าเราไปทำความรู้จักกับ Piggy Back กันก่อนดีกว่า

Piggy Back เป็นอุปกรณ์ Electronics ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ไปในลักษณะต่างๆ ตามที่ผู้จูนต้องการได้ อย่างไรก็ดี Piggy Back ยังคงต้องต่อพ่วงกับกล่อง ECU เดิมๆ และ Piggy Back ยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้ดังนี้

1. Piggy Back ประเภทดักสัญญาณขาเข้า (Input) ก่อนเข้ากล่อง ECU
โดยจะทำหน้าที่แปลงสัญญาณหลังการอ่านค่าของ sensor เป็นรูปแบบของแรงดันกระแสไฟฟ้าหรือความถี่ (แล้วแต่ชนิดของ sensor) ก่อนเข้ากล่อง ECU เพื่อเป็นการประมวลผลในการสั่งจ่ายน้ำมัน,ไฟจุดระเบิ ด เป็นไปตามที่ต้องการ (เปลี่ยนไปจากที่โรงงานตั้งมาก่อนที่จะเข้ากล่อง ECU) เช่น ตอนแรก ณ.ระดับ 2500 RPM มีการวัดระดับไฟได้ที่ 1.2V หลังติดตั้ง Piggy Back เข้าไป Piggy Back จะเปลี่ยนค่าไฟจาก 1.2 V ไปเป็น 1.4V ตามที่เราจูนก่อนที่จะส่งสัญญาณไปเข้ากล่อง ECU นั้นเอง หรือเรียกง่ายๆว่าเป็นการหลอก ECU ให้อ่านค่าเป็นไปตามที่เราต้องการ โดยแปลงสัญญาณจาก sensor ที่ส่งมาก่อนที่จะส่งเข้า ECU
อย่างไรก็ดี Piggy Back ประเภทนี้จะมีขีดจำกัดในการปรับแต่ง เนื่องจากเป็นแบบดักสัญญาณก่อนส่งเข้ากล่อง จึงไม่สามารถที่ปลดรอบเครื่อง หรือสั่งให้หัวฉีด ”ยก” ได้เกินกว่าเดิม เพราะทั้งหมดจะถูกล็อคและสั่งการโดยการประมวลผลของ ECU คือออกมาจาก ECU เลยไม่ได้มาจากการอ่านค่าของ sensor แล้วค่อยส่งเข้ามา
ดังนั้นเจ้า Piggy Back แบบนี้ก็หมดสิทธ์ที่จะไปดักสัญญาณก่อนเข้า (เหมือนผมหมดโอกาศที่จะไปดักเจอและหลอก Paula Taylor ระหว่างทางให้เธอหลงเข้าบ้านผมแทน เพราะเธอไม่ได้ผ่านมาแถวนี้) ทำให้กล่องประเภทนี้ ทำได้เพียง ปลดล็อคความเร็ว เพิ่มบูสท์ เปลี่ยนและปรับ Map ของน้ำมันกับไฟ เปลี่ยนจังหวะการเปิดปิดของ Valveแปรผัน (พวก Vtec-VVTi) และลูกเล่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูลหลักของกล่อง ECU เช่นคุมหัวฉีด และอื่นๆ
ส่วนความละเอียดในการปรับจูนนั้นก็ขึ้นอยู่กับชนิดขอ ง Piggy Back ชนิดนั้นๆ บางประเภทถูก Fix ตำแหน่งในการปรับมาได้ไม่กี่ที่เช่น พวก APEXi S-AFC / V-AFC ส่วนที่สามารถปรับได้ละเอียดทุกๆย่านความเร็วและรอบเ ครื่องเช่น Perfect Power ของ Smart Tuner (ซึ่งอันนี้บ้านเราไม่ฮิต) เป็นต้น

2. Piggy Back ประเภทดักสัญญาณขาออก (Out-put) จากกล่อง ECU
โดยกล่องประเภทนี้จะดักสัญญาณที่ส่งออกมาจากกล่อง ECU มาเข้าที่ตัวเองก่อนแล้วปรับแต่งค่าต่างๆของสัญญาณให ้เป็นไปตามที่ต้องการก่อนที่จะส่งค่าแรงดันกระแสไฟฟ้ าที่ปรับแต่งแล้ว ไปสู่หัวฉีดหรือ Ignition Module ทำให้ Piggy Back ประเภทนี้สามารถที่จะปรับแต่งเครื่องยนต์ได้อิสระมาก กว่าแบบแรก (เหมือนกับถ้าผมไปดัก Paula ตั้งแต่หน้าบ้านของเธอ ผมก็มีโอกาศที่จะหลอกเธอให้ไปกับผมและทำตามที่ผมต้อง การได้มากกว่าต้องไปดักรอเธอตอนกลับจากข้างนอก) เช่น Power FC และ F-CON ของ HKS ก็รวมอยู่ในชนิดหลังนี้ด้วย
ส่วน Engine Management จะมีหลักการทำงานโดยอิสระไม่ขึ้นกับ ECU เพราะจะใช้การประมวลผลที่ตรวจวัดโดยตรงของ sensor ซึ่งมีทั้งแบบที่ให้ใช้กับ sensor และสายไฟเดิมได้เลย ไม่ต้องมานั่งเดินสายไฟกันใหม่หมด แต่แบบนี้ก็มีจะมีข้อจำกัดเช่นหาก sensor เดิมรับบูสท์ได้เพียงแค่ 1.0 BAR แต่เราต้องการ Boost 1.5 BAR ก็ต้องมานั่งเปลี่ยน sensor กันใหม่หมด
ส่วนอีกประเภทหนึ่งก็คือใช้ sensor ที่ติดมากับกล่อง Engine Management ซึ่งจะเสียเวลายุ่งยากในการติดตั้งเพราะต้องเดินสายไ ฟและ sensor ใหม่หมด แต่ข้อดีก็คือเราสามารถที่จะเลือกค่าต่างๆในการอ่านค ่าสัญญาณ ได้ตามใจคนจูน ที่นี้จะบูสท์กันกี่ BAR ก็ตามแต่สะดวก นอกจากนี้จุดเด่นของ Engine Management คือการที่มี function ต่างๆที่มีให้เล่นกันหลากลหาย (แล้วแต่ยี่ห้อนะครับ บางยี่ห้อก็เป็น function มาตรฐานบางยี่ห้อก็เป็น option ที่ต้องเสียตังค์เพิ่มเอง) เช่น Anti-Lag
โดยกล่องประเภท Engine Management นั้นส่วนใหญ่จะลงชื่อด้วย tech ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น Motec Haltec Microtech และยังรวมไปถึง Power FC และ F-CON V Pro (เท่านั้นนะครับ F-CON ตัวอื่นๆ ไม่เกี่ยว) ที่สามารถเป็นได้ทั้ง Piggy Back และ Engine Management ได้ด้วย แล้วแต่จะเลือก

หลังจากที่รู้แล้วว่า Engine Management กับ Piggy Back มีคุณสมบัติแตกต่างกันอย่างไร เราลองมาดูกันดีกว่าว่า เจ้ากล่อง F-CON เนี่ยมันมีประวัติความเป็นมาอย่างไร

กล่อง F-CON เป็นผลผลิตของบริษัท HKS ที่ได้ทำการคิดค้นและพัฒนาอุปกรณ์ที่จะใช้ในการควบคุ มระบบเชื่อเพลิงและการจุดระเบิด โดยปู่ของเจ้า F-CON มีชื่อว่า Programmed Fuel Computer System หรือที่เรารู้จักในชื่อ PFC F-CON โดยมันถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกบวมๆใบนี้ตั้งแต่ปี 1985 นู้น โดยมันสามารถปรับจูนปริมาณการฉีดจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิ งฝนแต่ละรอบเครื่องยนต์และความดันในท่อร่วมไอดีทุกๆ ค่าได้

อย่างไรก็ดีมันยังไม่มี Function FCD (Fuel Cut Defencer) หรือที่เรารู้จักกันในนามตัวป้องกันการตัดน้ำมัน และตัว GCC (Graphic Control Computer) ซึ่งเป็นตัวทำหน้าที่ปรับค่าการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และองศาการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ ทำให้ต้องพ่วงอุปกรณ์เสริมทั้งสองอย่างนี้อยู่ตลอด



Article By : Narun Lee
เครดิต http://www.hondaloverclub.com/forums/showthread.php?t=8115

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความเชื่อผิดๆ ในการซื้อรถมือสอง

การเลือกซื้อรถยนต์มือสองไม่ใช่เรื่องง่าย ใครๆ ก็กลัวถูกหลอก แต่จะป้องกันได้อย่างไร ถ้ายังมีความเชื่อผิดๆ กันอยู่ บทความนี้ไม่ใช่วิธีเลือกรถยนต์มือสอง แต่จะช่วยลบล้างความเชื่อผิดๆ ได้

เต็นท์ต้องย้อมแมวเสมอ – รถบ้านต้องสภาพดีกว่า
ความเชื่อผิด : คนส่วนใหญ่ยังเชื่อกันอยู่ว่า การซื้อรถมือสองจากผู้ประกอบการ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า เต็นท์รถมือสองต้องเสี่ยงต่อการย้อมแมว ต้องถูกหลอก มักเอารถเน่ามาหลอกขาย สารพัดจะเละทั้งตัวถังห่วย ชนยับ เครื่องยนต์ช่วงล่างซ่อมแบบขอไปที มีส่วนจริงบ้างเท่านั้น แต่ไม่ใช่ทุกเต็นท์
ส่วนรถที่ประกาศขายเองตามหน้านิตยสาร หนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน็ต ตั้งกล่องจอดข้างทางประกาศขาย หรือที่เรียกกันว่า รถบ้าน หลายคนรีบมองว่า น่าจะสภาพดีกว่ารถเต็นท์ เพราะเจ้าของใช้เอง ขายโดยไม่มีคนกลางราคาถูกกว่า รถก็สภาพดีกว่า ไม่มีการย้อมแมว
ความเป็นจริง : ของมือสองจะมีสภาพดีหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับแหล่งที่ขายเท่าไรนัก ต้องขึ้นอยู่กับการดูแลและการใช้งานของเจ้าของเดิม และการปรับสภาพของผู้ขาย (ซึ่งอาจเป็นหรือไม่เป็นคนเดียวกับเจ้าของเดิม) เรื่องเต็นท์ย้อมแมว มีมาตลอดและยังมีอยู่เสมอ เพราะหลายคนทำธุรกิจแบบตีหัวเข้าบ้าน เน้นกำไรสูงๆ ไว้ก่อน ลูกค้ารู้ภายหลังไม่สน แต่เต็นท์หลายแห่งในระยะหลังมานี้ ต้องการทำธุรกิจระยะยาว ไม่รับซื้อรถสภาพแย่ๆ รถที่ขายอยู่ก็มีสภาพดี เพื่อให้ขายง่าย และสร้างชื่อเสียง ในระยะยาว เพื่อให้ลูกค้าคนเดิมวนกลับมาซื้ออีกหรือปากต่อปากบอกเพื่อนๆ ย่อมดีกว่าย้อมแมวขายแล้วลูกค้าสาปส่ง เรื่องนี้ต้องแล้วแต่นโยบายทางธุรกิจ
ส่วนรถบ้านนั้น มีทั้งแท้และเทียม เพราะพ่อค้ารถทราบดีว่าผู้ซื้อส่วนใหญ่ เชื่อมั่นว่ารถบ้านต้องสภาพดีราคาถูก ผู้ซื้อมักจะชะล่าใจ ตัดสินใจง่ายไม่ดูละเอียด จึงใช้วิธีเช่าบ้านเอารถไปจอดขายทีละคันสองคัน ซึ่งก็ไม่แพงเท่าไร ค่าเช่าเดือนละไม่กี่พันบาท แล้วอาจจะอยู่อาศัยเองด้วย หรืออาจจะใช้วิธีฝากขายกับคนที่ไว้ใจ ปลอมเป็นรถบ้าน สังเกตได้ว่าผู้ขายจะไม่ค่อยรู้รายละเอียดของรถคันนั้น อ้ำอึ้งเมื่อถูกถามลึกๆ และที่สำคัญคือ ชื่อในสมุดทะเบียน จะไม่ใช่ผู้ขายคนนั้น
ส่วนรถบ้านแท้ๆ ขายโดยเจ้าของจริง ไม่จำเป็นว่ารถจะมีสภาพดี เพราะเขาอาจจะดูแลรถมาไม่ดี จนเต็นท์ไม่รับซื้อหรือไม่รับเทิร์น เลยต้องมาขายเอง เป็นเรื่องแปลกที่รถบ้านซึ่งซ่อมแบบขอไปที ไม่ถูกเรียกว่าย้อมแมว
ความเข้าใจที่ถูกต้อง : ให้ความเป็นกลางในใจในเรื่องของแหล่งที่ขาย ให้คิดว่าไม่ว่าจะซื้อที่ไหนก็มีโอกาสถูกย้อมแมวได้พอกัน จะได้ไม่ชะล่าใจ

สีสวย คือ สภาพดี อาจเพราะทำมาใหม่
ความเชื่อผิด : ไม่แปลกที่เมื่อเห็นรถคันใดสีสวยเงางาม ไม่มีรอยเฉี่ยวชนค้างอยู่ หลายคนจะคิดไปก่อนเลยว่า รถคันนี้สภาพดี เพราะเป็นสิ่งที่มองเห็น เป็นอย่างแรก และไม่ซับซ้อนในการดู ถึงจะซ่อมสีมาหรือพ่นใหม่ทั้งคัน แต่ถ้าทำมาเรียบร้อย ไม่เป็นคลื่นเป็นลอน อย่างน้อยก็ดูดี และอาจทำให้ผู้ซื้อชะล่าใจ ดูส่วนอื่นไม่ละเอียด
ความเป็นจริง : สีสวย แต่อาจเป็นเพราะซ่อมมาแล้ว หรือทำมาใหม่ทั้งคัน หลังจากเกิดอุบัติเหตุ สวยเงางามไม่พอ จำเป็นต้องดูในรายละเอียดว่า ทำไมถึงสีเนียน เป็นสีเดิมจากโรงงานจริง หรือสีพ่นใหม่ ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับอายุของรถด้วย ถ้ารถใหม่อายุไม่เกิน 7-8 ปี ซึ่งเป็นอายุเฉลี่ยของสีจากโรงงานผลิตที่พอจะทนอยู่ได้ ก็ไม่ควรจะมีการทำสีใหม่มาทั้งคัน ถ้าเคยซ่อมสีมาแผลสองแผลพอทำใจได้ หากทำสีมาทั้งคัน สันนิษฐานได้ 2 สาเหตุหลัก คือ เกิดอุบัติเหตุหนักหรือจอดตากแดดขาดการดูแล เพราะรถปีใหม่ๆ นั้นในแวดวงเขาเน้นกันว่าต้อง สีเดิม โดยผู้ขายมักจะบอกเน้นมากๆ ถ้าเป็นสีเดิมทั้งคัน เพราะจะชัดเจนว่า รถคันนั้นไม่เคยเกิดอุบัติเหตุเลย ส่วนรถเก่าอายุเกิน 10 ปี แน่นอนว่าต้องมีการทำสีมาใหม่ แต่ควรจะใหม่แบบเรียบร้อย ไม่ใช่ใหม่แต่ภายนอก แต่ภายในหมกเม็ดเลอะเทอะ ทำแบบลวกๆ
ความเข้าใจที่ถูกต้อง : สีเป็นเพียงเปลือกนอกเท่านั้น สวยแต่เปลือกก็มีเยอะ ถ้าเป็นรถใหม่ สีเดิมจากโรงงานย่อมดีที่สุด หลีกเลี่ยงการซื้อรถปีใหม่ๆ ที่ทำสีมาใหม่ทั้งคัน เพราะยังไงก็ไม่เนี้ยบไม่ทนเท่าสีโรงงาน ส่วนรถเก่าถ้าทำสีมาใหม่ ควรสวยทั้งนอกทั้งใน ละอองสีไม่เลอะเทอะ และอย่าลืมดูส่วนอื่นๆ ประกอบการตัดสินใจด้วย เพราะไม่ใช่สีสวยแล้วตัวถังต้องดีเสมอไป

เคาะ..ป๊องๆๆ บางทั้งคัน อาจบางแค่ภายนอก
ความเชื่อผิด : ความบางจากการเคาะด้วย มะเหงกนั้น หมายถึง ตัวถังบางมีแต่เหล็กกับเนื้อสี ไม่มีสีโป๊วทับเนื้อเหล็กอยู่ใต้สีชั้นนอก ถ้าเคาะแล้วบาง เสียงก้องๆ ดังป๊องๆๆๆ เสียงไม่ทึบ แสดงว่าบาง ไม่เกิดอุบัติเหตุมา ไม่มีการชน แล้วเคาะซ่อมแล้วโป๊วสีทับ ผู้ขายบางคนรีบบอกเลยว่า รถคันที่จะขายบางทั้งคัน ป๊องทั้งคัน เพื่อแสดงว่าไม่มีการชนหนักมาก่อน ผู้ซื้อจะได้สนใจ
ความเป็นจริง : การเคาะด้วยหลังมือไปทั่วคันรถ สามารถตรวจสอบความบางของตัวถังด้านนอกได้ว่า มีสีโป๊วทับหรือไม่ แต่การที่ตัวถังในส่วนที่เคาะนั้นบาง ไม่ได้หมายความว่ารถคันนั้นไม่เคยเกิดอุบัติเหตุหนักๆ ทุกชิ้นที่อยู่ภายนอกอาจบาง ทั้งที่รถคันนั้นเคยชนเละมาแล้ว เพราะซ่อมแบบเปลี่ยนทั้งชิ้น เช่น เปลี่ยนประตูทั้งบาน ฝากระโปรงทั้งชิ้น หรือแม้แต่แผ่นหลังคา ถึงจะคว่ำมา ก็เปลี่ยนหลังคาทั้งแผ่นได้ ถ้าซ่อมโดยวิธี เคาะดึงโครงสร้างข้างในแล้ว ชิ้นนอกใช้วิธีเปลี่ยนเอา หลังมือเคาะ ยังไงก็ป๊องๆ ยังไงก็บางทั้งคัน
ความเข้าใจที่ถูกต้อง : การเคาะตัวถังภาย นอกบอกไม่ได้ว่า รถคันนั้นไม่เคยชน เพราะบอกได้แค่ว่า ชิ้นนั้นไม่เคยชน แต่ข้างในนั้นอาจชนมาเละ แล้วเปลี่ยนชิ้นใหม่ภายนอกมา อะไหล่ตัวถังทั้งแท้ เทียบ เทียม ใหม่ เก่า มีให้เลือกเปลี่ยนอย่างสะดวก เมื่อเคาะฟังเสียงข้างนอกแล้ว ที่สำคัญคือ ต้องดูตะเข็บ รอยเชื่อม รอยอาร์คภายในทุกจุด เท่าที่จะดูได้อย่างละเอียด ถึงจะทราบได้ว่ารถคันนั้นเคย เกิดอุบัติเหตุหนักๆ หรือไม่ การเคาะแล้วเสียงป๊องๆ เป็นส่วนประกอบย่อยเท่านั้น ยุคนี้ชิ้นไหนๆ ก็เปลี่ยนกันได้ในราคาไม่แพง

เลขระยะทางบนหน้าปัด อย่าเชื่อมาก
ความเข้าใจผิด : แม้คนส่วนใหญ่จะพอทราบกันว่า เลขกิโลเมตรบนมาตรวัดระยะทาง หรือเรียกกันแบบชาวบ้านว่า ไมล์ (ทั้งที่ไม่ใช่ระยะเป็นไมล์) สำหรับการซื้อ ขายรถมือสองนั้นเชื่อถือแทบไม่ได้ เพราะสามารถหมุนเลขกลับได้ง่าย มีช่างเก่งๆ รับทำให้ในราคาคันละ 500-1,000 บาทเท่านั้น แต่ผู้ซื้อก็อดไม่ได้ที่จะดูเลขไมล์ ประกอบการตัดสินใจด้วยเสมอ ดูเลขไมล์แล้ว ก็ไม่ค่อยเชื่อ บางคนยังไล่ไปดูร่องรอย การรื้อหน้าปัดด้วย ส่วนรถที่ใช้เลขไมล์เป็นดิจิตอล คนส่วนใหญ่คิด ว่าเปลี่ยนแปลง จากการใช้งานจริงไม่ได้ ทั้งที่บาง คันอาจทำ แต่อาจจะยากกว่าแบบอนาล็อก
ความเป็นจริง : ไม่ควรถือว่าเลขไมล์บนมาตรวัด เป็นตัวแปรสำคัญในการตัดสินใจ ควรดูสภาพส่วนอื่นที่สำคัญมากกว่าการเชื่อตัวเลขบน หน้าปัด เพราะสามารถเปลี่ยนแปลงได้จริงๆ ทั้งแบบอนาล็อก และดิจิตอล โดยในแบบหลังนั้น อาจจะใช้วิธีป้อนสัญญาณให้เลขวิ่งเดินหน้า จนกลับมาขึ้นรอบใหม่ก็เป็นได้
ความเข้าใจที่ถูกต้อง : เลขไมล์แทบไม่มีผลต่อการตัดสินใจ ถ้าสภาพของอุปกรณ์อื่นไม่สอดคล้องกัน เช่น เลขไมล์น้อย แต่เบาะทรุด เปื่อย ปุ่มกดต่างๆ เลอะเลือนหรือถูกกดจนเลี่ยนมนไปหมดแล้ว

รถเต็นท์ราคาแพง – รถบ้านราคาถูก
ความเชื่อผิด : ความเชื่อนี้ไม่ผิดเท่าไรนัก เพราะรถในเต็นท์ส่วนใหญ่ มักจะมีราคาแพงกว่ารถบ้านแท้ๆ เพราะทำธุรกิจก็ต้องมีกำไร หรือต้องมีค่าใช้จ่ายในการปรับสภาพ รถเต็นท์ย่อมต้องเนี้ยบ ส่วนรถบ้านนั้นอะไรพังนิดพังหน่อย เฉี่ยว นิดๆ หน่อยๆ แล้วยังไม่ซ่อม ก็ไม่มีใครว่า แต่รถ บ้านบางคันอาจจะตั้งราคาไว้แพง เพราะเจ้าของศึกษาราคาจากรถเต็นท์ ที่ประกาศไว้ หรือแพงโอเวอร์ไปเลยก็ยังมี และคิดไปเองว่าจะขายได้ราคาตามนั้น ทั้งที่ในเต็นท์นั้นเป็นแค่ราคาตั้ง พอซื้อจริงอาจจะลดได้อีกมากก็เป็นได้
ความเป็นจริง : ในเต็นท์อาจแพงกว่ารถบ้าน แต่ถ้าซื้อเป็นเงินผ่อนก็สะดวกดี เพราะมีบริการหรือติดต่อแหล่งเงินกู้ให้ได้ หรือถ้าบางเต็นท์ร้อนเงิน หรือใช้นโยบายเงินหมุนเร็ว กำไรนิดหน่อยก็ขายดีกว่าแช่นาน ราคาก็อาจไม่แพง
ความเข้าใจที่ถูกต้อง : ตั้งเงื่อนไขในการซื้อไว้ว่า ราคาไม่เกี่ยวกับแหล่งที่ขาย จะซื้อที่ไหน ขอให้สภาพดีแล้วมีราคาที่เหมาะสมกันเป็นพอ ถูกแต่สภาพไม่ดี ก็ไม่น่าสน

เต็นท์รับประกัน ซ่อมฟรี ดูแลฟรี ไม่ดีคืนเงิน
ความเชื่อผิด : บริการหลังการขายตามโฆษณาซ่อมแบบค่าแรงฟรี เป็นระยะยาว คิดว่าช่างจะดี บริการเยี่ยม เสียแต่ค่าอะไหล่ หรือซื้ออะไหล่เข้าไปเองได้
ความเป็นจริง : เมื่อใช้บริการจริง กลับพบกับสารพัดปัญหา ช่างไม่เก่ง ค่าแรงฟรีจริง แต่บวกลงไปในค่าอะไหล่จนแพงเกินจริงหลายสิบเปอร์เซ็นต์ จะซื้ออะไหล่ไปให้ก็อิดออด สารพัดจะบอกปัด เป็นเรื่องปกติครับ ขายรถมือสอง 1 คันได้กำไรไม่กี่บาท จะมาดูแลหรือซ่อมฟรีกัน ในระยะยาวได้อย่างไร แทบไม่เคยเห็นเต็นท์ไหนประกาศออกมาแล้วบริการจริงๆ ได้ดีเลย
ความเข้าใจที่ถูกต้อง : ไม่ต้องสนใจเงื่อนไขซ่อมแบบค่าแรงฟรี ยกเว้นเรื่องการรับประกัน ที่บางเต็นท์มีให้ในระยะสั้นเช่น 1 เดือนซ่อมฟรีแบบไม่มีข้อแม้ ก็ควรทำเอกสารรับประกันให้รัดกุมและชัดเจนที่สุด

การเลือกรถยนต์มือสอง แบบที่ผู้ซื้อดูอะไรไม่เป็นเลย นอกจากสีเงาๆ และทดลองขับดู เป็นเรื่องที่เสี่ยงอย่างมาก ถ้าสนใจจริงๆ ควรหาคนที่มีความรู้มากกว่า ถึงจะไม่เก่งมากแต่ก็ยังดี และที่สำคัญคือ ลบความเชื่อผิดๆ ออกไปก่อนก็จะดี