วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554

เรื่องน่ารู้สำหรับวัยโจ๋ที่ชอบเเต่งรถ

ในปัจจุบันอุตสหกรรมยานยนต์ได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วตอบสนองบรรดาผู้ใช้รถใช้ถนนได้ทุกเพศทุกวัยไม่เว้นเเม้เเต่วัยรุ่น หรือ วัยโจ๋อย่างพวกเรา เเละสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับรถยนต์เลยก็คือ อุปกรณ์ตกเเต่งรถยนต์ครับ รถยนต์ที่ออกจากโรงงานไม่อาจจะตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างเสมอไปจริงมั้ยครับ จำเป็นต้องมีการปรับเเต่ง หรือตกเเต่งบางสิ่งบางอย่าง เช่น เปลี่ยนใส่ล้อเเม็กที่มีรวดลายสวยถูกใจ , ทำเครื่องเสียง , ใสสเกิ๊ตรอบคัน , ติดสปอย์เลอร์ที่ด้านหลัง หรืออาจจะทำเพื่อเพิ่มความสวยงามของรถยนต์ก็ดี

หรือ ปรับเเต่งเพื่อเพิ่มสมรรถนะของรถก็ดี เเต่จะมีสักกี่คนล่ะครับ ที่จะรู้ว่าอุปกรณ์ที่เราซื้อมาด้วยเงินจำนวนไม่น้อย เพื่อที่จะมาติดตั้งในรถยนต์ของเรานั้น จะทำให้สมรรถนะดีขึ้นมากเเค่ไหน ใส่เเล้วดีจริงหรือเปล่า รถเเรงขึ้นมั้ย เรื่องของการปรับเเต่งรถยนต์นั้น ถ้าจะศึกษาให้รู้จริงเเท้นั้นค่อนข้างจะละเอียดอ่อนมากครับ ช่างตามอู่บางคนยังไม่มีความรู้ที่ดีพอก็สามารถที่จะสร้างความเสียหายให้กับรถยนต์ของเราได้ทั้งนั้น ในการปรับเเต่งรถยนต์นั้นต้องสามารถให้เหตุผลได้ว่า ” อะไรที่ติดตั้งไปกับรถเราเเล้วทำให้รถมีสมรรถนะดีขึ้น เเละดีขึ้นเพราะอะไร 

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

รู้จักระบบเบรค ABS(2)

เอบีเอสไม่ได้ช่วยให้ปลอดภัยขึ้นเสมอ
มิได้หมายความว่า การขับรถยนต์ที่มีเอบีเอสแล้วเบรกจะไม่ชน หรือมีระยะเบรกสั้นกว่า ไม่มีเอบีเอส เพราะในการเบรกตามปกติที่เอบีเอสไม่ได้ทำงานควบคุมแรงดันน้ำมันเบรก ประสิทธิภาพและระยะเบรก ต้องขึ้นอยู่กัยระบบเบรกพื้นฐานเท่านั้น
เมื่อต้องเบรกแล้วเอบีเอสทำงาน ก็มิได้มีระยะเบรกสั้นลงเสมอไป ต้องเกี่ยวข้องกับ สภาพของเส้นทางด้วย คล้ายกับคนวิ่งบนถนนฝืดแล้วหยุดซอยเท้าในทันที การลื่นไถลอาจมีน้อยและได้ระยะสั้น การเบรกส่วนใหญ่การควบคุมแรงดันน้ำมันเบรกของเอบีเอสไม่ค่อยมีโอกาสได้ทำงาน บางครั้ง 1 เดือน เอบีเอสไม่ได้แผลงฤทธิ์เลยก็มี ถ้าไม่ได้มีการเบรกไม่ปกติ ในสถานการณ์ข้างต้น
ระบบ และชิ้นส่วน
เอบีเอสมีพื้นฐานการทำงานหลักจากการทำงานของ 3 หน่วยหลัก (แต่มีเกิน 3 ชิ้นในรถยนต์ 1 คัน) คือ ใช้ หน่วยควบคุมแรงดันน้ำมันเบรก (หน่วยควบคุมไฮดรอลิก HYDRAULIC CONTROL UNIT) เฉพาะเมื่อมีการเบรกในสถานการณ์ข้างต้น โดยติดตั้งแทรกอยู่ระหว่าง ท่อน้ำมันเบรกหลังออกจากแม่ปั๊มเบรกตัวบน ก่อนส่งเข้าสู่กระบอกเบรกทั้ง 4 ล้อ แทนที่จะปล่อยให้น้ำมันเบรกส่งแรงดันไปเต็มที่เมื่อมีการเบรกอย่างรุนแรง-กะทันหัน โดยจะสลับทั้งเพิ่มและลดแรงดันน้ำมันเบรกสลับกันถี่ ๆ ด้วยการควบคุมและสั่งงานจาก หน่วยควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ (ELECTRONIC CONTROL UNIT) ซึ่งรับสัญญาณ มาประมวลผลจาก เซ็นเซอร์ (PULSE SENSOR) บริเวณแกนล้อ หรือเพลากลาง ซึ่งทำหน้าที่จับการหมุนของล้อ
เอบีเอสมีการทำงานบางส่วนตลอดการขับรถยนต์ แต่บางส่วนทำงานแค่บางครั้ง คือ มีการส่งสัญญาณเซ็นเซอร์ไปยังหน่วยควบคุมอิเล็กทรอนิกส์อยู่ตลอดเวลา เพื่อประมวลผลว่า ในตอนนั้นหน่วยควบคุมไฮดรอลิกควรจะมีการทำงานลด-เพิ่มแรงกันของน้ำมันเบรก สลับกันถี่ ๆ เพื่อคลายแรงกดของผ้าเบรคลง เพื่อป้องกันล้อล็อกหรือไม่ ถ้าล้อใด ๆ
จะมีการล็อก หน่วยควบคุม
ไฮดรอลิกที่รับคำสั่งจากหน่วยควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ จึงจะทำงานลด-เพิ่มแรงดันน้ำมันเบรก โดยระบบควบคุมอิเล็กทรอนิกส์จะมีการตรวจสอบความผิดปกติของทั้งระบบอยู่ตลอดเวลา โดยมีการแสดงไฟสัญญาณบนแผงหน้าปัด ไฟจะสว่างขึ้นในช่วงหลังการบิดกุญแจก่อน สตารต์เครื่องยนต์ในช่วงแรก และดับลงหลังจากนั้นประมาณ 5 วินาที แล้วดับตลอดการขับ ถ้าในขณะขับรถยนต์แล้วมีไฟเอบีเอสสว่างขึ้นมา แสดงว่าในตอนนั้นมีส่วนใด ๆ ของเอบีเอสบกพร่อง แต่ส่วนใหญ่มักยังมีระบบเบรกพื้นฐานใช้งานตามปกติ ให้ใช้งานรถยนต์ด้วยความระมัดระวังและควรนำรถยนต์เข้ารับการซ่อมแซม โดยที่การบกพร่องนั้นมีหลายระดับ มิใช่ต้องเสียหรือต้องเปลี่ยนทั้งระบบเสมอไป บางครั้งแค่เซ็นเซอร์บางตัวเสียหรือสกปรก ก็เกิดปัญหาขึ้นได้
แชนแนล เซ็นเซอร์
นอกจากพื้นฐานของเอบีเอส ที่ต้องมี 3 หน่วยหลัก คือ หน่วยควบคุมไฮดรอลิก หน่วยควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ และเซ็นเซอร์ ยังมีรายละเอียดปลีกย่อย เช่น ต้องมีวาล์ว ช่วยกระจายแรงดันน้ำมันเบรก หรือต้องมีวงจรการควบคุมแรงดันน้ำมันเบรกอย่างไร แชนแนล (CHANNAL) และมีกี่เซ็นเซอร์ (PULSE SENSOR) ในรถยนต์ 1 คัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะมีไม่น้อยกว่า 3 แชนแนล 3 เซ็นเซอร์ คือ มี 2 ล้อหน้าอิสระ แล้วค่อยเลือกกำหนดว่าจะรวมแชนแนลกันหรืออิสระในล้อคู่หลัง
แชนแนล คือ วงจรของน้ำมันเบรก อันหมายถึง การมีท่อต่อเชื่อมเนื้อน้ำมันเบรก ไหลเป็นท่อเดียวกัน ก็ถือว่าเป็น 1 แชนแนล ถ้าคลายแรงดันก็จะคลายพร้อมกัน ถ้าเพิ่มก็เพิ่มพร้อมกัน เช่น ถ้าเป็นแชนแนลเดียวกัน มีการควบคุมแรงดันน้ำมันเบรก พร้อมกันในล้อซ้าย-ขวา ไม่ว่ากำลังจะเกิดการล็อกในล้อใดล้อหนึ่ง ก็จะมีการคง-ลดแรงดัน น้ำมันเบรกทั้ง 2 ล้อพร้อมกัน ทั้งที่ล้ออีกข้างไม่เสี่ยงต่อการล็อก ระยะเบรกจึงอาจจะ ยาวขึ้นกว่าการควบคุมแรงดันน้ำมันเบรกเฉพาะล้อกำลังจะเกิดการล็อก
ดังนั้น ถ้าแยกแชนแนลกันอย่างอิสระย่อมดีกว่า
เอบีเอสส่วนใหญ่มี 3 แบบ หรือ 4 แชนแนล โดยมีการแยกล้อหน้าซ้าย-ขวา เป็นอย่างละ 2 แชนแนลอิสระต่อกัน เพราะระบบเบรกล้อหน้าต้องรับภาระมากกว่า จากการถ่ายเท น้ำหนักลงสู่ด้านหน้า เมื่อมีการเบรก จึงควรมีการควบคุมแรงดันน้ำมันเบรกแยกจากกัน ล้อไหนกำลังล็อก ก็ควรควบคุมแรงดันน้ำมันเบรกเฉพาะล้อนั้นเท่านั้น ดังนั้น
ในล้อคู่หน้าจึงมี 2 แชนแนลเป็นพื้นฐาน แล้วค่อยไปว่ากันในจำนวนแชนแนล ในล้อคู่หลัง
เมื่อมีการเบรก รถยนต์จะถ่ายน้ำหนักลงด้านหน้า ระบบเบรกในล้อคู่หลังจึงรับภาระ น้อยกว่าล้อคู่หน้า การควบคุมแรงดันน้ำมันเบรกจึงสามารถออกแบบได้ 2 แบบ คือ
2 ล้อหลังเป็นแชนแนลเดียวกัน จะคง-ลดแรงดันน้ำมันเบรกพร้อมกัน รวมเป็น 1 คัน
3 แชนแนล รวมแชนแนลในล้อคู่หลัง หรืออิสระแยกกันในล้อคู่หลัง รวมเป็น 1 คัน
4 แชนแนล
โดยรวมแล้วเอบีเอสแบบ 4 แชนแนล จึงย่อมมีประสิทธิภาพเหนือกว่าแบบ 3 แชนแนล
เซ็นเซอร์ คือ อุปกรณ์จับสัญญาณตรวจสอบการหมุนที่ติดตั้งบริเวณแกนล้อ (หรือเพลากลาง) แล้วส่งสัญญาณต่อเนื่องไปยังหน่วยควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ โดยมี 3-4 เซ็นเซอร์ต่อรถยนต์ 1 คัน ส่วนใหญ่แยก 2 เซ็นเซอร์สำหรับล้อหน้าซ้าย-ขวา เพราะต้องรับภาระในการเบรกมากกว่า แล้วค่อยไปเลือกกำหนดว่าล้อคู่หลังควรมี 1 หรือ 2 เซ็นเซอร์ต่อ 2 ล้อ ถ้ามีเซ็นเซอร์ละ 2 ตัว ต่อล้อคู่หลัง ก็มีลักษณะการติดตั้งคล้ายกับเซ็นเซอร์ของล้อหน้า คือ อิสระต่อกัน แต่ถ้ามีเพียง
1 เซ็นเซอร์ต่อ 2 ล้อหลัง ก็มักจะเป็นในกรณีของรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหลังหรือ 4 ล้อ ที่ต้องมีเพลากลาง โดยใช้เซ็นเซอร์จับสัญญาณจากเพลากลางไม่ใช่ที่แต่ละล้อ ซึ่งการส่ง สัญญาณไปยัง หน่วยควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ย่อมไม่อิสระเท่ากับการมีเซ็นเซอร์อิสระ ในแต่ละล้อ เพราะถ้ามีแค่ 1 เซ็นเซอร์ในล้อคู่หลัง 2 ล้อ ก็จะต้องควบคุมเป็นแบบรวม แชนแนลกันในล้อคู่หลังด้วย เพราะหน่วยควบคุมอิเล็คทรอนิกส์ไม่สามารถทราบได้เลยว่า ล้อหลังด้านไหนกำลังจะล็อก แล้วควรควบคุมแรงดันน้ำมันเบรกเฉพาะในล้อด้านไหน
ถ้ามองเฉพาะในเรื่องของจำนวนแชนแนลหรือเซ็นเซอร์แล้ว การมีจำนวนของแชนแนล หรือเซ็นเซอร์มาก หรือครบ 4-4 ในแต่ละล้อสำหรับรถยนต์ 1 คัน ย่อมดีกว่าการมีแบบ 4-3 หรือ 3-3 แชนแนล-เซ็นเซอร์ในรถยนต์แต่ละคัน เพราะจะทำให้มีการส่งสัญญาณ และการควบคุมเป็นไปอย่างอิสระและแม่นยำ ซึ่งการกำหนดใช้แชนแนลหรือเซ็นเซอร์ ไม่ครบ 4-4 ต่อ 4 ล้อ มักมีสาเหตุมาจาการควบคุมต้นทุนการผลิตเป็นสำคัญ
ดังนั้นเอบีเอสแบบ 4 แชนแนล 4 เซ็นเซอร์แบบอิสระทุกล้อในรถยนต์ 1 คัน จึงมีประสิทธิภาพเด่นกว่าแบบ 4-3 หรือ 3-3 แชนแนล-เซ็นเซอร์ ในกรณีที่มีอุปกรณ์ พื้นฐานอื่นเหมือนกัน ถ้ามีโอกาสเลือกใช้เอบีเอสแบบครบ ๆ 4 แชนแนล 4 เซ็นเซอร์ ย่อมดีกว่า