วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การดูแลรถในช่วงฤดูฝน



การดูแลรถในช่วงหน้าฝนนี้โดยเฉพาะการขับขี่รถยามฝนตกหรือในช่วงฤดูฝน อาจทำให้เกิดปัญหาได้หลายอย่าง ทำให้ผู้ใช้รถไม่สามารถ
ใช้ความเร็วได้ตามที่ต้องการ ทั้งยังมีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องของความปลอดภัยในการขับขี่ ซึ่งเกิดจากสภาพเส้นทางที่เจิ่งนองไปด้วยน้ำ ทำให้ผิว
จราจรเกิดการลื่นไหลหรือทำให้ความสามารถในการควบคุมรถลดน้อยลง บางครั้งอาจทำให้รถเสียการทรงตัวได้ง่ายซึ่งเราจะเห็นกันอยู่บ่อย ๆ
ว่าจะมีอุบัติเหตุได้ง่ายในช่วงที่ฝนตกและทัศนะวิสัยในการมองเห็นการควบคุมรถให้มีเสถียรภาพในการขับขี่ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงและ
ไม่ละเลยที่จะดูแลรถให้พร้อมใช้งานได้ดีในช่วงฤดูนี้ความพร้อมของรถรวมถึงการมองเห็นได้อย่างชัดเจนจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่ทำให้ผู้ใช้รถห่าง
ไกลจากการเกิดอุบัติเหตุโดยบางครั้งการเกิดอุบัติเหตุก็อาจเกิดจากความประมาทที่ไม่ได้ให้ความระมัดระวังที่ดีเท่าที่ควรจนก่อให้เกิดอุบัติเหตุ
ขึ้นหรืออาจจะเรียกว่าสายเกินไปและไม่สามารถย้อนกลับคืนมาได้หากผู้ใช้รถได้ดูแลเอาใจใส่หรือยอมเสียเวลาสักเล็กน้อย ก็จะช่วยให้รถมี
สมรรถนะหรือทำให้ผู้ขับขี่มีความมั่นใจในการขับขี่รวมถึงความสะดวกมากขึ้นทำให้การขับขี่นั้นมีความปลอดภัยมากขึ้นตามไปด้วย ส่วนหลัก ๆ
ในการดูแลรถหน้าฝนก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของสมรรถนะของรถส่วนหนึ่งอีกส่วนหนึ่ง คือ ทัศนะวิสัยในการขับขี่เองที่ต้องใช้ความระมัดระวังอย่าง
มากขณะขับขี่

ด้านสมรรถนะของรถ


ในช่วงฤดูฝนคงต้องดูเรื่องของเบรกล้อและยางเป็นหลักที่จำเป็นต้องมีสภาพที่ดีพอสมควรระบบเบรกก็ควรตรวจสอบให้มีการทำงานที่ดี
สภาพของผ้าเบรกควรเป็นผ้าเบรกที่มีคุณภาพให้การเบรกที่ให้ความมั่นใจสามารถหยุดรถได้ตามความเหมาะสมหากพบว่าระบบเบรกยังไม่ดี
พอหรือเบรกไม่ค่อยอยู่เบรกแล้วมีอาการดึงไปด้านใดด้านหนึ่งก็ควรรีบทำการตรวจสอบโดยเร็ว เพราะหากพื้นผิวถนนที่เปียกอาจทำให้การเบรก
แย่ลงไปอีก และส่วนที่สำคัญในเรื่องสมรรถนะอีกอย่างหนึ่งก็คือเรื่องของยางรถยนต์ที่เหลือน้อยจนไม่สามารถยึดเกาะได้ดีเพียงพอ ก็จะทำให้
ประสิทธิภาพของการหยุดรถด้อยลงไปอย่างมากแม้ว่าจะมีระบบเบรกที่มีประสิทธิภาพดีก็ตาม

ยางรถยนต์


ยางรถยนต์ที่มีอายุเกินกว่า 4 ปีเนื้อของยางจะเสื่อมสภาพความยืดหยุ่นของยางลดน้อยลงประสิทธิภาพการเกาะถนนก็จะลดลงตามไปด้วย
เนื่องจากเนื้อยางนั้นแข็งเกินไปอาจเกิดการลื่นไหลได้เมื่อมีการเบรกที่ค่อนข้างแรงความสูงของดอกยางควรมีความสูงไม่ต่ำกว่า 2.5 มม. เป็น
อย่างดอกยางมีความสูงน้อยประสิทธิภาพในการรีดน้ำได้หากดอกยางมีความสูงน้อยประสิทธิภาพในการรีดน้ำจะลดลงอย่างมาก อาจทำให้เกิด
การเหินน้ำได้ในกรณีที่วิ่งผ่านถนนที่มีน้ำเจิ่งนองทำให้รถเสียการทรงตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อวิ่งด้วยความเร็วสูง การเติมแรงดันของลมยาง
ที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมก็ทำให้รถมีสมรรถนะในการเกาะที่ไม่ดีเท่าที่ควรดังนั้นควรตรวจเช็คลมยางให้ถูกต้องจะทำให้ความสามารถในการรีดน้ำ
ของยางดีขึ้นช่วยลดอาการเหินน้ำได้อีกด้วยในส่วนของเรื่องทัศนะวิสัยในการขับขี่โดยหลักใหญ่ ๆ ก็เป็นเรื่องของระบบปัดน้ำฝน และระบบ
ไฟส่องสว่างที่เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่ไม่ควรละเลยโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้รถในหน้าฝนซึ่งมีรายละเอียดที่ควรทำความเข้าใจและดูแลให้ดี
อยู่เสมอ

ระบบปัดน้ำฝน


ระบบปัดน้ำฝนเป็นเรื่องที่ต้องพูดกันอยู่บ่อย ๆ เมื่อถึงฤดูฝนรวมทั้งต้องตอกย้ำให้ดูแลกันอย่างจริงจังเนื่องจากเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่ม
ทัศนะวิสัยของการขับขี่ขณะฝนตกซึ่งส่วนใหญ่มักจะละเลยและนึกไม่ถึงกว่าจะมาเห็นความสำคัญก็ตอนที่เจอฝนซึ่งถือว่าสายเกินไปแล้วก็ได้
ส่วนประกอบของระบบปัดน้ำฝนหลัก ๆ คือ มอเตอร์ปัดน้ำฝนและระบบฉีดน้ำปัดน้ำฝนที่ควรมีการทำงานที่สมบูรณ์ โดยผู้ใช้รถควรตรวจเช็คการ
ทำงานของ มอเตอร์ ว่ามีการทำงานตามจังหวะการปัดหรือไม่ หากพบว่าความเร็วในการปัดไม่ถูกต้องหรือขาดจังหวะหนึ่งจังหวะใดก็ตาม ควรให้
ช่างรีบแก้ไขให้เพราะบางครั้งเมื่อต้องเจอกับสภาพฝนที่ตกหนักมาก ๆการปัดที่ไม่เร็วพอจะทำให้การมองเห็นด้านหน้าไม่ชัดเจน

ก้านปัดน้ำฝน


ก้านปัดน้ำฝนเป็นส่วนที่ถูกละเลยมากที่สุดทั้งๆที่มีความสำคัญมากเพราะเป็นตัวรับหน้าที่ถ่ายกำลังจากมอเตอร์และเป็นตัวกดให้ยางปัด
น้ำฝนแนบไปกับกระจกได้ดีควรตรวจดูจุดหมุนการยึดกับแกนปัดน้ำฝนที่ควรจะถูกล็อกไว้ให้แน่น

ยางปัดน้ำฝน

ยางปัดน้ำฝนมีหน้าที่กวาดน้ำออกจากกระจกซึ่งอาจมีความสั้นยาวไม่เท่ากันในแต่ละรุ่นบ้างก็มีความยาวไม่เท่ากันด้านซ้ายและด้านขวา
ทั้งนี้ก็เพื่อให้แนบกับส่วนโค้งของกระจกที่ดีนั่นเอง ยางปัดน้ำฝนควรมีสภาพที่ดีสามารถรีดน้ำออกจากกระจกหน้ารถได้ดี ไม่ก่อให้เกิดเสียงขณะ
ปัด ไม่แข็งกระด้าง สามารถปัดได้เกลี้ยงเกลาหากพบว่าการปัดไม่เกลี้ยงยางมีรอดขาด ปัดเรียบเป็นบางช่วงก็ควรเปลี่ยนเสีย การเลือกซื้อใบ
ปัดน้ำฝน อย่าเห็นแก่ของถูกอย่างเดียวเพราะเมื่อเป็นของถูกคุณภาพก็ย่อมด้อยลงไปด้วย ทำให้การปัดและอายุการใช้งานนั้นน้อยลง ตัวบั่น
ทอนสภาพใบปัดน้ำฝนคือการปัดน้ำฝนตอนที่มีฝุ่น หรือ โคลน เกาะแน่นอยู่ที่กระจกทำให้ยางปัดน้ำฝนเสียหายได้ง่าย ดังนั้น การฉีดน้ำล้าง
กระจกเพื่อให้ฝุ่นที่เกาะอยู่นั้นเปียกนุ่มหรืออ่อนตัวลงจะช่วยลดความฝืดและลดความเสียหายที่อาจทำให้ฉีกชำรุดรวมทั้งยังลดรอยที่เกิดจาก
การปัดที่กระจกได้อีกด้วย

ระบบน้ำฉีดน้ำฝน

ระบบน้ำฉีดน้ำฝนก็เป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้ขับขี่สามารถมองเห็นทัศนะวิสัยที่ดีขึ้นดังนั้นควรตรวจเกปรับตั้งรูน้ำฉีดกระจกให้ได้
ตำแหน่งที่เหมาะสมซึ่งควรอยู่บริเวณกลางของกระจกหน้ารถหมั่นตรวจเช็กระดับน้ำในกระป๋องน้ำฉีดกระจกให้เต็มอยู่เสมอ หากเป็นไปได้ควร
เติมน้ำยาฉีดกระจกโดยเฉพาะลงในกระป๋องน้ำฉีดกระจกเพื่อเป็นการขจัดคราบต่างๆ ให้ง่ายขึ้นเช่นคราบแมลงขณะขับขี่ยามค่ำคืน รวมทั้งทำ
ให้น้ำไม่เกาะที่กระจกได้ง่าย การทำให้เกิดทัศนะวิสัยที่ดีอีกส่วนหนึ่งในการขับรถหน้าฝน คือระบบไฟส่องสว่างที่ผู้ใช้รถไม่ควรละเลยที่จะตรวจ
เช็คระบบไฟส่องสว่างมีการทำงานครบถ้วนและถูกต้องเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะไฟรถด้านหน้าและไฟต่างๆ ที่ด้านหลัง นั่นหมายถึง ไฟต่ำ ไฟสูง
ไฟเบรก ไฟตัดหมอกหน้า ไฟตัดหมอกหลัง ไฟฉุกเฉิน ไฟเลี้ยว ไฟถอยหลัง ซึ่งไฟทุกดวงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ความสว่างของไฟหน้าและ
ระดับความสูงต่ำของไฟนั้นก็ควรปรับตั้งให้ถูกตำแหน่ง เพื่อให้ทั้งผู้ขับและผู้ร่วมใช้ถนนมองเห็นเราอย่างชัดเจน หากพบว่าไฟดวงใดดวงหนึ่งไม่
ทำงานหรือทำงานไม่สมบูรณ์ ก็ควรให้ช่างรีบแก้ไขโดยเร็ว เพราะเป็นส่วนที่สำคัญในการเดินทางในช่วงฝนตกรวมทั้งการขับขี่ในยามค่ำคืน


การดูแลรถยนต์ให้พร้อมในช่วงฤดูฝนนั้นเป็นสิ่งจำเป็น และควรตรวจสอบให้พร้อมอยู่เสมอ ควรรีบแก้ไขโดยเร็ว หากพบว่าระบบใดบกพร่อง
ไม่ควรละเลยหรือประมาท เพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุที่คาดไม่ถึงที่สำคัญอีกอย่าง คือ ตัวผู้ขับขี่เองที่ต้องมีความระมัดระวังในการขับขี่ในช่วง
หน้าฝนมากกว่าปกติ รวมถึงการเตรียมพร้อมอยู่เสมอจะช่วยลดความเสี่ยง และทำให้เกิดความมั่นใจ ความสะดวกสบายในการขับขี่ในทุกสภาวะ
ดั่งใจต้องการ

วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ดูแลรถติดก๊าซ

รักจะใช้เชื้อเพลิงระบบก๊าซก็ต้องรู้จักดูแลให้ถูกต้องด้วยนะ และนี่คือบางเรื่องที่ควรใส่ใจสำหรับรถติดก๊าซ



กรองอากาศ หากใช้ระบบดูดควรทำความสะอาดทุก ๆ สัปดาห์ เนื่องด้วยหากกรองอากาศตัน เครื่องยนต์พยายามที่จะดูดอากาศเข้าไปไม่ได้ก็จะไปดูดก๊าซแทน ทำให้ส่วนผสมระหว่างก๊าซกับอากาศผิดไปทำให้เปลืองก๊าซมากขึ้น และอาจทำให้เครื่องยนต์ดับได้เมื่อเหยียบเบรกหรือชะลอความเร็ว


หัวเทียน หากหัวเทียนเสื่อมสภาพจะทำให้เครื่องยนต์เดินได้ไม่เรียบเวลาเดินเบา หรืออาจเกิด Back Fire ได้ ซึ่งอันตรายมาก จึงควรเปลี่ยนหัวเทียนตามอายุการใช้งาน


การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง หาก ใช้น้ำมันเครื่องเกรดเดิมที่เคยใช้อยู่ ก็ลดระยะทางในการเปลี่ยนถ่ายลงสักหน่อย เช่น เคยเปลี่ยนถ่ายทุก 5,000 กม. ก็ลดลงมาให้เหลือสัก 4,000 กม. เนื่องจากเครื่องยนต์ที่เผาไหม้ก๊าซจะเกิดกรดมากกว่าการเผาไหม้ด้วยน้ำมัน ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดการสะสมและเกิดการเสียหายกับเครื่องยนต์ก็ควรเปลี่ยนน้ำมัน เครื่องให้บ่อยขึ้น แต่หากใช้น้ำมันเครื่องที่มีคุณสมบัติดีกว่าเดิมก็สามารถเปลี่ยนถ่ายตามระยะ ปกติที่เคยทำได้


ระบบน้ำหล่อเย็น ควร ตรวจดูให้บ่อยขึ้น เนื่องด้วยอาจมีการรั่วตามจุดที่ติดตั้งอุปกรณ์ก๊าซได้ และที่สำคัญความร้อนจากการเผาไหม้ก๊าซจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นจากเดิมเล็กน้อย ทำให้น้ำระเหยได้เร็วขึ้นด้วย


การรั่วของระบบก๊าซ อันนี้ถ้าทำได้บ่อยก็จะดีมาก โดยทุก 3 เดือนควรมีการตรวจเช็กระบบก๊าซกันสักครั้ง


ปรับจูนการทำงานของหม้อต้ม เพื่อให้ประสิทธิภาพการทำงานเป็นไปอย่างดีอยู่เสมอ ควรมีการปรับจูนระบบก๊าซอย่างน้อย 3 เดือนต่อครั้ง เพื่อให้ใช้งานได้อย่างสะดวกและปลอดภัยยิ่งขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการขับรถขึ้นเขา

พื้นที่ทั่วไปบนเขาค้อ เป็นพื้นที่ราบบนภูเขา สูงกว่าระดับน้ำทะเล 800-1000 เมตร ซึ่งอาจใช้รถยนต์ที่มีกำลังเครื่องยนต์มากกว่า 1500 ซีซี ขึ้นไปก็เพียงพอสำหรับการท่องเที่ยวอย่างสบายๆ



แต่สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญบางแห่งที่มีความสูงมากขึ้น โดยเฉพาะ 3 จุดหลัก คือ 1. อนุสรณ์สถานผู้เสียสละเขาค้อ 2.พระตำหนักเขาค้อ และ 3. ภูทับเบิก อาจต้องใช้กำลังของเครื่องยนต์มากขึ้น และต้องการผู้ขับขี่ที่มีความชำนาญพอสมควร จึงควรศึกษาหลักการคร่าวๆ สำหรับการขับรถขึ้น-ลง พื้นที่ลาดชัน เพื่อป้องกันความผิดพลาด และเพื่อเป็นการบำรุงรักษาเครื่องยนต์ของรถท่านเอง

หลักการขับรถขึ้นเขาคร่าวๆ ซึ่งเป็นการแนะนำมาจาก คุณ alex_09 พอสรุปได้ดังนี้ครับ


* ควรใช้เกียร์ต่ำ ปรับเปลี่ยนเกียร์เมื่อรถเสียกำลังอย่าลากเกียร์จนหมดแรงส่ง ถ้าเป็นเกียร์อัตโนมัติ ให้ใช้เกียร์ 2 ในการขับขึ้นเขาลงเขา และเปลี่ยนไปใช้เกียร์ D บ้าง เมื่อรถอยู่ในทางราบ การขับให้ใช้เกียร์ช่วยตลอดทางเกียร์อัตโนมัติไม่พังง่ายๆ

* เมื่อขับลงเขาที่ลาดชันมากและยาวไกล ก่อนเข้าโค้งให้เปลี่ยนเกียร์จากตำแหน่ง D มา 2 ถ้า 2 ยังเอาไม่อยู่ให้เปลี่ยนมา L แต่อย่าเปลี่ยนเกียร์ขณะฝนตกทางลื่นรถจะเสียการทรงตัว การใช้เกียร์แต่ละเกียร์ควรดูสภาพทางเป็นหลักในการพิจารณา ส่วนเกียร์ธรรมดาการทำงานจะง่ายกว่า มีเกียร์ให้เล่น 5 ตำแหน่ง และมีคลัทช์ช่วยในการส่งกำลังไปยังล้อตามที่เราต้องการได้ทุกขณะ แต่เกียร์อัตโนมัติบางรุ่นจะทำงานไม่ได้อย่างที่เราต้องการ เพราะฉะนั้นควรประเมินสภาพทางก่อนใช้เกียร์ดีที่สุด

* การขับเข้าโค้งธรรมดาหรือบนภูเขา ควรมองให้ไกลให้ลึกและให้คนนั่งข้างช่วยดูสภาพทางด้วย เมื่อแน่ใจว่าไม่มีรถสวนมาให้ใช้วิธีตัดโค้งวิธีนี้จะช่วยให้รถทรงตัวดี, เข้าโค้งได้เร็ว, รถไม่ใช้กำลังมาก ลูกปืนล้อมไม่ทำงานหนัก, ยางก็ไม่ล้มตัวมาก หน้ายางจะสัมผัสผิวถนนได้มากตามไปด้วย แต่ต้องแน่ใจว่าไม่มีรถสวนมา สมมุติจะเข้าโค้งขวาก่อนเข้าโค้งให้ถอนคันเร่งลง หัดพวงมาลัยไปทางซ้ายนิดหนึ่ง แล้วหักพวงมาลัยมาทางขวาเพื่อทำโค้งให้กว้างขึ้น ใช้พื้นที่ถนนทุกตารางนิ้ว ถ้ารถจะเลี้ยวซ้ายก็ให้เลี้ยวทางขวานิดหนึ่งแล้วเลี้ยวซ้าย การฝึกใหม่จะรู้สึกฝืนความรู้สึกบ้าง ถ้าขับชำนาญแล้วก็จะชินไปเอง

* การขับรถโค้งต่อเนื่องรูปตัว S มองให้ไกล มองให้ลึก เมื่อแน่ใจว่าทางว่าง ไม่มีรถสวนมาให้ถอนคันเร่งลง แล้วเสียบตัดโค้งในแนวการขับเป็นเส้นตรงที่สุด ง่ายไหม? ...ครับ แต่การขับรถลักษณะนี้ถ้าไม่แน่ใจเส้นทางข้างหน้าหรือทัศนวิสัยไม่ดีควรขับเข้าทางโค้งธรรมดา อยู่ในทางของเราเอง

* การขับรถเข้าโค้งหักศอกขึ้นเขารูปฟันปลา การขับแบบนี้ต้องให้ผู้ช่วยดูรถด้านซ้ายด้วยโดยมองถนนด้านบนก่อนว่าไม่มีรถสวนลงมา กดแตรรถก่อนจะขับขึ้นไป หลักการขับก็เหมือนเข้าโค้งธรรมดา จะเลี้ยวซ้ายก็หักพวงมาลัยไปทางขวาก่อนแล้วหักพวงมาลัยไปทางซ้ายเข้าโค้งเมื่อรถเข้าโค้งล้อหน้าจะเกิดแรงต้าน รถต้องใช้กำลังมาก ทำให้รถรถขับขึ้นได้ช้า ควรคืนพวงมาลัยกลับมาบ้าง และเร่งเครื่อง ทำแบบนี้เป็นจังหวะไปมาจนพ้นโค้ง การขับลงโค้งแบบนี้อย่าใช้ความเร็ว ควรลงช้าๆ ใช้เบรกช่วยชะลอความเร็วแต่อย่าเหยียบแรง ท้ายรถจะปัด ยิ่งหน้าฝนท้ารถจะปัดได้ง่าย ถ้าท้ายรถปัดรถจะเสียการทรงตัว ให้หักพวงมาลัยไปทิศทางท้ายรถ เช่น เลี้ยวซ้ายท้ายรถปัดไปทางขวาก็ให้หักพวงมาลัยไปทางขวา เมื่อรถทรงตัวได้แล้วบังคับให้บังคับรถไปในทิศทางที่ต้องการ ถ้าเอาไม่อยู่ให้เลือกทางภูเขาไว้ก่อน อย่าเลือกทางหน้าผาก็แล้วกัน

* การเพิ่มระยะทางการเบรก การเบรกรถกะทันหัน รถเราอาจไปชนรถข้างหน้า ควรเลี้ยวรถดึงพวงมาลัยไปทางไหล่ทาง หรือมีพื้นที่เพื่อเพิ่มระยะทางการเบรก

* การขับรถบนภูเขาที่มีทางคดเคี้ยวไปมาเป็นเวลานานๆ เมื่อถึงทางตรงลงเขายาวไกล อย่าขับเร็วเด็ดขาด คนขับส่วนมากจะขับเร็วรถมาก อันตรายมากนะครับทางแบบนี้ น้ำหนักรถ ความเร็ว ระยะทางถ้ามีอะไรเกิดขึ้น เช่น มีรถ, คน, ฯลฯ ขึ้นจากข้างทางหักหลบไม่พ้นแน่ ถึงจะหักหลบได้แต่รถต้องเกิดอะไรแน่นอน ไม่พลิกคว่ำ แหกข้างทางเข้าป่า หรือไม่ก็ชนรถที่วิ่งสวนมา

* การขับในทัศนวิสัยไม่ดี ทางโค้งแคบที่มีสันเขาบังสายตา ควรเข้าโค้งแบบธรรมดา ต้องบีบแตรส่งสัญญาณทุกครั้งก่อนจะเข้าโค้งเพื่อป้องกันรถที่วิ่งสวนมา เนื่องจากคนที่ขับรถเจ้าถิ่นบนภูเขาเป็นประจำจะขับรถตัดโค้ง

* ทางลูกรังหรือทางที่มีหินลอย ทางแบบนี้ถือได้ว่าเป็นทาง 'ปราบเซียน' กลิ้งกันมาหลายคันครับ การที่ล้อรถลอยตัวขณะวิ่งเข้าโค้งเราไม่สามารถบังคับได้อย่างที่ต้องการ และการที่เราไม่คุ้นเคยกับเส้นทางมาก่อนก็ไม่ควรขับรถด้วยความเร็ว

ข้อควรระวัง

1.ขณะขับรถขึ้นทางชันหรือขึ้นเขา ควรเร่งความเร็วให้สม่ำเสมอ เพิ่มกำลังเครื่องยนต์อย่างนุ่มนวล แต่อย่าเบิ้ลอย่างรุนแรงนะครับ เพราะนอกจากความเร็วจะไม่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังทำให้สิ้นเปลืองน้ำมัน ไปโดยเปล่าประโยชน์ อีกด้วย

2. อย่าใช้เกียร์ว่างในขณะลงเนินชัน หรือลงเขาโดยเด็ดขาด!! เพราะจะทำให้รถไหลลงด้วยความเร็วสูง โดยไม่มีแรงหน่วงของเครื่องยนต์ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงขึ้นได้ ดังนั้นจึงควรใช้เกียร์ต่ำ และค่อยๆปล่อยรถให้ไหลลงเนินตามรอบเครื่องยนต์ และอย่าลืมควบคุมความเร็วของรถให้สัมพันธ์กับเกียร์ ด้วยนะครับ

3. ควรใช้เกียร์ 1 หรือ เกียร์ 2 ในขณะขับรถขึ้นเขา เพราะถ้าใช้เกียร์ที่สูง อย่างเช่นเกียร์ 3, 4 หรือ 5 จะทำให้เครื่องยนต์ไม่มีกำลังและแรงฉุดมากพอที่จะเคลื่อนที่ขึ้นเนินเขา นอกจากนี้ยังเป็นการผลาญน้ำมันโดยไม่จำเป็นอีกด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สารพัดวิธีการดูแลรถ

เทคนิคการดูแลรักษารถยนต์


1. เติมน้ำมันล้นถังไม่เป็นผลดี
ในสภาพอากาศร้อนจัดอย่าเติมน้ำมันจนล้นถัง เพราะความร้อนจะทำให้เพิ่มความดัน มีผลทำให้น้ำมันขยายตัวลื่นไหลออกจากถังเกิดอันตราย สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ

2. ลากเกียร์ทำให้คลัตช์เสียเร็ว
การใช้เกียร์ควรทำให้เหมาะสมและถูกจังหวะ อย่าลากเกียร์บ่อย จะทำให้คลัทช์เสียเร็วและยางหมดอายุเร็วขึ้น

3. อย่าขับรถจนน้ำมันหมดถัง
การขับรถจนน้ำหมดถัง จะทำให้เครื่องกรองน้ำมันมีโอกาสเสียได้มาก เนื่องจากตะกอนบางอย่างที่สะสมอยู่ในถังจะไปค้างที่เครื่องกรอง

4. อย่าใช้อิฐแทนแม่แรงรถ
อิฐสร้างบ้านก้อนที่แข็งที่สุดยังสามารถแตกได้ อย่าใช้รองหรือหนุนรถแทนแม่แรงต่างหาก เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้

5. ใช้แอลกอฮอล์ทำความสะอาดกระจก
แอลกอฮอล์มีคุณสมบัติช่วยฆ่าเชื้อโรคและยังใช้ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่เป็น แก้วหรือกระจกได้ กระจกรถของคุณที่มีคราบสกปรก จะถูกขจัดได้อย่างง่ายดายด้วยแอลกอฮอล์

6. สำรวจกระจกอย่าให้มีรอยร้าว
รอยร้าวที่กระจกเพียงเล็กน้อย จะทำให้ขยายวงกว้างไปสู่การแตกใหญ่ได้ต้องหมั่นสำรวจอยู่เสมอ การเปิดแอร์เย็นจัดในขณะอากาศภายนอกร้อนจะทำให้กระจกหดตัวอย่างรวดเร็ว เป็นสาเหตุให้เกิดการแตกของกระจกได้

7. เครื่องเป่าผมก็มีประโยชน์
รถที่สตาร์ทไม่ติดอันเนื่องมาจากปัญหาความชื้นลองใช้เครื่องเป่าผมเป่าความ ร้อนบริเวณเครื่องยนต์ที่คิดว่ามีความชื้นจนกว่าจะแห้ง แล้วลองสตาร์ทใหม่ดูอีกครั้ง

8. การควบคุมอารมณ์
การขับรถจำเป็นที่จะต้องควบคุมอารมณ์ด้วยความอดทนยิ่งในสภาพรถติดแสนสาหัส แบบบ้านเรายิ่งต้องมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยไม่สวมวิญญาณร้ายขณะขับรถ ไม่ใช้วาจาหยาบคาย และอย่าพยายามสั่งสอนบทเรียนต่อผู้อื่น

9. โกรธและหงุดหงิดอย่าขับรถเด็ดขาด
อารมณ์โกรธและหงุดหงิด มีผลเสียอย่างยิ่งต่อการใช้รถใช้ถนน ความกดดันทางอารมณ์จะทำให้มีผลต่อเนื่องไปยังผู้ขับขี่รถคนอื่น และนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุครั้งร้ายแรงได้

10. อย่าตอบโต้กับผู้ขับขี่รายอื่น
หากคุณอารมณ์เสียเนื่องจากผู้ขับขี่รถคันอื่น ต้องพยายามเก็บกดอารมณ์ไม่ตอบโต้ การตอบโต้จะทำให้เกิดผลร้ายต่อเนื่อง อย่างน้อยจะทำให้เราขาดสมาธิขาดการสังเกต สุดท้ายก็ลงเอยด้วยอุบัติเหตุ เป็นไปได้น่าจะจอดรถสงบสติอารมณ์สักครู่

11. หลีกเลี่ยงการเดินทางในสภาพอากาศเลวร้าย
เรามั่นใจแค่ไหนในการขับขี่รถในสภาพอากาศที่เลวร้าย เช่น ฝนตกหนัก หมอกลงจัด ทางที่ดีควรจะงดการขับรถ หันไปใช้บริการของรถสาธารณะจะดีกว่า ทั้งนี้ต้องติดตามการพยากรณ์ของอุตุนิยมวิทยา

12. การปรับพวงมาลัย
รถรุ่นใหม่สามารถปรับแกนพวงมาลัยให้เข้ากับสภาวะร่างกายของผู้ขับขี่ได้ อย่าปรับให้พวงมาลัยอยู่ในตำแหน่งที่มองแผงหน้าปัดยาก ล็อคแกนพวงมาลัยให้มั่นคงหลังจากปรับตำแหน่งจนได้ที่แล้ว ห้ามปรับพวงมาลัยในขณะรถเคลื่อนที่เด็ดขาด

13. เกียร์สูงสุด
เป็นเกียร์ที่ใช้กับอัตราเร็วสูง แต่ให้กำลังน้อยที่สุดเราจะใช้เกียร์สูงสุดกับอัตราเร็วของรถยนต์ที่แตกต่าง กันได้มา คุณสามารถใช้แล่นด้วยความเร็วคงที่บนถนนทางตรง

14. อย่าให้ไฟดวงหนึ่งดวงใดขาด
การใช้สัญญาณไฟจะทำให้รถคันอื่นที่ตามหลัง หรือสวนทางเข้าใจในเจตนาของเรา แต่หากไฟสัญญาณดวงหนึ่งดวงใดขาดไป จะทำให้เป็นอันตรายแก่การใช้รถใช้ถนน ควรตรวจสอบและหาฟิวส์ หรือไฟอะไหล่ไว้ในรถบ้าง

15. ไฟเตือนภัยมีความสำคัญ
อย่าขับรถยนต์ออกไปเด็ดขาด กรณีที่มีการเตือนของไฟบนแผงหน้าปัดขึ้น เช่น ไฟเตือนความดันน้ำมันหล่อลื่น เพราะจะทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้

16. กระพริบไฟหน้าแทนแตร
การใช้ไฟสูง-ต่ำของไฟหน้า ทำให้เกิดการกระพริบสามารถเตือนผู้ขับขี่รายอื่นด้วย ที่คาดว่าจะไม่ได้ยินเสีสยแตรจากรถของเรา

17. อย่าปล่อยเกียร์ว่างให้รถเคลื่อนลงทางลาดเองไม่ถูกต้อง
การปล่อยให้รถไหลไปเองโดยไม่ใช้การขับเคลื่อนจะทำให้ควบคุมรถยนต์ยาก โดยเฉพาะพวงมาลัยและเบรคเกียร์จะเข้ายากขึ้นอีกด้วย

18. ลดเกียร์ไม่จำเป็นต้องไล่ตามลำดับ
การลดลงเกียร์ต่ำไม่จำเป็นต้องไล่ตามลำดับ เช่น จากเกียร์ห้ามาเกียร์สาม จากเกียร์สามมาเกียร์หนึ่ง เช่นนี้ จะทำให้เรามีเวลามองถนน และจับพวงมาลัยได้นานขึ้น

19. ใกล้ทางแยกอย่าเปลี่ยนเลนกะทันหัน
ต้องตัดสินใจให้ดีว่าคุณกำลังจะไปทางไหน ซ้าย-ขวา หรือตรง อย่าตัดเลนซ้ายมาขวา หรือขวามาซ้าย บริเวณใกล้ทางแยกจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ หรือไม่ก็ถูกตำรวจจับแน่นอน

20. จะไม่มีการชนท้ายรถคนอื่นเด็ดขาด
ไม่ขับชิดคันหน้าเกินไปหรือกะระยะการทำงานของเบรคได้ถูกต้อง

21. สิ่งกีดขวางกลางถนน
บังเอิญสิ่งกีดขวางอยู่ในช่องจราจรของเรา ตามหลักเราต้องให้รถยนต์วิ่งสวนทางมาผ่านไปก่อน กรณีสิ่งกีดขวางอยู่ฝังตรงข้ามอย่าผลีผลามเหยียบคันเร่งเลยไป เพราะรถคันสวนทางเราอาจไมยอมหยุดรถและหลบสิ่งกีดขวางออกมาในเลนของเราหน้าตา เฉย

22. สิ่งกีดขวางอยู่บนเนิน
นับว่าเป็นเรื่องท้าทายให้ต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ การใช้เบรคจำเป็นอย่างยิ่งที่จะนำมาจัดการแก้ปัญหานี้

23. แซงรถที่กำลังวิ่ง
ต้องเข้าใจว่ารถคันหน้าที่กำลังวิ่งด้วยความเร็วหนึ่งหากเราคิดจะแซง แน่นอนว่าความเร็วของรถเราต้องมากกว่า เมื่อหักลบกับความเร็วคันหน้าก็จะได้ระยะทางที่ต้องใช้ในการแซง นั่นก็คือ แซงรถกำลังวิ่งครั้งหนึ่งต้องใช้เวลามากกว่าปกติ ทางที่ดีไม่แน่ใจอย่าแซงจะดีกว่า

24. แซงระทางชัน
หากเป็นรถที่บรรทุกของหนักและวิ่งช้ากว่าเรา การแซงจะใช้เวลาสั้นลงอย่างมาก แต่พึงระวังรถสวนเลนตรงข้าม ซึ่งจะวิ่งลงทางลาดด้วยความเร็วสูง

25. อย่าเร่งรถหากกำลังถูกแซง
จะเป็นการผิดมารยาทอย่างยิ่ง หากรถของคุณที่กำลังถูกแซงเร่งเครื่องหนีด้วยความเร็วเพิ่มขึ้น เมื่อเห็นว่ารถคันขวาของคุณกำลังจะถูกแซง ต้องชะลอความเร็วรถของคุณ เพื่อให้รถของเขาแซงขึ้นไปได้อย่างรวดเร็ว

26. ขับรถขึ้นเขา
กรณีขับรถขึ้นเขาหรือเนิน แน่นอนว่ารถของคุณต้องใช้กำลังเพิ่มมากขึ้น การขับต้องเปลี่ยนมาใช้เกียร์ต่ำกว่าเดิมเพื่อรักษาความเร็วของรถ การเปลี่ยนเกียร์ต้องเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว เพราะขณะที่เรายกเท้าออกจากคันเร่งแล้วเหยียบคลัตช์เปลี่ยนเกียร์

27. ขับรถลงทางลาด
ขึ้นเนินใช้เกียร์ต่ำเพื่อรักษาความเร็วของรถ ลงทางลาดก็ต้องใช้เกียร์ต่ำ เพื่อลดอัตราเร็วของรถแทนการใช้เบรค เพราะหากใช้เบรคในทางลาดมากไป จะทำให้เบรคลื่นและจับไม่อยู่เนื่องจากมีความร้อนสูง

28. ออกตัวของรถขึ้นทางชัน
ผู้ขับขี่มือใหม่มักมีปัญหาการออกตัวขึ้นเนินแล้วรถเคลื่อนที่ถอยหลัง ต้องฝึกให้มีความสามารถในการใช้คันเร่งคลัตช์และเบรคมือพร้อมกัน โดยใช้เท้าซ้ายกดแป้นคลัตช์ลง โยกคันเกียร์จากเกียร์ว่างไปยังเกียร์หนึ่ง ใช้เท้าขวากดแป้นคันเร่ง โดยกดให้มากกว่าการออกตัวบนพื้นระดับ และต้องกดอย่างสม่ำเสมอตามปริมาณชองความชัน

29. จดรถหันหน้าขึ้นเนิน
หลีกเลี่ยงได้ควรหลีก แต่ถ้าจำเป็นต้องจอดให้ชิดขอบขวาทางด้านซ้ายมากที่สุด หมุนพวงมาลัยให้ล้อหันไปทางขวาป้องกันการเคลื่อนที่ถอยหลังเป็นเกียร์หนึ่ง และใช้เบรคมือให้มั่นคง

30. จอดรถหันหน้าลงเนิน
หมุนพวงมาลัยไปทางซ้ายให้ล้อหันเข้าหาขอบทางเท้า ป้องกันไม่ให้รถเคลื่อนที่เดินหน้าใส่เกียร์ถอยหลังและเบรคมือไว้

31. ทางโค้งนะ
ให้สังเกตป้ายจราจรว่า โค้งไปทางขวาหรือทางซ้าย การเข้าโค้งให้ใช้เบรคเท้าควบคุมความเร็วของรถ เลือกเกียร์ให้เหมาะสมใช้คันเร่งอย่างระมัดระวังและบังคับรถให้ชิดเส้นแบ่ง ถนนทางขวาไว้จนตลอดทางโค้ง

32. ระวังหลุดโค้ง
ปรกติทางโค้งจะมีทั้งป้ายจราจรเตือนล่วงหน้าและมีเสาหลักปักตามระยะโค้ง แต่หากผู้ขับขี่ไม่ควบคุมความเร็วเข้าโค้งด้วยความโค้ง โค้งธรรมดาก็จะกลายเป็นโค้งหักศอกให้ได้รับอันตรายให้เห็นกันอยู่บ่อย ๆ

33. ความดันลมของยางสัมพันธ์กับพวงมาลัย
ยางรถยนต์จะต้องมีความดันลมในปริมาณพอเหมาะไม่มากหรือน้อยเกินไปถ้ามากไปทำ ให้ยากสึกหรอ ไม่ยึดถนนและลื่นไถลทางโค้งแต่หากความดันลมยางน้อยไปจะทำให้ยางร้อนจัดยาง ไม่เกาะถนนและสึกหรอง่าย สังเกตว่าความดันลมยางน้อยไปเมื่อพวงมาลัยมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น

34. เบรคบนทางโค้งอันตราย!
ควรหลีกเลี่ยงการใช้เบรคบนถนนทางโค้ง เพราะจะทำให้รถยนต์เสียการทรงตัวและมีแนวโน้มลื่นไถลหลุดโค้งออกไป

35. รถใหญ่บังรถเล็ก
รถใหญ่ที่วิ่งตามทางแยกอาจบังรถเล็กอีกคันที่กำลัง แซงขึ้นมา หากเราตัดสินใจเลี้ยวออกจากทางแยกแบบปัจจุบันทันด่วน โดยไม่ระวังให้ดี อาจเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้

36. ถอยหลังทางไหนหมุนพวงมาลัยทางนั้น
การถอยหลังรถแรก ๆ อาจจะดูไม่ถนัด ต้องอาศัยประสบการณ์ โดยมีเคล็ดลับอยู่ว่าจะให้ส่วนท้ายของรถหันไปทางไหนก็หมุนพวงมาลัยไปทางนั้น ส่วนผู้ขับก็เอี้ยวตัวไปดูข้างหลังโดยมือถือพวงมาลัยมือหนึ่ง อีกมือพาดบนพนักพิงผู้โดยสาร

37. ข้อห้ามของการถอยหลัง
อย่าใช้วิธีกลับรถโดยการถอยหลังจากถนนซอยสู่ถนนใหญ่ เมื่อไม่แน่ใจว่าปลอดภัย อย่าถอยหลังและอย่าถอยหลังเป็นระยะทางไกล ๆ โดยไม่จำเป็น

38. ไฟเขียวให้รีบไปแน่หรือ
การขับรถบริเวณทางแยกที่มีไฟจราจรกำกับและเป็นไฟเขียวอยู่ ไม่ตะบี้ตะบันเหยียบคันเร่งให้ทันสัญญาณไฟ ควรสังเกตดูว่าไฟเขียวนั้นนานแค่ไหน แล้วสังเกตดูว่ารถจากถนนฝั่งหนึ่งมีแถวยาวเท่าใน และควรขับรถเว้นระยะกับรถคันหลังดูว่าหากเบรคกะทันหัน กรณีไม่ทันไฟเขียว แล้วคุณจะไม่ถูกชนท้าย

39. รีบร้อนไปไหนยังไฟแดงอยู่เลย
ผู้ขับขี่หลายรายต้องเสียอกเสียใจทุกวันนี้ เพราะประสบอุบัติเหตุ เนื่องจากชอบออกรถในขณะที่สัญญาณไฟยังเป็นไฟแดงหรือเหลืองอยู่ โดยคาดเดาล่วงหน้าเกี่ยวกับการเปลี่ยนสัญญาณไฟจราจร ในขณะที่รถอีกฝั่งยังไฟแดงอาศัยลูกติดพันจากไฟเขียว ผลก็คือ ประสานงากันจังเบ้อเริ่ม เดือดร้อนกันทั่วหน้า

40. ถูกจี้ท้ายและเตือนด้วยไฟสูงต่ำ
หลายคนคงเคยเจอนักเลงกลางถนน โดยขับขี่อยู่ ดี ๆ ก็มีรถคันอื่นมาจี้ท้ายแถมใช้ไฟสูงต่ำยิงใส่ท้ายรถ อย่าตกใจและห้ามตอบโต้เด็ดขาด เพียงแต่ค่อย ๆ เปลี่ยนช่องจราจรไปทางซ้าย เพื่อให้เกิดช่องว่างให้รถคันหลังผ่านไปได้

41. กระจกหน้ารถต้องสะอาดอยู่เสมอ
กระจกหน้ารถที่สะอาด เมื่อเวลาฝนตก ใบปัดน้ำฝนจะทำความสะอาดได้เร็วมากขึ้นมาก ควรลดอัตราเร็วลงหากอุปกรณ์ปัดน้ำฝนทำงานไม่ทันกับปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมา อย่างหนัก

42. ไม่แตะเบรคขณะรถลื่นไถล
กรณีรถขาดการทรงตัว เมื่อเจอสภาพถนนมีน้ำมันเกลื่อนกลาดอย่าตกใจยกเท้าออกจากคันเร่งและหมุนพวง มาลัยไปในทิศทางเดียวกับทิศทางการลื่นไถลโดยห้ามแตะเบรคโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก

43. อย่าเพิ่งดับไฟขณะรุ่งสาง
การรีบดับไฟเมื่อขับรถตอนรุ่งสางไม่เป็นผลดีต้องให้แน่ใจว่าคุณสามารถมอง เห็นถนนและผู้ขับขี่คันอื่นอย่างชัดเจนเสียก่อนจึงค่อยดับไฟ กรณีรถมีสีคล้ำ ดำ หรือน้ำเงิน ซึ่งไม่ค่อยสะท้อนแสงต้องเปิดไฟแต่เนิ่น ๆ เมื่อเริ่มจะมือและปิดไฟช้ากว่าคันอื่นเมื่อเวลารุ่งสาง

44. การใช้น้ำมันหล่อลื่น
การเติมน้ำมันหล่อลื่นต้องรักษาปริมาณให้ถึงขีดกำหนดของรถเสมอ น้ำมันหล่อลื่นเป็นสารอันตรายต่อผิวหนัง ควรล้างมือทันทีและเก็บภาชนะบรรจุน้ำมันให้ห่างไกลจากมือเด็ก

45. รถเสียระวังเสียงรถ
เมื่อรถคุณเกิดเสียกลางทางแล้วมีอาสาสมัครเสนอตัวให้ความช่วยเหลือ หากคุณไม่แน่ใจพฤติกรรมอย่าลงจากรถเด็ดขาด ให้ผู้ผ่านกระจกแล้วล็อคประตูไว้วานให้ช่วยไปโทรศัพท์หาผู้ที่คุณต้องการจะ ติดต่อด้วยจะดีที่สุด

46. อุปกรณ์พยาบาลที่ควรจะมีในรถ
เพื่อความปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉน คุณควรมีสิ่งเหล่านี้ไว้ในรถ พลาสเตอร์, ผ้าพันแผล ขวดพลาสติคใส่น้ำสะอาดไว้ กรรไกร คีม ผ้าพันแผลแบบยืดหดได้ โคมไฟฟ้า เหรียญ(สำหรับโทรศัพท์)

47. เด็กเล็กก็ควรคาดเข็มขัด
อุบัติเหตุหลายครั้งเด็กเล็กต้องเสียชีวิตหรือบาดเจ็บจำนวนมาก ในเมืองนอกได้ออกแบบที่นั่งเฉพาะสำหรับเด็กไว้อย่างมาตรฐาน โดยเฉพาะมีเข็มขัดนิรภัยให้เด็กคาดเข็มขัดด้วย สำหรับเมืองไทยที่ยังไม่มีที่นั่งเด็กแพร่หลาย ก็อาศัยพี่เลี้ยงหรือผู้โดยสารไปด้วยคอยดูแล อย่าปล่อยให้เด็กเป็นอิสระเด็ดขาด

48. ทำยังไงเมื่อกระจกหน้ารถแตกละเอียด
อุบัติเหตุเช่นนี้เกิดขึ้นได้เมื่อรถแล่นด้วยความเร็วสูง ต้องควบคุมสติให้ได้ผ่นอคันเร่งหาที่จอดอย่าปลอดภัย หากระดาษหนังสือพิมพ์มาคลุมหน้าปัดรถและกระโปรงรถใกล้กระจกหน้าเพื่อป้องกัน ไม่ให้เศษกระจกปลิวเข้ามา แล้วจึงหาอะไรมาค่อย ๆ ทุบกระจกที่แตกค้างออก แล้วขับรถไปหาอู่ซ่อมโดยเร็ว

49. เบรคจม
อุบัติเหตุบางครั้งเกิดจากการที่อยู่ดี ๆ คันเบรคก็จมซึ่งทำให้การหยุดรถทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร เป็นเช่นนี้ให้ลดความเร็วลงค่อย ๆ ปั๊มเบรคสองสามครั้งเพื่อให้ความร้อนไปไล่ฟองอากาศและความชื้นจากนั้นจึง ค่อย ๆ ขับไปด้วยควมเร็วเป็นปกติ

50. น้ำมันท่วม
รถที่จอดนิ่งอยู่สตาร์ทหลายทีก็ไม่ติด แถมยังได้กลิ่นฉุนของน้ำมันแสดงว่าน้ำมันได้ท่วมคาร์บูเรเตอร์ แล้วควาคอยอย่างน้อยสิบนาที เพื่อให้น้ำมันระเหยแล้ว เริ่มติดเครื่องใหม่อีกครั้ง

51. อาการแบตเตอรี่หมด
อีกกรณีที่สตาร์ทเครื่องรถไม่ติด แล้วไฟหน้ารถไม่สว่างให้สันนิษฐานได้ว่าแบตเตอรี่หมดให้ชาร์จใหม่ได้ทันที หากทำไม่เป็นก็ตามช่างหรือติดต่อศูนย์ที่คุณซื้อรถก็ได้

52. ความร้อนสูงผิดปกติ
สังเกตุได้จาก เข็มชี้ระดับความร้อนที่หน้าปัดขึ้นสูงกว่าธรรมดา อย่าขับรถต่อไป เพราะจะทำให้รถได้รับความเสียหายร้ายแรงได้ ต้องหาที่ร่มจอดรถ เปิดฝากระโปรงทิ้วไว้รอจนกว่าเครื่องยนต์จะเย็นลงในระดับปรกติจึงค่อยเดิน ทางต่อไป กรณีที่เกิดจากน้ำมในหม้อน้ำพร่องไป ต้องรออย่างน้อย 10 นาทีถึงจะเปิดฝาหม้อน้ำเติมน้ำได้

53. เบรคเสียกะทันหัน
เบรคที่ถูกใช้มากในบางกรณี อาจทำให้เสียหรือผ้าเบรคสึกมีผลให้รถเบรคไม่ค่อยอยู่ วิธีแก้ไขคือ ให้จอดรถชั่วคราวเพื่อให้เบรคพักการทำงานระยะหนึ่ง

54. หัดเปลี่ยนยางไว้บ้างก็ดี
กรณีที่เราขับรถออกทางไกลที่เปลี่ยว ๆ ห่างจากปั๊มน้ำมันข้างทางแล้วเกิดยางรั่วยางแตก การเปลี่ยนยางอะไหล่ต้องใช้ความสามารถของตนเอง การศึกษาวิธีการเปลี่ยนจากคู่มือ และหัดลองเปลี่ยนขณะจอดรถอยู่ให้คล่อง มิฉะนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว มีหวังคุณได้นอนหง่าวอยู่ในรถคนเดียวทั้งคืนแน่

55. ฟิวส์ซองบุหรี่
ระบบไฟฟ้าของรถใช้ฟิวส์เป็นตัวเชื่อมไฟ หากฟิวส์เกิดขาดกะทันหัน แก้ปัญหาได้โดยใช้กระดาษตะกั่วห่อซองบุหรี่หรือกระดาษห่อช็อกโกแล็ตมาหุ้ม ฟิวส์นั้นแล้วนำไปใช้ต่อฟิวส์นั้นก็จะทำงานได้ชั่วคราว

56. ยางโดนตะปูเจาะ
ประการแรกให้เปลี่ยนยางอะไหล่ทันที ถ้าไม่มียางอะไหล่ สำรวจยางเส้นนั้นว่ามียางในหรือไม่ ประการสำคัญไม่ควรดึงตะปูออกก่อนจะทำให้เวลาขับเคลื่อนรถ ยางจะแตก ระเบิดได้ ควรขับออกไปช้า ๆ อย่างระมัดระวังประคับประคองให้ไปถึงอู่หรือปั๊ม ทำการปะให้เรียบร้อย

57. ตรวจสนิมรถด้วยแม่เหล็ก
รถปัจจุบันส่วนใหญ่ตัวถังจะฉาบด้วยยากันสนิม ซึ่งเป็นฉนวน บริเวณที่กระเทาะแล้วเกิดสนิม จะทำให้เกิดแรงดึงดูดกับแม่เหล็ก

58. เรื่องของสีรถ
หากสีรถเกิดถลอกและเป็นสนิม หรือมีปัญหาอื่น ๆ เกี่ยวกับสีรถไม่ควรลงมือแก้ไขเอง เช่น เช็ด ขูด ควรนำรถเข้าอู่ ให้ช่างที่มีความชำนาญดูแล มิฉะนั้นจะทำให้เกิดรอยด่างของสีรถได้

59. รถติดอย่าหยุดติดรถ
ปัญหารถติดบ้านเราเลี่ยงกันไม่พ้น ขณะขับรถไปต่อคันที่หยุดข้างหน้าควรเว้นช่วงไว้ให้ห่างพอที่รถจะเคลื่อนตัว ไปซ้ายขวาได้ เป็นการเผื่อเอาไว้หากเกิดอุบัติเหตุรถชนท้ายด้านหน้ารถจะได้ไม่ถูกอัดก๊อ ปปี้เสียหายทั้งรถและชีวิต

60. ยางอะไหล่ต้องพร้อมเสมอ
รถเกือบทุกคันก็มักมียางอะไหล่ติดไว้เสมอ อย่าลืมที่จะตรวจสอบสภาพของยางอะไหล่บ้าง เป็นต้นว่าลมยางต้องมีความดันมาตรฐานเสมอ ไม่อ่อนจนเกินไป เพราะหากเกิดฉุกเฉินขึ้นมา ยางอะไหล่รั่วหรือแตก สถานการณ์จะเลวร้ายไปกันใหญ่

61. กรวยเติมน้ำมันฉุกเฉิน
น้ำมันแห้งสนิทกลางทาง ซื้อน้ำมันใส่แกลลอนมาแต่ดันลืมติดกรวยมาด้วย ไม่ยากเลย เพียงหาถ้วยใส่น้ำอัดลมพลาสติค ผ่าแล้วม้วนเป็นรูปกรวยมาเป็นที่เติม หรือใช้กระดาษทบกันหลาย ๆ ชั้น มาพับเป็นรูปกรวยก็ได้พอจะแก้ขัดไปครั้งหนึ่ง

วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เคล็ดลับ รับมือก่อนรถเสีย

เคล็ดลับ รับมือก่อนรถเสีย


หลายคนคงมีคำถามนี้เกิดขึ้นในใจว่า ถ้ารถเราเกิดเสียหรือมีปัญหาขึ้นมาระหว่างเดินทาง แล้วจะทำยังไง กันดี
เพราะใช่ว่าคนที่ขับรถยนต์ได้ทุกคนจะสามารถรู้เรื่องรถยนต์ทุกคน

น้อยคนนักที่ขับรถได้และสามารถแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับรถยนต์ได้ เป็นเปอร์เซ็นต์จะมีถึง 10% หรือเปล่ายังไม่รู้
แต่ที่แน่ ๆ คนที่ว่าขับรถและซ่อมรถเป็นในเวลาเดียวกันนั้น แทบร้อยทั้งร้อยคงเป็น “ผู้ชาย” เสียมากกว่า

ต้องรู้จักรถที่ขับก่อน

ก่อนจะแก้ไขรถที่เกิดปัญหาได้ ก่อนอื่นคุณต้องถามตัวเองก่อนว่าคุณรู้จักรถที่คุณขับอยู่หรือไม่
คำว่ารู้จักนี้ไม่ใช่แค่รู้ เพียงว่ารถที่ขับอยู่เป็นรถเก๋งหรือรถกระบะ ใช้น้ำมันเบนซินหรือดีเซลเท่านั้น
แต่ควรจะรู้ด้วยว่ารถที่ขับอยู่นั้นยี่ห้ออะไร รุ่น อะไร ปีที่ผลิตคือปีอะไร ซึ่งปีที่ผลิตนี้เขาจะใช้ปีสากลคือ ปีค.ศ.กัน
เช่น ปี 2000 ก็หมายถึง เป็นรถที่ผลิตขึ้นในปี ค.ศ.2000 ก็เท่ากับ พ.ศ.2543 แบบนี้เป็นต้น
นอกจากควรจะรู้ยี่ห้อ รุ่นและปีที่ผลิตรถคันที่ขับ
สิ่งที่ไม่น่าลืมอีกอย่างหนึ่งก็คือ หมายเลขทะเบียนและสีของรถหรือจุดเด่นต่าง ๆ บนตัวรถที่เราขับ
เพราะว่าสิ่งเหล่านี้จะทำให้การช่วยเหลือของเหล่า “ผู้มีน้ำใจ” ทั้งหลาย หารถของคุณได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

เบอร์โทร.ต่าง ๆ ควรมีไว้

เมื่อจำเป็นสิ่งที่ต่าง ๆ ที่ว่าไว้ข้างต้นได้แล้ว สิ่งที่ควรมีติดรถหรือเมมโมรี่ไว้ในโทรศัพท์มือถือ
เบอร์โทร.ของผู้มีน้ำใจช่วยเหลือสังคมทั้งหลายแหล่ เช่น จส.100 สวพ.91 และร่วมด้วยช่วยกัน เป็นต้น
แต่เบอร์ที่ควรจะจำได้ง่ายสุด ๆน่าจะเป็น เบอร์ 191 ของหน่วยงานตำรวจไทย โทร.แจ้งได้ทุกเรื่อง
ยกเว้นยืมสตางค์ อีกเบอร์ที่ไม่น่าลืมก็คือ 1133 สอบถามเบอร์ โทร.ทั่วประเทศ ซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ ที่ว่านี้
จะเป็นการโทร.ฟรีส่วนใหญ่ แต่ก็มีอีกเบอร์ที่ช่วยได้ทุกเรื่องเหมือนกันแต่ต้องเสียเงินเพิ่มนิดหนึ่ง ก็ BUG ไง

รถเสียต้องมีสติ

สิ่งแรกที่ควรจะต้องทำเวลารถเสียหรือมีปัญหา และต้องทำให้ได้ด้วยคือ “การมีสติ” เริ่มตั้งแต่
การควบคุมรถที่มีปัญหาเข้าข้างทาง เปิดไฟฉุกเฉินหากทำได้ตั้งสติอีกครั้ง รวบรวมลำดับเหตุการณ์ก่อน-หลังว่า
ก่อนจะมีปัญหามีอาการเป็นอย่าง ไร จากนั้นหยิบโทรศัพท์มือถือโทร.เบอร์คนที่จะพอช่วยเหลือได้ เช่น
ถ้ามีแฟนก็โทร.หาแฟน แต่ถ้าคิดว่าแฟนคงช่วยอะ ไรไม่ได้นัก ก็โทร.หาคนอื่น เช่น ใครที่รู้จักและพอมีความรู้
ทางด้านรถยนต์ แต่ถ้าไม่มีใครในความคิด ก็โทร.ไปเบอร์ ต่าง ๆ ที่บอกไว้
จากนั้นก็เล่าเหตุการณ์ให้ผู้ที่จะมาช่วยเหลือฟังว่ารถเป็นอะไร มีอาการอะไรก่อนจะเสีย
ถ้าเป็นคนที่ไม่รู้จักหรือคุ้นเคยกับเรา อย่าลืมบอกเขาด้วยว่ารถเรายี่ห้ออะไร รุ่นอะไร เกียร์ออโต้หรือเกียร์ธรรมดา
เครื่องยนต์เบนซินหรือดีเซล ทั้งนี้ เพื่อให้คนที่จะมาช่วยเหลือมีข้อมูลและเตรียมอะไหล่หรือเครื่องมือพิเศษอื่น ๆ
มาด้วย จะได้ไม่เสียเวลา

เครื่องมือช่าง ยางอะไหล่ต้องมีติดรถไว้

แม้เราจะไม่ได้เป็นช่าง และซ่อมรถไม่เป็นสักอย่าง แต่ควรมีเครื่องมือช่างที่จำเป็น อย่างเช่น ไขควง คีมปากขยาย
ประ แจปากตาย ฯลฯ ติดท้ายรถเสมอ ซึ่งเครื่องมือทั้งหลายทั้งปวงที่ว่ามานี้ปรกติเขาจะมีติดรถมาให้แล้ว เว้นแต่
เป็นรถมือสองหรือมือสามบางคันที่เจ้าของเก่าไม่ยอมให้มากับรถขอเก็บไว้เป็นที่ระลึกว่า ครั้งหนึ่งเคยเป็นเจ้าของ
รถรุ่นนี้นะ นอกจากจะมีเครื่องมือช่างแล้วควรต้องมีสายพ่วงแบตเตอรี่ไว้สัก 1 ชุด ยางอะไหล่และประแจถอดนอต
ล้ออีก 1 ชุด และบางท่านที่ล้อเป็นล้อแม็กที่มีฝาครอบแบบพิเศษ ก็ต้องมีเครื่องมือพิเศษสำหรับถอดฝาครอบนอต
ล้อด้วยนะ เพราะถ้าไม่มีเครื่องมือหรืออุปกรณ์พิเศษที่ว่าเวลายางแบน จะเปลี่ยนเอายางอะไหล่ใส่แทน ก็จบเหมือน
กันนะงานนี้ บางคนอาจจะถามว่ามีเครื่องมือช่างติดรถไว้ทำไมก็เราซ่อมรถไม่เป็นนี่นาก็ไม่ได้ให้เราใช้สักหน่อย
เครื่องมือนี่ เพียงแต่ให้คนที่เขามาช่วย ซึ่งเราพอซ่อมรถได้เอามาใช้ซ่อมรถเรานั่นเอง

สายพ่วงแบตเตอรี่ก็ไว้ใช้พ่วงแบตฯ กับรถคนอื่น เวลาเกิดแบตเตอรี่ไฟอ่อน หรือไฟไม่ชาร์จและยางอะไหล่ที่เก็บไว้
ท้ายรถก็ควรจะเช็คลมยางให้เต็มอยู่เสมอเช็คสักเดือนละครั้งหรือสองครั้งก็ได้ เติมเกินเผื่อไว้สักหน่อยจะดีไม่น้อย

อย่าืลืมนำวิธีที่นำมาฝากไปใช้กันนะค่ะ แต่ทางทีดีควรตรวจสอบสภาพรถบ่อย ๆ เพื่อความปลอดภัยของตัวเราเองค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554

“เครื่องหลวม…ซื้อหรือซ่อมดี”


เครื่องยนต์อันเป็นพลังแห่งการขับเคลื่อนของรถยนต์ทุกคัน ชิ้นส่วนที่จะ

ต้องทำงานอยู่ทุกวินาที ย่อมมีการสึกหรออย่างที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ไม่ว่ารถคัน ใดจะใหม่หรือเก่า ก็หนีไม่

พ้นการหมดอายุ การใช้งานของเครื่องยนต์ ปัญหาที่จะต้องพบก็คือ จะทำอย่างไร ให้รถกลับไปมี

เครื่องยนต์ที่สมบูรณ์อย่างคุ้มค่าเงินที่สุด และมี 2 ทางเลือกที่จะต้องตัดสินใจอย่างรอบคอบ คือ การ

ซ่อมแซมเครื่องยนต์ตัวเก่า และเปลี่ยนเครื่องยนต์(ใช้แล้ว)ตัวใหม่ ซึ่งทั้ง 2 ทางเลือก ต่างมีข้อดีและ

ข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป

การซ่อมแซมเครื่องยนต์ตัวเก่า (OVERHAUL)

ภาษาชาวบ้านเรียกว่า “ฟิตเครื่อง” เป็นทางเลือกที่อู่ซ่อมรถชอบและแนะนำให้ลูกค้าเลือกว ิธีนี้

เพราะการซ่อมแซมเครื่องยนต์ตัวเก่า จะต้องมีการรื้อชิ้นส่วน เพื่อวิเคราะห์การสึกหรอ และตัดสินใจ

เลือกเปลี่ยนอะไหล่ใหม่ การที่เจ้าของรถยนต์ส่วนใหญ่มอบหมายให้อู่หาซื้ออะไห ล่ให้นั้น เป็นการเปิด

ทางให้อู่สามารถ “บวกราคาอะไหล่” หรือ ซื้ออะไหล่ของเทียม แต่เก็บเงินในราคาอะไหล่แท้

อย่าคิดจะจับผิดในจุดนี้ เพราะอู่ซ่อมรถส่วนใหญ่มักจะสนิทสนมกับร้านอะไหล่จนเ ป็นปกติ จะให้ลง

ราคาในใบเสร็จเท่าไรก็ได้ บางครั้งไม่ได้เปลี่ยน แต่มีรายการอะไหล่อยู่ในใบเสร็จก็ยังมี และอย่าคิด

ว่าจะแก้ปัญหานี้ได้โดยเลือกซื้ออะไหล่เอง อู่บริการจะมีข้อแม้ว่า เจ้าของรถไม่ชำนาญพอ และอาจทำ

ให้งานล่าช้า ถ้าซื้ออะไหล่มาไม่ครบหรือซื้อผิดรุ่นการบวกราคาค่าอ ะไหล่ในใบเสร็จร้านอะไหล่บางครั้ง

ไม่ใช่เงินจำนวนเล็กน้อย เพราะบางแห่งบวกกันกว่า 50-100% เรื่องอย่างนี้อยู่ที่จรรยาบรรณนอกจากอู่

ซ่อมรถจะได้กำไรจากการบวกราคาค่าอะไหล่ ยังมีการบวกคาใช้จ่ายในส่วนของ “โรงกลึง” อีก

หลายสิบเปอร์เซ็นต์ ท้ายสุดยังได้ค่าแรงรื้อประกอบอีก 2,000-3,000 บาท (ค่าแรงเปลี่ยนเครื่อง

เพียง 1,000-1,500 บาทเท่านั้น)การเลือกวิธีซ่อมเครื่องเก่า จะต้องเสียเวลาประมาณ 3-7 วัน กับค่าใช้

จ่ายสูงลิบ และยากแก่การควบคุม เพราะจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักการ “ฟัน” ของอู่ อีกทั้งยังต้องลุ้น

กับฝีมือช่างอีกด้วยภาพการสึกหรอของเครื่องยนต์ จะเป็นตัวกำหนดทางเลือกที่ดี ขีดจำกัดอยู่

ที่ “การสึกหรอของกระบอกสูบและชาฟท์(แบริ่ง)”

ถ้ากระบอกสูบมีการสึกหรอจนไม่สามารถใช้ลูกสูบชุดเดิม ได้ การกลึงคว้านเพื่อเปลี่ยนลูกสูบใหญ่ขึ้น

หมายถึงค่าใช้จ่าย…โรงกลึง, ลูกสูบ และแหวนลูกสูบ ฯลฯการคว้านกระบอกสูบในภายหลังนี้ จะไม่มี

การ “ชุบแข็ง” ที่ผิวกระบอกสูบเดิมที่ถูกคว้านออกไปที่มีการชุบแข็ง จากโรงงานผู้ผลิต

ผิวกระบอกสูบที่ไม่ได้ชุบแข็ง จะมีอัตราการสึกหรอมากกว่ามาตรฐาน เครื่องยนต์จะมีอายุการใช้งาน

สั้นลง และไม่คุ้มค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปการเลือกวิธีการซ่ อมแซมเครื่องยนต์ตัวเก่า จะคุ้มค่าก็ต่อเมื่อ

เป็นเครื่องยนต์ของรถยุโรป ที่มีปริมาณเครื่องยนต์เก่าซึ่งนำเข้ามาจำหน่ายกันน้ อยและมีราคาสูง แต่ถ้า

เป็นรถญี่ปุ่น เครื่องยนต์ในตลาดอะไหล่เก่าให้เลือกมาก และอย่างจุใจ

อีกประการก็คือ การเลือกฟิตเครื่องเก่าจะคุ้มค่าก็ต่อเมื่อ ไม่ต้องเปลี่ยนลูกสูบ, แบริ่ง (ชาฟท์) และ

วาล์ว รวมถึงในเรื่องของค่าใช้จ่าย เพราะถ้าค่าใช้จ่ายในการฟิตเครื่องสูงกว่า 50% ของราคาเครื่องเก่า

ในเชียงกง

สิ่งที่ควรระวังก็คือ อู่บริการส่วนใหญ่ มักจะประเมินราคาค่าซ่อมขั้นต้นไว้ เพื่อจูงใจให้

เลือกวิธีซ่อมเครื่องยนต์เก่า แต่เมื่อลงมือไปแล้ว ค่าใช้จ่ายจะบานปลายจนไม่สามารถควบคุมได้ ด้วย

ข้ออ้างที่ว่า “ทำครั้งเดียวทำดี ๆ ไปเลย” ซึ่งถึงเวลานั้นก็คงกลับตัวกันไม่ทัน เพราะเครื่องก็ถูกรื้อออก

มาแล้ว อย่างไรก็ต้องทำให้เสร็จ
การเปลี่ยนเครื่องยนต์

ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องยนต์ใช้แล้วของรถญี่ปุ่น มีให้เลือกซื้ออย่างแพร่หลายในราคาที่น่าสนใจ โดย

แหล่งใหญ่ตอนนี้อยู่ที่เซียงกงบางนารองลงมาก็เซียงกง ปทุมวันบริเวณหลังสนามกีฬาแห่งชาติ

และที่สี่แยกหลักสี่ในชื่อเรียก “เชียงกงหลักสี่” นอกจากนั้น ยังมีที่เซียงกงรังสิตและร้านเล็ก ๆ กระจาย

อยู่ตามตึกแถวทั่วกรุงเทพฯ

เครื่องยนต์ที่ถูกนำเข้ามา จะเป็นเครื่องยนต์ที่ผ่านการใช้งานมาแล้วทั้งสิ้น ถูกถอดออกมาจากรถยนต์ที่

ถูกทิ้งในป่าช้ารถในประเทศญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นมักใช้รถกันเพียง 3-5 ปี เพราะในญี่ปุ่นรถมีราคาถูก แต่ค่า

ซ่อมแพง ถ้าใครทนใช้เกินระยะเวลานี้ จะมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง การต่อทะเบียน ตรวจสภาพ

ประกันภัย ฯลฯ จนทางเลือกในการซื้อรถใหม่เป็นทางที่คุ้มค่ากว่า

การใช้งานในระยะเวลา 3-5 ปี มิได้หมายความว่ารถยนต์จะผ่านการใช้งานอย่างหฤโหดเป็ นแสน ๆ

กิโลเมตรแบบคนไทย เพราะระบบขนส่งมวลชนที่ดีเยี่ยม คนญี่ปุ่นหลายคน จึงใช้รถยนต์แค่วันเสาร์-

อาทิตย์เท่านั้น

นอกจากรถยนต์ที่ถูกทิ้งด้วยสาเหตุที่กล่าวมา ก็มีรถยนต์ที่ถูกทิ้งเพราะเกิดอุบัติเหตุ “ไม่คุ้มค่าซ่อม”

บริษัทประกันภัยจะเคลมรถใหม่ให้แก่ลูกค้า พร้อมกับทิ้งรถเก่าเข้าป่าช้ารถไป

อย่าคิดว่ารถที่ถูกทิ้งจะต้องถูกชนยับแบบเมืองไทย เพราะการ “ไม่คุ้มค่าซ่อม” ของญี่ปุ่น คือ การ

ชนในส่วนที่ไขน็อตเปลี่ยนไม่ได้ ในเมื่อค่าแรงแพงมาก จะมาดึงมาเคาะโป๊วสีนั้นไม่คุ้มแน่ บางครั้ง แค่

ชนท้ายยุบหรือเสาประตูงอรถก็ถูกทิ้งกันแล้ว

ถ้าอุบัติเหตุไม่เกิดขึ้นจนทำให้เครื่องยนต์เสียหาย เครื่องยนต์ก็จะถูกถอดลำเลียงมาจำหน่ายในเมือง

ไทย เช่นเดียวกับรถประเภทแรกที่เจ้าของทิ้งเพราะไม่อยากต ่อทะเบียน

บางครั้งรถก็เกิดอุบัติเหตุหลังผ่านการใช้งานเพียงไม ่กี่เดือนหรือยังไม่พ้นระยะ “รันอิน” ด้วย

ซ้ำไป ถ้าใครโชคดีได้ซื้อเครื่องลักษณะนี้ก็เท่ากับซื้อเคร ื่องใหม่ในราคาเครื่องเก่า

เครื่องยนต์ที่ถูกส่งเข้ามาขายจะปะปนกันระหว่าง “รถทิ้ง” กับ “รถชน” ซึ่งก็ไม่มีใครจด

จำกันได้แม้แต่ผู้ขายเอง

แต่เครื่องยนต์ส่วนใหญ่จะมีสภาพไม่ต่ำกว่า 50-70% อย่างแน่นอน คาดคะเนได้จากการใช้งานโดย

เฉลี่ยของคนในเมืองหลวงวันละ 30-40 กิโลเมตร (ไป-กลับลาดพร้าว-ฝั่งธนบุรี) 1 ปีจะถูกใช้ประมาณ

14,000 กม. 4 ปีก็ 56,000 กม. ยังเหลือให้เราใช้อีกกว่า 50%

บางเครื่องอาจจะถูกใช้น้อยกว่านี้ เพราะเป็นที่ถูกทิ้งเพราะการชน อีกทั้งการแข่งขันของกลุ่มผู้ค้า

อะไหล่เก่าก็รุนแรงขึ้น จนต้องมีการคัดสรรเครื่องยนต์ที่มีสภาพดีมาจำหน่าย

ความคุ้มค่าของการเลือกซื้อเครื่องยนต์ใหม่ (ใช้แล้ว) อยู่ที่เทคนิคการเลือกซื้อ เพื่อให้ได้เครื่องยนต์ที่

มีอายุการใช้งานเหลืออยู่มากที่สุด
ข้อดีของการเลือกเปลี่ยนเครื่องยนต์

ความแน่นอนในการประกอบชิ้นส่วน – ช่างในโรงงานผู้ผลิตย่อมเหนือกว่าฝีมือช่างตามอู่ทั่ วไป

ในกรณี “ฟิตเครื่อง” จะต้องลุ้นในฝีมือช่างประกอบด้วย อะไหล่ดีหมดแต่ฝีมือไม่ดีก็พังได้

การควบคุมค่าใช้จ่าย – ค่าใช้จ่ายหลักมีเพียงค่าเครื่อง, ค่าหัวเทียน, ผ้าคลัตช์, น้ำมันเครื่อง ทางอู่

บริการไม่สามารถบวกค่าอะไหล่ได้มากเท่ากับการฟิตเครื ่อง ลดค่าแรงการฟิตเครื่อง 3,000-5,000

บาท มาเป็นค่าเปลี่ยนเครื่อง 2,000 –3,000 บาทเท่านั้น

ค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการฟิตเครื่องยนต์ – การฟิตเครื่องที่จะได้เครื่องสมบูรณ์ใกล้ 100% ที่สุด จำเป็นต้อง

ใช้อะไหล่แท้ที่มีราคาแพงลิบลิ่ว ราคาอะไหล่ทั้งหมด แพงกว่าราคาเครื่อง 1 ตัวอีก และถึงแม้จะใช้

อะไหล่แท้และประกอบดีเพียงใด เครื่องยนต์ที่เสร็จออกมาก็จะได้แค่ “ใกล้” 100% หรือประมาณ 80-

90% เท่านั้นเอง เพราะหลายชิ้นส่วนมีการสึกหรอแล้ว

อะไหล่เหลือเก็บ – ควรเก็บเครื่องยนต์เก่ากลับมาบ้าน (ถ้ามีที่เก็บ) เพราะอะไหล่ต่าง ๆ อาจนำ

มาใช้ได้ในอนาคต ถ้าที่เก็บไม่พอ ให้ถอดอะไหล่ชิ้นต่าง ๆ ออกมาเก็บไว้ เช่น ไดชาร์จ, ไดสตาร์ท,

คาร์บูเรเตอร์, จานจ่าย, สายหัวเทียน, ปั๊มส่งน้ำมันเชื้อเพลิง, ฟลายวีล, ทวีคลัตช์, ผ้าคลัตช์, ปั๊มน้ำ

ฯลฯ อุปกรณ์เหล่านี้เสมือนผลกำไรของเรา อนาคตถ้าชิ้นส่วนเหล่านี้เสียก็จะมีอะไหล่ใช้โดยไม่ต ้อง

ซื้อ

ประหยัดเวลา – การเปลี่ยนเครื่องใช้เวลาเพียง 1-2 วัน สะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องลำบากเสีย

ค่าเดินทางหลายวัน ต่างจากการฟิตเครื่องที่ใช้เวลา 3-7 วัน

วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการดูแลรักษารถยนต์

เคยไหมค่ะหลังจากที่เราซื้อรถมาแล้วโดยเฉพาะรถยนต์มือสอง ที่เราต้องคอยดูแลเอาใจใส่อย่างดีแต่ไม่รู้ว่าจะต้องดูแลเป็นพิเศษตรงไหนบ้าง ไม่เป็นไรค่ะหมดห่วงไปเลยเพราะวันนี้เรามีมาฝากกัน ไปดูกันเลยค่ะว่าีมีอะไรบ้างเริ่มจากการดูแลอันไหนก่อนกันแน่

1. เติมน้ำมันล้นถังไม่เป็นผลดี
ในสภาพอากาศร้อนจัดอย่าเติมน้ำมันจนล้นถัง เพราะความร้อนจะทำให้เพิ่มความดัน มีผลทำให้น้ำมันขยายตัวลื่นไหลออกจากถังเกิดอันตราย สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ

2. ลากเกียร์ทำให้คลัตช์เสียเร็ว
การใช้เกียร์ควรทำให้เหมาะสมและถูกจังหวะ อย่าลากเกียร์บ่อย จะทำให้คลัทช์เสียเร็วและยางหมดอายุเร็วขึ้น

3. อย่าขับรถจนน้ำมันหมดถัง
การขับรถจนน้ำหมดถัง จะทำให้เครื่องกรองน้ำมันมีโอกาสเสียได้มาก เนื่องจากตะกอนบางอย่างที่สะสมอยู่ในถังจะไปค้างที่เครื่องกรอง

4. อย่าใช้อิฐแทนแม่แรงรถ
อิฐสร้างบ้านก้อนที่แข็งที่สุดยังสามารถแตกได้ อย่าใช้รองหรือหนุนรถแทนแม่แรงต่างหาก เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้

5. ใช้แอลกอฮอล์ทำความสะอาดกระจก
แอลกอฮอล์มีคุณสมบัติช่วยฆ่าเชื้อโรคและยังใช้ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่เป็นแก้วหรือกระจกได้ กระจกรถของคุณที่มีคราบสกปรก จะถูกขจัดได้อย่างง่ายดายด้วยแอลกอฮอล์

6. สำรวจกระจกอย่าให้มีรอยร้าว
รอยร้าวที่กระจกเพียงเล็กน้อย จะทำให้ขยายวงกว้างไปสู่การแตกใหญ่ได้ต้องหมั่นสำรวจอยู่เสมอ การเปิดแอร์เย็นจัดในขณะอากาศภายนอกร้อนจะทำให้กระจกหดตัวอย่างรวดเร็ว เป็นสาเหตุให้เกิดการแตกของกระจกได้

7. เครื่องเป่าผมก็มีประโยชน์
รถที่สตาร์ทไม่ติดอันเนื่องมาจากปัญหาความชื้นลองใช้เครื่องเป่าผมเป่าความร้อนบริเวณเครื่องยนต์ที่คิดว่ามีความชื้นจนกว่าจะแห้ง แล้วลองสตาร์ทใหม่ดูอีกครั้ง

8.การควบคุมอารมณ์
การขับรถจำเป็นที่จะต้องควบคุมอารมณ์ด้วยความอดทนยิ่งในสภาพรถติดแสนสาหัส แบบบ้านเรายิ่งต้องมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยไม่สวมวิญญาณร้ายขณะขับรถ ไม่ใช้วาจาหยาบคาย และอย่าพยายามสั่งสอนบทเรียนต่อผู้อื่น

9. โกรธและหงุดหงิดอย่าขับรถเด็ดขาด
อารมณ์โกรธและหงุดหงิด มีผลเสียอย่างยิ่งต่อการใช้รถใช้ถนน ความกดดันทางอารมณ์จะทำให้มีผลต่อเนื่องไปยังผู้ขับขี่รถคนอื่น และนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุครั้งร้ายแรงได้

10. อย่าตอบโต้กับผู้ขับขี่รายอื่น
หากคุณอารมณ์เสียเนื่องจากผู้ขับขี่รถคันอื่น ต้องพยายามเก็บกดอารมณ์ไม่ตอบโต้ การตอบโต้จะทำให้เกิดผลร้ายต่อเนื่อง อย่างน้อยจะทำให้เราขาดสมาธิขาดการสังเกต สุดท้ายก็ลงเอยด้วยอุบัติเหตุ เป็นไปได้น่าจะจอดรถสงบสติอารมณ์สักครู่

11. หลีกเลี่ยงการเดินทางในสภาพอากาศเลวร้าย
เรามั่นใจแค่ไหนในการขับขี่รถในสภาพอากาศที่เลวร้าย เช่น ฝนตกหนัก หมอกลงจัด ทางที่ดีควรจะงดการขับรถ หันไปใช้บริการของรถสาธารณะจะดีกว่า ทั้งนี้ต้องติดตามการพยากรณ์ของอุตุนิยมวิทยา

12. การปรับพวงมาลัย
รถรุ่นใหม่สามารถปรับแกนพวงมาลัยให้เข้ากับสภาวะร่างกายของผู้ขับขี่ได้ อย่าปรับให้พวงมาลัยอยู่ในตำแหน่งที่มองแผงหน้าปัดยาก ล็อคแกนพวงมาลัยให้มั่นคงหลังจากปรับตำแหน่งจนได้ที่แล้ว ห้ามปรับพวงมาลัยในขณะรถเคลื่อนที่เด็ดขาด

13. เกียร์สูงสุด
เป็นเกียร์ที่ใช้กับอัตราเร็วสูง แต่ให้กำลังน้อยที่สุดเราจะใช้เกียร์สูงสุดกับอัตราเร็วของรถยนต์ที่แตกต่างกันได้มา คุณสามารถใช้แล่นด้วยความเร็วคงที่บนถนนทางตรง

14. อย่าให้ไฟดวงหนึ่งดวงใดขาด
การใช้สัญญาณไฟจะทำให้รถคันอื่นที่ตามหลัง หรือสวนทางเข้าใจในเจตนาของเรา แต่หากไฟสัญญาณดวงหนึ่งดวงใดขาดไป จะทำให้เป็นอันตรายแก่การใช้รถใช้ถนน ควรตรวจสอบและหาฟิวส์ หรือไฟอะไหล่ไว้ในรถบ้าง

15. ไฟเตือนภัยมีความสำคัญ
อย่าขับรถยนต์ออกไปเด็ดขาด กรณีที่มีการเตือนของไฟบนแผงหน้าปัดขึ้น เช่น ไฟเตือนความดันน้ำมันหล่อลื่น เพราะจะทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้

16. กระพริบไฟหน้าแทนแตร
การใช้ไฟสูง-ต่ำของไฟหน้า ทำให้เกิดการกระพริบสามารถเตือนผู้ขับขี่รายอื่นด้วย ที่คาดว่าจะไม่ได้ยินเสีสยแตรจากรถของเรา

17. อย่าปล่อยเกียร์ว่างให้รถเคลื่อนลงทางลาดเองไม่ถูกต้อง
การปล่อยให้รถไหลไปเองโดยไม่ใช้การขับเคลื่อนจะทำให้ควบคุมรถยนต์ยาก โดยเฉพาะพวงมาลัยและเบรคเกียร์จะเข้ายากขึ้นอีกด้วย

18. ลดเกียร์ไม่จำเป็นต้องไล่ตามลำดับ
การลดลงเกียร์ต่ำไม่จำเป็นต้องไล่ตามลำดับ เช่น จากเกียร์ห้ามาเกียร์สาม จากเกียร์สามมาเกียร์หนึ่ง เช่นนี้ จะทำให้เรามีเวลามองถนน และจับพวงมาลัยได้นานขึ้น

19. ใกล้ทางแยกอย่าเปลี่ยนเลนกะทันหัน
ต้องตัดสินใจให้ดีว่าคุณกำลังจะไปทางไหน ซ้าย-ขวา หรือตรง อย่าตัดเลนซ้ายมาขวา หรือขวามาซ้าย บริเวณใกล้ทางแยกจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ หรือไม่ก็ถูกตำรวจจับแน่นอน

20. จะไม่มีการชนท้ายรถคนอื่นเด็ดขาด
ไม่ขับชิดคันหน้าเกินไปหรือกะระยะการทำงานของเบรคได้ถูกต้อง

21. สิ่งกีดขวางกลางถนน
บังเอิญสิ่งกีดขวางอยู่ในช่องจราจรของเรา ตามหลักเราต้องให้รถยนต์วิ่งสวนทางมาผ่านไปก่อน กรณีสิ่งกีดขวางอยู่ฝังตรงข้ามอย่าผลีผลามเหยียบคันเร่งเลยไป เพราะรถคันสวนทางเราอาจไมยอมหยุดรถและหลบสิ่งกีดขวางออกมาในเลนของเราหน้าตาเฉย

22. สิ่งกีดขวางอยู่บนเนิน
นับว่าเป็นเรื่องท้าทายให้ต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ การใช้เบรคจำเป็นอย่างยิ่งที่จะนำมาจัดการแก้ปัญหานี้

23. แซงรถที่กำลังวิ่ง
ต้องเข้าใจว่ารถคันหน้าที่กำลังวิ่งด้วยความเร็วหนึ่งหากเราคิดจะแซง แน่นอนว่าความเร็วของรถเราต้องมากกว่า เมื่อหักลบกับความเร็วคันหน้าก็จะได้ระยะทางที่ต้องใช้ในการแซง นั่นก็คือ แซงรถกำลังวิ่งครั้งหนึ่งต้องใช้เวลามากกว่าปกติ ทางที่ดีไม่แน่ใจอย่าแซงจะดีกว่า

24. แซงระทางชัน
หากเป็นรถที่บรรทุกของหนักและวิ่งช้ากว่าเรา การแซงจะใช้เวลาสั้นลงอย่างมาก แต่พึงระวังรถสวนเลนตรงข้าม ซึ่งจะวิ่งลงทางลาดด้วยความเร็วสูง

25. อย่าเร่งรถหากกำลังถูกแซง
จะเป็นการผิดมารยาทอย่างยิ่ง หากรถของคุณที่กำลังถูกแซงเร่งเครื่องหนีด้วยความเร็วเพิ่มขึ้น เมื่อเห็นว่ารถคันขวาของคุณกำลังจะถูกแซง ต้องชะลอความเร็วรถของคุณ เพื่อให้รถของเขาแซงขึ้นไปได้อย่างรวดเร็ว

26. ขับรถขึ้นเขา
กรณีขับรถขึ้นเขาหรือเนิน แน่นอนว่ารถของคุณต้องใช้กำลังเพิ่มมากขึ้น การขับต้องเปลี่ยนมาใช้เกียร์ต่ำกว่าเดิมเพื่อรักษาความเร็วของรถ การเปลี่ยนเกียร์ต้องเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว เพราะขณะที่เรายกเท้าออกจากคันเร่งแล้วเหยียบคลัตช์เปลี่ยนเกียร์

27. ขับรถลงทางลาด
ขึ้นเนินใช้เกียร์ต่ำเพื่อรักษาความเร็วของรถ ลงทางลาดก็ต้องใช้เกียร์ต่ำ เพื่อลดอัตราเร็วของรถแทนการใช้เบรค เพราะหากใช้เบรคในทางลาดมากไป จะทำให้เบรคลื่นและจับไม่อยู่เนื่องจากมีความร้อนสูง

28. ออกตัวของรถขึ้นทางชัน
ผู้ขับขี่มือใหม่มักมีปัญหาการออกตัวขึ้นเนินแล้วรถเคลื่อนที่ถอยหลัง ต้องฝึกให้มีความสามารถในการใช้คันเร่งคลัตช์และเบรคมือพร้อมกัน โดยใช้เท้าซ้ายกดแป้นคลัตช์ลง โยกคันเกียร์จากเกียร์ว่างไปยังเกียร์หนึ่ง ใช้เท้าขวากดแป้นคันเร่ง โดยกดให้มากกว่าการออกตัวบนพื้นระดับ และต้องกดอย่างสม่ำเสมอตามปริมาณชองความชัน

29. จดรถหันหน้าขึ้นเนิน
หลีกเลี่ยงได้ควรหลีก แต่ถ้าจำเป็นต้องจอดให้ชิดขอบขวาทางด้านซ้ายมากที่สุด หมุนพวงมาลัยให้ล้อหันไปทางขวาป้องกันการเคลื่อนที่ถอยหลังเป็นเกียร์หนึ่งและใช้เบรคมือให้มั่นคง

30. จอดรถหันหน้าลงเนิน
หมุนพวงมาลัยไปทางซ้ายให้ล้อหันเข้าหาขอบทางเท้า ป้องกันไม่ให้รถเคลื่อนที่เดินหน้าใส่เกียร์ถอยหลังและเบรคมือไว้

31. ทางโค้งนะ
ให้สังเกตป้ายจราจรว่า โค้งไปทางขวาหรือทางซ้าย การเข้าโค้งให้ใช้เบรคเท้าควบคุมความเร็วของรถ เลือกเกียร์ให้เหมาะสมใช้คันเร่งอย่างระมัดระวังและบังคับรถให้ชิดเส้นแบ่งถนนทางขวาไว้จนตลอดทางโค้ง

32. ระวังหลุดโค้ง
ปรกติทางโค้งจะมีทั้งป้ายจราจรเตือนล่วงหน้าและมีเสาหลักปักตามระยะโค้ง แต่หากผู้ขับขี่ไม่ควบคุมความเร็วเข้าโค้งด้วยความโค้ง โค้งธรรมดาก็จะกลายเป็นโค้งหักศอกให้ได้รับอันตรายให้เห็นกันอยู่บ่อย ๆ

33. ความดันลมของยางสัมพันธ์กับพวงมาลัย
ยางรถยนต์จะต้องมีความดันลมในปริมาณพอเหมาะไม่มากหรือน้อยเกินไปถ้ามากไปทำให้ยากสึกหรอ ไม่ยึดถนนและลื่นไถลทางโค้งแต่หากความดันลมยางน้อยไปจะทำให้ยางร้อนจัดยางไม่เกาะถนนและสึกหรอง่าย สังเกตว่าความดันลมยางน้อยไปเมื่อพวงมาลัยมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น

34. เบรคบนทางโค้งอันตราย!
ควรหลีกเลี่ยงการใช้เบรคบนถนนทางโค้ง เพราะจะทำให้รถยนต์เสียการทรงตัวและมีแนวโน้มลื่นไถลหลุดโค้งออกไป

35. รถใหญ่บังรถเล็ก
รถใหญ่ที่วิ่งตามทางแยกอาจบังรถเล็กอีกคันที่กำลัง แซงขึ้นมา หากเราตัดสินใจเลี้ยวออกจากทางแยกแบบปัจจุบันทันด่วน โดยไม่ระวังให้ดี อาจเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้

36. ถอยหลังทางไหนหมุนพวงมาลัยทางนั้น
การถอยหลังรถแรก ๆ อาจจะดูไม่ถนัด ต้องอาศัยประสบการณ์ โดยมีเคล็ดลับอยู่ว่าจะให้ส่วนท้ายของรถหันไปทางไหนก็หมุนพวงมาลัยไปทางนั้น ส่วนผู้ขับก็เอี้ยวตัวไปดูข้างหลังโดยมือถือพวงมาลัยมือหนึ่ง อีกมือพาดบนพนักพิงผู้โดยสาร

37. ข้อห้ามของการถอยหลัง
อย่าใช้วิธีกลับรถโดยการถอยหลังจากถนนซอยสู่ถนนใหญ่ เมื่อไม่แน่ใจว่าปลอดภัย อย่าถอยหลังและอย่าถอยหลังเป็นระยะทางไกล ๆ โดยไม่จำเป็น

38. ไฟเขียวให้รีบไปแน่หรือ
การขับรถบริเวณทางแยกที่มีไฟจราจรกำกับและเป็นไฟเขียวอยู่ ไม่ตะบี้ตะบันเหยียบคันเร่งให้ทันสัญญาณไฟ ควรสังเกตดูว่าไฟเขียวนั้นนานแค่ไหน แล้วสังเกตดูว่ารถจากถนนฝั่งหนึ่งมีแถวยาวเท่าใน และควรขับรถเว้นระยะกับรถคันหลังดูว่าหากเบรคกะทันหัน กรณีไม่ทันไฟเขียว แล้วคุณจะไม่ถูกชนท้าย

39. รีบร้อนไปไหนยังไฟแดงอยู่เลย
ผู้ขับขี่หลายรายต้องเสียอกเสียใจทุกวันนี้ เพราะประสบอุบัติเหตุ เนื่องจากชอบออกรถในขณะที่สัญญาณไฟยังเป็นไฟแดงหรือเหลืองอยู่ โดยคาดเดาล่วงหน้าเกี่ยวกับการเปลี่ยนสัญญาณไฟจราจร ในขณะที่รถอีกฝั่งยังไฟแดงอาศัยลูกติดพันจากไฟเขียว ผลก็คือ ประสานงากันจังเบ้อเริ่ม เดือดร้อนกันทั่วหน้า

40. ถูกจี้ท้ายและเตือนด้วยไฟสูงต่ำ
หลายคนคงเคยเจอนักเลงกลางถนน โดยขับขี่อยู่ ดี ๆ ก็มีรถคันอื่นมาจี้ท้ายแถมใช้ไฟสูงต่ำยิงใส่ท้ายรถ อย่าตกใจและห้ามตอบโต้เด็ดขาด เพียงแต่ค่อย ๆ เปลี่ยนช่องจราจรไปทางซ้าย เพื่อให้เกิดช่องว่างให้รถคันหลังผ่านไปได้

41. กระจกหน้ารถต้องสะอาดอยู่เสมอ
กระจกหน้ารถที่สะอาด เมื่อเวลาฝนตก ใบปัดน้ำฝนจะทำความสะอาดได้เร็วมากขึ้นมาก ควรลดอัตราเร็วลงหากอุปกรณ์ปัดน้ำฝนทำงานไม่ทันกับปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก

42. ไม่แตะเบรคขณะรถลื่นไถล
กรณีรถขาดการทรงตัว เมื่อเจอสภาพถนนมีน้ำมันเกลื่อนกลาดอย่าตกใจยกเท้าออกจากคันเร่งและหมุนพวงมาลัยไปในทิศทางเดียวกับทิศทางการลื่นไถลโดยห้ามแตะเบรคโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก

43. อย่าเพิ่งดับไฟขณะรุ่งสาง
การรีบดับไฟเมื่อขับรถตอนรุ่งสางไม่เป็นผลดีต้องให้แน่ใจว่าคุณสามารถมองเห็นถนนและผู้ขับขี่คันอื่นอย่างชัดเจนเสียก่อนจึงค่อยดับไฟ กรณีรถมีสีคล้ำ ดำ หรือน้ำเงิน ซึ่งไม่ค่อยสะท้อนแสงต้องเปิดไฟแต่เนิ่น ๆ เมื่อเริ่มจะมือและปิดไฟช้ากว่าคันอื่นเมื่อเวลารุ่งสาง

44. การใช้น้ำมันหล่อลื่น
การเติมน้ำมันหล่อลื่นต้องรักษาปริมาณให้ถึงขีดกำหนดของรถเสมอ น้ำมันหล่อลื่นเป็นสารอันตรายต่อผิวหนัง ควรล้างมือทันทีและเก็บภาชนะบรรจุน้ำมันให้ห่างไกลจากมือเด็ก

45. รถเสียระวังเสียงรถ
เมื่อรถคุณเกิดเสียกลางทางแล้วมีอาสาสมัครเสนอตัวให้ความช่วยเหลือ หากคุณไม่แน่ใจพฤติกรรมอย่าลงจากรถเด็ดขาด ให้ผู้ผ่านกระจกแล้วล็อคประตูไว้วานให้ช่วยไปโทรศัพท์หาผู้ที่คุณต้องการจะติดต่อด้วยจะดีที่สุด

46. อุปกรณ์พยาบาลที่ควรจะมีในรถ
เพื่อความปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉน คุณควรมีสิ่งเหล่านี้ไว้ในรถ พลาสเตอร์, ผ้าพันแผล ขวดพลาสติคใส่น้ำสะอาดไว้ กรรไกร คีม ผ้าพันแผลแบบยืดหดได้ โคมไฟฟ้า เหรียญ(สำหรับโทรศัพท์)

47. เด็กเล็กก็ควรคาดเข็มขัด
อุบัติเหตุหลายครั้งเด็กเล็กต้องเสียชีวิตหรือบาดเจ็บจำนวนมาก ในเมืองนอกได้ออกแบบที่นั่งเฉพาะสำหรับเด็กไว้อย่างมาตรฐาน โดยเฉพาะมีเข็มขัดนิรภัยให้เด็กคาดเข็มขัดด้วย สำหรับเมืองไทยที่ยังไม่มีที่นั่งเด็กแพร่หลาย ก็อาศัยพี่เลี้ยงหรือผู้โดยสารไปด้วยคอยดูแล อย่าปล่อยให้เด็กเป็นอิสระเด็ดขาด

48. ทำยังไงเมื่อกระจกหน้ารถแตกละเอียด
อุบัติเหตุเช่นนี้เกิดขึ้นได้เมื่อรถแล่นด้วยความเร็วสูง ต้องควบคุมสติให้ได้ผ่นอคันเร่งหาที่จอดอย่าปลอดภัย หากระดาษหนังสือพิมพ์มาคลุมหน้าปัดรถและกระโปรงรถใกล้กระจกหน้าเพื่อป้องกันไม่ให้เศษกระจกปลิวเข้ามา แล้วจึงหาอะไรมาค่อย ๆ ทุบกระจกที่แตกค้างออก แล้วขับรถไปหาอู่ซ่อมโดยเร็ว

49. เบรคจม
อุบัติเหตุบางครั้งเกิดจากการที่อยู่ดี ๆ คันเบรคก็จมซึ่งทำให้การหยุดรถทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร เป็นเช่นนี้ให้ลดความเร็วลงค่อย ๆ ปั๊มเบรคสองสามครั้งเพื่อให้ความร้อนไปไล่ฟองอากาศและความชื้นจากนั้นจึงค่อย ๆ ขับไปด้วยควมเร็วเป็นปกติ

50. น้ำมันท่วม
รถที่จอดนิ่งอยู่สตาร์ทหลายทีก็ไม่ติด แถมยังได้กลิ่นฉุนของน้ำมันแสดงว่าน้ำมันได้ท่วมคาร์บูเรเตอร์ แล้วควาคอยอย่างน้อยสิบนาที เพื่อให้น้ำมันระเหยแล้ว เริ่มติดเครื่องใหม่อีกครั้ง

51. อาการแบตเตอรี่หมด
อีกกรณีที่สตาร์ทเครื่องรถไม่ติด แล้วไฟหน้ารถไม่สว่างให้สันนิษฐานได้ว่าแบตเตอรี่หมดให้ชาร์จใหม่ได้ทันที หากทำไม่เป็นก็ตามช่างหรือติดต่อศูนย์ที่คุณซื้อรถก็ได้

52. ความร้อนสูงผิดปกติ
สังเกตุได้จาก เข็มชี้ระดับความร้อนที่หน้าปัดขึ้นสูงกว่าธรรมดา อย่าขับรถต่อไป เพราะจะทำให้รถได้รับความเสียหายร้ายแรงได้ ต้องหาที่ร่มจอดรถ เปิดฝากระโปรงทิ้วไว้รอจนกว่าเครื่องยนต์จะเย็นลงในระดับปรกติจึงค่อยเดินทางต่อไป กรณีที่เกิดจากน้ำมในหม้อน้ำพร่องไป ต้องรออย่างน้อย 10 นาทีถึงจะเปิดฝาหม้อน้ำเติมน้ำได้

53. เบรคเสียกะทันหัน
เบรคที่ถูกใช้มากในบางกรณี อาจทำให้เสียหรือผ้าเบรคสึกมีผลให้รถเบรคไม่ค่อยอยู่ วิธีแก้ไขคือ ให้จอดรถชั่วคราวเพื่อให้เบรคพักการทำงานระยะหนึ่ง

54. หัดเปลี่ยนยางไว้บ้างก็ดี
กรณีที่เราขับรถออกทางไกลที่เปลี่ยว ๆ ห่างจากปั๊มน้ำมันข้างทางแล้วเกิดยางรั่วยางแตก การเปลี่ยนยางอะไหล่ต้องใช้ความสามารถของตนเอง การศึกษาวิธีการเปลี่ยนจากคู่มือ และหัดลองเปลี่ยนขณะจอดรถอยู่ให้คล่อง มิฉะนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว มีหวังคุณได้นอนหง่าวอยู่ในรถคนเดียวทั้งคืนแน่

55. ฟิวส์ซองบุหรี่
ระบบไฟฟ้าของรถใช้ฟิวส์เป็นตัวเชื่อมไฟ หากฟิวส์เกิดขาดกะทันหัน แก้ปัญหาได้โดยใช้กระดาษตะกั่วห่อซองบุหรี่หรือกระดาษห่อช็อกโกแล็ตมาหุ้มฟิวส์นั้นแล้วนำไปใช้ต่อฟิวส์นั้นก็จะทำงานได้ชั่วคราว

56. ยางโดนตะปูเจาะ
ประการแรกให้เปลี่ยนยางอะไหล่ทันที ถ้าไม่มียางอะไหล่ สำรวจยางเส้นนั้นว่ามียางในหรือไม่ ประการสำคัญไม่ควรดึงตะปูออกก่อนจะทำให้เวลาขับเคลื่อนรถ ยางจะแตก ระเบิดได้ ควรขับออกไปช้า ๆ อย่างระมัดระวังประคับประคองให้ไปถึงอู่หรือปั๊ม ทำการปะให้เรียบร้อย

57. ตรวจสนิมรถด้วยแม่เหล็ก
รถปัจจุบันส่วนใหญ่ตัวถังจะฉาบด้วยยากันสนิม ซึ่งเป็นฉนวน บริเวณที่กระเทาะแล้วเกิดสนิม จะทำให้เกิดแรงดึงดูดกับแม่เหล็ก

58. เรื่องของสีรถ
หากสีรถเกิดถลอกและเป็นสนิม หรือมีปัญหาอื่น ๆ เกี่ยวกับสีรถไม่ควรลงมือแก้ไขเอง เช่น เช็ด ขูด ควรนำรถเข้าอู่ ให้ช่างที่มีความชำนาญดูแล มิฉะนั้นจะทำให้เกิดรอยด่างของสีรถได้

59. รถติดอย่าหยุดติดรถ
ปัญหารถติดบ้านเราเลี่ยงกันไม่พ้น ขณะขับรถไปต่อคันที่หยุดข้างหน้าควรเว้นช่วงไว้ให้ห่างพอที่รถจะเคลื่อนตัวไปซ้ายขวาได้ เป็นการเผื่อเอาไว้หากเกิดอุบัติเหตุรถชนท้ายด้านหน้ารถจะได้ไม่ถูกอัดก๊อปปี้เสียหายทั้งรถและชีวิต

60. ยางอะไหล่ต้องพร้อมเสมอ
รถเกือบทุกคันก็มักมียางอะไหล่ติดไว้เสมอ อย่าลืมที่จะตรวจสอบสภาพของยางอะไหล่บ้าง เป็นต้นว่าลมยางต้องมีความดันมาตรฐานเสมอ ไม่อ่อนจนเกินไป เพราะหากเกิดฉุกเฉินขึ้นมา ยางอะไหล่รั่วหรือแตก สถานการณ์จะเลวร้ายไปกันใหญ่

61. กรวยเติมน้ำมันฉุกเฉิน
น้ำมันแห้งสนิทกลางทาง ซื้อน้ำมันใส่แกลลอนมาแต่ดันลืมติดกรวยมาด้วย ไม่ยากเลย เพียงหาถ้วยใส่น้ำอัดลมพลาสติค ผ่าแล้วม้วนเป็นรูปกรวยมาเป็นที่เติม หรือใช้กระดาษทบกันหลาย ๆ ชั้น มาพับเป็นรูปกรวยก็ได้พอจะแก้ขัดไปครั้งหนึ่ง

เป็นไงบ้างล่ะค่ะ สำหรับเนื้อหาข้อมูลที่เรานำมาฝากสามารถนำไปใช้ได้เลยไหมค่ะอาจจะยาวไปหน่อย แต่รับรองค่ะว่ามีแต่สาระที่ดีๆแน่นอ เพื่อคุณผู้อ่าน เืพื่อคนไทยเราค่ะ

วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554

กรองแอร์นั้นสำคัญอย่างไร

หลายท่านอาจจะไม่ทราบว่ารถรุ่นใหม่ เดี๋ยวนี้เค้ามีกรองแอร์แล้ว บางท่านทราบแล้วแต่อาจคิดว่าไม่เห็นจำเป็นต้องใช้ ก็รถเราใช้มาตั้งหลายปีแล้วไม่เห็นมันจะเป็นไรเลย แล้วตกลงมันยังไงกันล่ะเนี่ย


โดยปกติแล้วระบบแอร์ในรถยนต์จะทำงานโดยให้พัดลม (Blower) เป่าอากาศไปที่คอยล์เย็น (Evaporator) แล้วลมจะเป็นตัวนำพาความเย็นจากคอยล์แอร์ มายังผู้โดยสาร (บางระบบจะให้พัดลมดูดความเย็นแล้วเป่าไปที่ผู้โดยสา ร) เมื่อใช้ไปนานๆ ฝุ่น และสิ่งสกปรกต่างๆ เช่น เกสรดอกไม้ เส้นผม ขนสัตว์ จะเข้าไปติดอยู่ที่คอยล์เย็น เกิดผลให้
1.ลมที่พัดมายังผู้โดยสารเบา แอร์ไม่เย็น ทำให้ต้องเร่งพัดลมแอร์ เร่งความเย็นมากขึ้น เป็นผลให้เครื่องยนต์ทำงานหนักขึ้น
2.สิ่งสกปรก และเชื้อโรคต่างๆ ที่สะสมอยู่ตรงคอยล์เย็น เล็ดลอดมายังผู้โดยสาร ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ คัดจมูก ในบางคน
3.เมื่อสิ่งสกปรกเหล่านั้นไปเกาะคอยล์เย็นมากๆ บางครั้งเกาะจนแข็ง ตอนใช้งานปกติก็ไม่เป็นอะไร
แต่เมื่อถึงเวลาไปล้างแอร์ ปรากฎว่าคอยล์เย็นรั่ว (ประมาณ 30-40% และขึ้นอยู่กับความสกปรกของตู้แอร์) เนื่องจากสิ่งสกปรกเหล่านี้ ได้ไปกัดกร่อนแผงคอยล์เย็นทำให้เกิดรูรั่วโดยที่ฝุ่น เหล่านั้นอุดรูรั่วอยู่ แต่หลังล้างแอร์สิ่งสกปรกที่อุดรูรั่วเหล่านั้นถูกล้างออกไป คอยล์เย็นรั่ว ทำให้แอร์ไม่เย็น



ดังนั้นวิศวกรยานยนต์จึงได้คิดค้น Air Filter เพื่อแก้ปัญหาฝุ่นเกาะคอยล์เย็น โดยออกแบบตู้แอร์ ให้ใส่ Filter ได้ เพื่อให้ Air Filter กรองสิ่งสกปรก ก่อนที่จะเข้าไปถึงคอยล์เย็น


ประโยชน์ที่ได้จากการติดตั้ง Air Filter
-สามารถกรองฝุ่นละออง เกสรดอกไม้ และเชื้อราในอากาศซึ่งเป็นสาเหตุของโรคภูมิแพ้
-ช่วยยืดอายุการใช้งานของคอยล์เย็นไม่ทำให้แอร์ตันจาก ฝุ่น ยืดระยะเวลาการล้างตู้แอร์
-ช่วยยืดอายุการใช้งานของคอมเพรสเซอร์แอร์ เนื่องจากตู้แอร์ไม่มีฝุ่น
จึงสามารถทำความเย็นได้เร็วขึ้น เป็นผลให้คอมเพรสเซอร์แอร์ทำงานน้อยลง
-ลดปัญหาเสียงดังอี๊ดอ๊าดจากการถอดเข้า-ออก ของคอลโซลเพื่อล้างตู้แอร์ในรถ
-ทำให้เบาะและคอลโซลในรถยนต์ไม่หมองเร็ว เพราะฝุ่นละอองในอากาศ

วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เครื่องสตาร์ตไม่ติด – ต้องบอกช่างละเอียด

เมื่อเครื่องของรถมีปัญหา เครื่องสตาร์ตไม่ติด หลายคนนึกว่าบอกแค่นี้พอ ทั้งที่จำเป็นต้องมีการสื่อสารเพื่อบอกช่างหรือขอควา มช่วยเหลือที่ละเอียดกว่านี้ เพราะแค่บอกว่าเครื่องสตาร์ตไม่ติด จะไม่สามารถสื่อถึงอาการของปัญหาที่แท้จริงได้

เจ้าของรถหรือผู้ขับส่วนใหญ่ ไม่มีความรู้เรื่องกลไกในรถ หรือรู้ก็แค่งูๆ ปลาๆ รู้ตัวดีว่าไม่ใช่ช่าง เมื่อรถเกิดปัญหาหรือเสียก็หัวเสียพออยู่แล้ว คิดแต่เพียงว่าจะขอความช่วยเหลือจากใคร และเมื่อเจอใครที่พอลุ้นว่าจะช่วยได้ ก็จะรีบบอกอาการของปัญหาสั้นๆ ว่า เครื่องสตาร์ตไม่ติด โดยไม่บอกถึงรายละเอียดว่าเครื่องไม่ติดแบบไหน เพราะรู้ว่าตัวเองไม่ใช่ช่าง จะไปรู้อะไรละเอียดได้อย่างไร ถ้ารู้มากก็คงซ่อมเองไปแล้ว

ในความเป็นจริง เมื่อรถเสีย ควรพยายามดูและบอกถึงอาการของปัญหาที่เกิดขึ้นให้ละเ อียดที่สุด เพื่อให้ช่างหรือใครที่จะช่วย สามารถวิเคราะห์ถึงปัญหาตีวงแคบเข้ามาได้ การบอกถึงอาการเสียอย่างละเอียด เป็นสิ่งที่ใครๆ ก็ทำได้ เพราะไม่ใช่เป็นการพยายามแก้ไขปัญหาที่ตนเองไม่ถนัด

++ เครื่องสตาร์ตไม่ติด มีหลายอาการแตกต่างกัน++

แม้คำว่าเครื่องสตาร์ตไม่ติด ดูเหมือนจะมีอาการเดียว คือ เมื่อบิดกุญแจแล้ว เครื่องไม่ทำงานตามปกติ ไม่สามารถขับรถออกไปได้ในความเป็นจริง เครื่องสตาร์ตไม่ติด มีหลายอาการที่อาจเกิดขึ้นได้ คือ

1. บิดกุญแจแล้วเครื่องไม่หมุน มีเสียงดังแชะๆ หรือไม่ดังเลย
2. บิดกุญแจแล้วเครื่องหมุนอืดๆ ช้ากว่าปกติ แล้วก็ไม่ยอมทำงานเอง หมุนได้อืดๆ จากแรงของไดสตาร์ตเมื่อบิดกุญแจค้างอยู่เท่านั้น
3. บิดกุญแจแล้วเครื่องหมุนเร็วตามปกติด้วยแรงของไดสตาร ์ต แต่ไม่หมุนเอง ปล่อยกุญแจแล้วก็หยุดหมุน

แต่ละอาการของปัญหา มีต้นเหตุและวิธีแก้ไข รวมถึงความยากง่ายในการแก้ไขแตกต่างกัน

++ บิดกุญแจแล้วเครื่องไม่หมุนเลย หรือแค่ดังแชะๆ++

มีโอกาสเป็นปัญหาที่แบตเตอรีหรือไดสตาร์ต มักไม่ใช่ปัญหาที่ตัวเครื่องตรวจสอบไฟในแบต
เตอรีได้คร่าวๆ โดยเปิดไฟหน้าหรือบีบแตรดูอาการว่าปกติหรือไม่ แบตฯ อาจอ่อนจนเกือบหมด ทำให้หมุนไดตาร์ตไม่ไหว ได้แค่กระตุ้นตัวโซลินอยด์เบาๆ แต่หมุนไม่ไหว จึงมีแค่เสียงแชะๆ หากแบตเตอรีมีไฟ ไดสตาร์ตอาจเสีย มีทั้งแบบเสียเลย ต้องถอดไดสตาร์ตออกซ่อม หรือแค่สกปรกภายใน ลองหาอะไรเคาะที่ตัวไดสตาร์ตก่อน ถ้าแค่สกปรกก็อาจทำงานได้ แต่ต้องถอดเพื่อตรวจสอบในภายหลัง แต่ถ้าเคาะและยังไม่ทำงาน ก็ต้องถอดซ่อม อาการเสียแบบนี้ ถ้าเป็นระบบเกียร์ธรรมดา สามารถเข็นและเข้าเกียร์ 2 ถอนคลัตช์ กระตุกติดเครื่องได้

ถ้าแบตเตอรีไฟอ่อนหรือหมด ปัญหาอยู่ที่แบตฯีเสื่อมเก็บไฟไม่อยู่ หรือไดชาร์จไม่ปกติ สามารถพ่วงแบตฯ จากภายนอก เพื่อสตาร์ตเครื่องให้ติดได้ เมื่อเครื่องทำงานแล้ว ให้ดูไฟรูปแบตเตอรีที่หน้าปัดว่าสว่างหรือเรื่อๆ หรือไม่ ถ้ามี แสดงว่าระบบไดชาร์จไม่ปกติ ใช้แต่ไฟจากแบตฯ จนอ่อนลงเรื่อยๆ เมื่อไรที่ไฟไม่พอสำหรับอุปกรณ์สำคัญ เครื่องก็จะดับแต่ถ้าไฟรูปแบตเตอรีมืด แสดงว่าการชาร์จไฟปกติ ถึงแบตฯ จะเสื่อม แต่ถ้าไม่ทำให้เครื่องดับ ก็สามารถขับไปได้เรื่อยๆ

++บิดกุญแจแล้วเครื่องหมุนอืดๆ ไม่ยอมทำงานเอง++

พอจะได้ยินเสียงไดสตาร์ตและการหมุนของเครื่อง แต่เป็นการหมุนช้าๆ อืดๆอาการนี้มักจะมีปัญหามาจากแบตเตอรีไฟอ่อน ทั้งแบตฯ เสื่อม หรือไดชาร์จไม่ปกติ ไม่ใช่ปัญหาหาที่ตัวเครื่องอาการเสียแบบนี้ถ้าเป็นระ บบเกียร์ธรรมดา สามารถเข็นและเข้าเกียร์ 2 ถอนคลัตช์ กระตุกติดเครื่องได้ หรือถ้าเป็นเกียร์อัตโนมัติก็สามารถพ่วงแบตเตอรีจากภ ายนอก เพื่อสตาร์ตเครื่องให้ติดได้

เมื่อเครื่องทำงานแล้ว ให้ดูไฟรูปแบตเตอรีที่หน้าปัด ว่าสว่างหรือเรื่อๆ หรือไม่ ถ้ามี แสดงว่าระบบไดชาร์จไม่ปกติ ใช้แต่ไฟจากแบตฯ ีจนอ่อนลงเรื่อยๆ ไม่นานเครื่องก็๋จะดับ ถ้าจะขับให้ได้ไกลหน่อย ก็ต้องหาแบตที่มีไฟมากๆ มาใส่หรือพ่วงไว้แต่ถ้าไฟรูปแบตเตอรีไม่สว่าง แสดงว่าการชาร์จไฟปกติ ถึงแบตฯ จะเสื่อม แต่ถ้าไม่ทำให้เครื่องดับ ก็สามารถขับไปได้เรื่อยๆ

++ บิดกุญแจแล้วเครื่องหมุนเร็วด้วยไดสตาร์ต แต่เครื่องไม่ทำงานเอง++

อาการนี้หลายคนเข้าใจผิดว่า แบตเตอรีเสียหรือไดสตาร์ตเสีย เตรียมหาแบตฯ มาพ่วง ทั้งที่ความจริง แบตฯ และไดสตาร์ตเป็นปกติ เพราะเมื่อบิดกุญแจแล้ว เครื่องหมุนได้เร็วด้วยไดสตาร์ต แต่เครื่องไม่สามารถทำงานได้เอง เมื่อปล่อยการบิดกุญแจเครื่องก็หยุดหมุนปัญหาอยู่ที่ ตัวเครื่อง เพราะแบตฯและไดสตาร์ตปกติดี ไม่ต้องเข้นกระตุกหรือหาแบตฯมาพ่วง ให้ตรวจสอบที่ตัวเครื่องยนต์ เช่น มีไฟมีเลี้ยงระบบหรือไม่ ปั๊มส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทำงานดีหรือเปล่า ฯลฯ โดยต้องตรวจสอบระบบต่างๆ ของเครื่องเพื่อหาปัญหาที่แท้จริงอาการนี้ มีแนวโน้มจะซ่อมในพื้นที่ซึ่งรถจอดเสียได้ยากกว่า 2 อาการแรก ที่ถ้าทำให้เครื่องหมุนได้เครื่องก็ทำงานเองได้ และสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าแบบชั่วคราวได้ง่าย

แค่กระตุกรถหรือพ่วงแบตเตอรีก็น่าจะไปได้เครื่องหมุน จี๋ด้วยไดสตาร์ต แต่เครื่องไม่ทำงานเอง เป็นปัญหาที่เครื่อง ไม่เกี่ยวกับไดสตาร์ตและแบตฯ หลายกรณีที่พบ อาจไม่สามารถซ่อมบริเวณที่รถจอดอยู่ได้อย่างสะดวก ต้องยกหรือลากรถไปซ่อมต่อไป

วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ค้ำโช๊คคือะไร? มีประโยชน์อย่างไร

Strut Tower Bar คืออะไร มีกี่ชนิด




เหล็กค้ำโช๊ค (Strut Tower Bar) , (Strut Bar) หรือบางคนเรียก ไทร์บาร์
เป็นแกนกลางยึดระหว่าง หัวเบ้าโช๊คทั้งสองด้านของตัวถังรถยนต์ มีหน้าแปลนยึดติดกับหัวเบ้าโช๊ค หน้า – หลัง หรือค้ำยันกับตัวถังรถส่วนใดส่วนหนึ่ง จุดประสงค์การผลิตทำขึ้นเพื่อลดอาการบิดตัวของตัวถัง รถ จริงๆแล้วความนุ่มนวลในการขับขี่ และ การเกาะถนนนั้น ได้รับตัวแปรสำคัญมาจากตัวถังรถ (ง่ายๆว่า) ตัวถังจะมีการบิดตัวไปมา ซ้าย-ขวา บน-ล่าง ตามสภาวะจริงที่รถวิ่งผ่านไปตามสภาพถนน (ถ้าคุณได้เคยเห็นภาพการทดสอบตัวถังรถ จะเห็นว่าจริงๆแล้วตัวถังสามารถบิดตัวได้น่าอย่างอัศ จรรย์) เป็นส่วนทำให้รถมีการขับขี่ที่นุ่มนวล ดังนั้นการเพิ่มจุดเชื่อมตัวถัง การตีโรลบาร์ หรือการสร้างเหล็กมาเสริมความแข็งแรงกับตัวถังรถ รวมถึงการติดตั้ง Strut Tower Bar นั้นเป็นวิธีการที่วงการแข่งขันรถยนต์ทำนิยมกัน เพื่อรองรับการใช้งานที่หนักขึ้นและลดการบิดตัวของตัวถังนั่นเอง

ชนิดของ Strut Tower Bar
มี 2 แบบ คือแบบปรับตั้งไม่ได้ เป็นลักษณะเชื่อมติดตายตัว กับหน้าแปลนยึดเบ้าโช๊ค หรือมีน็อตไขติด แบบนี้จะช่วยในด้านความแข็งแรงมากกว่า กับแบบปรับตั้งได้ ส่วนแบบนี้จะเป็นแบบละเอียดช่วยในด้านการค้ำยันตัวถั ง ด้วยการปรับตั้งให้เบ้าโช๊คทั้ง 2 ด้านให้หุบเข้าหรือ กางออก

วัสดุในการผลิต Strut Tower Bar

วัสดุที่ใช้มีทั้งแบบที่เป็นเหล็กทั้งหมดซึ่งส่วนมาก จะเป็นเหล็กเกรดพิเศษซึ่งความแข็งเหนียว ยืดหยุ่นได้ดีพวกโคโมลี่ ชนิดนี้จะมีความแข็งแรง แต่ก็ให้ความแข็งกระด้างมากเพราะการให้ตัวน้อย ส่วนแบบที่เป็นอะลูมิเนียมพวกนี้จะให้ทั้งน้ำหนักที่ เบา และมีความยืดหยุ่นมากกว่า จนถึงแบบที่ทำด้วย ไททาเนียม พวกนี้เน้นที่น้ำหนักเบา และความแข็งแรงสูง (พอๆกับราคา) ส่วนแบบที่ใช้ทั้งเหล็ก และอลูมิเนียมร่วมกัน พวกนี้จะให้ทั้งความแข็งแรง และความยืดหยุ่นไปด้วยพร้อมๆกัน ในปัจจุบันนิยมแบบที่ทำด้วยกราไฟท์ หรือคาบอนเคฟล่า แบบนี้จะให้ความสวยงาม ความยืดหยุ่นดี เรื่องของขนาด ความหนา และรูปทรง รวมถึงจุดยึดต่างๆ และการเลือกใช้วัสดุแกนกลางนั้น ล้วนแต่มีความสัมพันธ์กับความยืดหยุ่นทั้งสิ้น ซึ่งจะให้ผลที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน

ประโยชน์ของ Strut Tower Bar

ช่วยให้การควบคุมรถได้ดีขึ้น ทำให้ตัวถังรถแข็งแรงมากขึ้น ลดอาการเสียหายกับตัวถังโดยเฉพาะรถที่ใช้งานหนัก หรือรถเปลี่ยนช่วงล่างให้ที่แข็งขึ้นมากๆ ซึ่งจะทำให้ภาระทั้งหมดตกมาเป็นของตัวถังรถ ซึ่งจะช่วยลดภาระของตัวถังได้มาก และช่วยในการปรับตั้งมุม Camber ให้กับรถที่เกิดอุบัติเหตุ ได้อีกด้วย

ความเสียหายที่จะเกิดขึ้น กับ Strut Tower Bar
บ่อยครั้งที่เราจะได้พบความเสียหาย กับ ค้ำโช๊คในรูปแบบต่าง ๆ เช่นค้ำโช๊คงอ บิดเบี้ยว เสียรูป หรือค้ำโช๊คหัก ทุกอย่างย่อมเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะเมื่อเวลาที่ตัวถังรถ ได้รับแรงกระทำมาก เช่นตกหลุมแรงๆ หรืออุบิติเหตุ เป็นเพราะการบิดตัวของตัวถังที่รุนแรง การบิดตัวเข้าหากัน รวมถึงการติดตั้งแบบไม่ถูกต้อง

ตัวถังของรถยนต์ประกอบเข้ากันด้วยด้วยการเชื่อมแบบSp ot เพื่อให้สามารถให้ตัวและดูดซับแรงสั่นสะเทือนได้ ซึ่งตามมาตรฐานจากโรงงานก็ให้ความแข็งแรงในระดับหนึ่ งและรองรับการใช้งานปกติได้

แต่เมื่อมีการนำรถไปโมดิฟายเครื่องยนต์เพื่อใช้งานแบ บแข่งขัน โดดคอสะพาน , เข้าโค้ง หรือขับด้วยความเร็วสูง จะทำให้ตัวถังรถเกิดการบิดตัวมาก ทำให้รถท้ายปัด และไม่นิ่ง
การนำเอาค้ำโช๊คมาใส่จึงเป็นการเสริมความแข็งแรงเพื่ อลดการบิดตัวของตัวถังรถ เป็นการแก้ปัญหาได้วิธีหนึ่ง

ซึ่งค้ำโช๊คก็จะมีค้ำหน้าบนและหลังบนหรือเรียกอีกอย่ างว่า Upper Front and Rear Sturt Bar โดยอุปกรณ์ดังกล่าวจะยึดติดกับเบ้าโช๊คด้านบน ทั้งหน้าและหลัง จะทำหน้าที่ลดการบิดตัวของตัวถัง นอกจากนี้ก็ยังมีอุปกรณ์สำหรับกันตัวถังช่วงกลางบิดต ัว ( Cross Bar ) ซึ่งเจ้าอุปกรณ์ดังกล่าวจะติดตั้งไว้ภายในห้องโดยส ารช่วงหลังเบาะคนขับ

ด้านล่างก็จะมีค้ำล่างหน้าและหลังหรือเรียกอีกอย่างว ่า Lower Arm Front and Rear
อุปกรณ์ดังกล่าวทำหน้าที่ยึดบู๊ทปีกนกซ้ายและขวาทั้ง หน้าและหลังไม่ให้ดิ้น
เมื่อไม่ดิ้นเวลาตกหลุมจะไม่เกิดอาการเซ และทำให้การเข้าโค้งดีขึ้นลดอาการท้ายปัดได้



การติดตั้งเจ้าอุปกรณ์ดังกล่าว ควรทำร่วมกับการปรับโช๊คอัพให้มีค่าBump และRebound ที่เหมาะสมด้วยค่ะ

การติดค้ำโช๊ค ไม่ว่าจะแบบบนหรือล่าง หน้าหรือหลัง ถามว่าติดแล้วดีขึ้นเท่าไร
คงตอบเป็นเปอร์เซนต์ยาก เพราะคนส่วนใหญ่ใช้การวัดผลด้วยความรู้สึกเป็นหลัก
แต่ถ้าถามว่ามันดีขึ้นใหม จาการสอบถามผู้ใช้ส่วนใหญ่จะได้คำตอบว่าดีขึ้นคะ
ส่วนหนึ่งดูได้จากการเตรียมรถเพื่อการแข่งขัน ไม่ว่าจะทางฝุ่น , ทางเรียบ , ทางตรง
ทุกรูปแบบสนาม จะพบว่ารถแข่งแทบทุกคันก็จะติดเจ้าอุปกรณ์นี้