วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

มารู้จักกับกระจกรถกันหน่อย

นานมาแล้วมีเพื่อนคนหนึ่งขับรถไปเที่ยว “เธค”ซึ่งนิยมกันมากในหมู่วัยรุ่นยุคนั้น จนกระทั้งเธคเลิกจะกลับบ้าน
ถึงได้มารู้ตัวว่าลืมกุญแจเอาไว้ในรถ ไม่รู้ว่าวิธีเปิดล็อคโดยใช้ลวดเขี่ยนั้นเค้าทำกันยั งไง อีกทั้งเป็นเวลาดึกดื่น
(ความจริงใกล้สว่างแล้วต่างหาก)ไม่รู้ว่าจะไปหาช่างก ุญแจได้ที่ไหน ด้วยความโมโห (สงสัยจะเมามากกว่า)
จึงตัดสินใจทุบกระจกมันซะเลย เพื่อนเห็นว่ากระจกหน้ามันบานโตราคาคงจะแพง ก็เลยหันมาทุบกระจกข้างแทน
(รถไม่มีกระจกหูช้าง) ผลปรากฏว่าอีตอนจะหาซื้อกระจกบานข้างใส่ปรากฏว่าหาซื ้อลำบากมาก
แถมราคายังแพงกว่ากระจกหน้าอีก ตัวกระจกหน้ามีของเก่าญี่ปุ่นราคาไม่กี่ร้อย หรือเล่นของใหม่แค่พันนิด ๆ
ส่วนกระจกข้างของเก่าไม่มี ส่วนของใหม่ร่วมสองพัน เพราะกระจกข้างเป็นแบบไม่มีขอบ
ตัวแผ่นกระจกต้องแข็งแรงเป็นพิเศษ ต่างกับกระจกหน้าที่มีจุดยึดโดยรอบสามารถยึดและรองรั บกระจกได้เต็มที่
งานนี้แทนที่จะเล่นของถูก กลับกลายเป็นว่าเจอของแพง แถมยังหาลำบากอีกต่างหาก

ประเภทของกระจก
คราวนี้เรามาทำความรู้จักกับเจ้ากระจกบังลมหน้า อย่าไปใส่ใจกับเรื่องของคนขี้เมา ขี้โมโห แถมขี้ลืมดีกว่า
ตัวกระจกหน้านั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภท 3 ชนิดด้วยกันแต่ละอย่างมีคุณภาพและคุณสมบัติแตกต่างกั น

กระจก Tempered
โดยทั่วไปที่ใช้ทำกระจกบังลมหน้าจะมีความหนาประมาณ 5 มิลลิเมตร หรือรถบางรุ่นที่มีเจตนาลดเสียงลมปะทะ
และเสียงก้องของกระจกหน้า ก็อาจมีการใช้กระจกหนาขึ้นกว่านี้อีกเล็กน้อย
กระจกแบบ Tempered จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

Zone-Tempered
คุณสมบัติของกระจกประเภทนี้ คือ เวลาเกิดเรื่องทำให้กระจกหน้าแตกขึ้นมา
ตรงไหนก็แล้วแต่ มันจะแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยลามไปทั้งบาน โดยมีลักษณะการแตกแบ่งเป็นบริเวณต่างกัน
แถวตอนล่าง แถวตอนกลางกระจกจะแตกเป็นผลึกหรือเม็ดโตหน่อยพอจะอาศ ัยมองเส้นทางได้บ้าง
แม้จะไม่ชัดเจนนัก ส่วนบริเวณแถวขอบกระจกจะแตกออกเป็นเม็ดเล็ก ๆ ขนาดย่อม
เค้ามักนิยมใช้กระจกประเภทนี้ทำเป็นกระจกบังลมหน้า

Full-Tempered
มีคุณสมบัติเช่นเดียวกัน คือ เวลาแตกมันจะลามไปทั้งบาน
โดยมีความแตกต่างกันตรงเวลาแตกแล้วจะเป็นเม็ดเล็ก ๆ ทั่วทั้งแผ่น ซึ่งเค้าจะออกแบบมาไม่ให้เม็ดกระจก
เหล่านี้มีความแหลมคม เพื่อไม่สร้างอันตรายต่อผู้ขับขี่หรือผู้โดยสาร อย่างไรก็ตาม ไม่ควรประมาท
เพราะถึงมันจะไม่แหลมก็จริง แต่ในเรื่องความคมยังพอจะบาดได้เหมือนกันในบางเหลี่ย มมุม

กระจกแบบ Laminateกระจกนิรภัยแบบ Laminated นี้ ทั่วไปแล้วจะมีความหนาประมาณ 6 มิลลิเมตร
(กระจกกันกระสุดนั้นไม่เกี่ยว) หนากว่าพวกกระจกแบบ Tempered นิดหน่อย
กระจกแบบ Laminated ได้รับการพัฒนามาจากกระจกแบบ Tempered มีกระบวนการผลิตที่
ยุ่งยากซับซ้อนกว่า โดยการรีดกระจกออกมาเป็นแผ่นบางๆแล้วจับเอามาประกบกั น ซึ่งมีแผ่นฟิล์มใสทำจากไวนิล
นอกจากนี้ยามที่เกิดอุบัติเหตุ กระจกจะแตกร้าวเป็นเส้นเฉพาะบริเวณที่เกิดเรื่องเท่า นั้น
ไม่ร้าวฉานไปทั้งแผ่นแบบกระจก Tempered รวมทั้งจุดที่กระจกแตกยังสามารถป้องกันลมและฝนไม่ให้
ซึมเข้ามาภายในได้ จึงยังสามารถใช้งานและขับขี่ต่อไปได้อย่างสบาย โดยทั่วไปกระจกแบบ Laminated
จะมีอายุการใช้งานได้ทนทานและยาวนาน อย่างไรก็ตามมันก็มีการเสื่อมหรือเริ่มหมดอายุเหมือน กัน
ซึ่งจะมีลักษณะเป็นฝ้าตามขอบและมุมกระจก ที่ช่างสมัยก่อนเค้าเรียกว่า “ลมเข้า” นั่นแหละ
คราวนี้เราจะรู้ได้อย่างไรว่ากระจกที่ติดรถเรามานั้น เป็นกระจกชนิดใด โดยไม่ต้องรอให้มันแตกซะก่อน
โดยทั่วไปเค้าจะพิมพ์ประเภทของกระจกติดเอาไว้แถวมุมก ระจก ถ้าไม่มีให้สังเกตได้จากเงาสะท้อนของกระจก
พวกกระจกแบบ Tempered หลังจากทำความสะอาด จะพบว่ามีลายสะท้อนออกสีเหลือบฟ้าแนวตั้งให้เห็น
ถ้ามีลายแบบนี้แสดงว่าเป็นกระจกแบบ Tempered แน่นอน
อยู่ดี ๆ กระจกก็แตกเฉยเลย…!!??
มักจะเจอะเจอกันบ่อย ๆ ว่าขับรถอยู่ดี ๆ กระจกก็เกิดการแตกขึ้นมาเฉยเลย ส่วนใหญ่มักจะโทษว่า
มาจากอุณหภูมิที่แตกต่างระหว่างภายในรถที่เปิดแอร์ กับอุณหภูมิอันร้อนมหากาฬของภายนอก หรือบ้างก็ว่า
เป็นเพราะจอดรถทิ้งไว้กลางแดดจนกระจกรถร้อนจัด แล้วรีบเปิดแอร์ทำให้กระจกเย็น หรือ
หดตัวอย่างรวดเร็วกระจกร้อน ๆ มาเจอความเย็นก็เลยแตก

ตัวการที่แท้จริงคงไม่ใช่เรื่องของความร้อนหรือการจอ ดรถ ตลอดจนการขับรถท่ามกลางแสงแดดที่ร้อนจัด
มิฉะนั้นไปเปิดร้านขายกระจกแถวประเทศถิ่นทะเลทรายคงร วยไปแล้ว
เพราะแถบนั้นบางประเทศร้อนยิ่งกว่าบ้านเราซะอีกแถมเว ลากลางคืนอากาศก็เย็นจัดอีกต่างหาก
การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่มีความแตกต่างกันมาก เรื่องเหล่านี้บริษัทผู้ผลิตกระจกเค้าได้คำนึงมาเป็น อย่างดี
มีการออกแบบให้กระจกตลอดจนชิ้นส่วนต่าง ๆ สามารถทนต่อความร้อนจากแสงแดดได้
เพราะเป็นเรื่องปกติที่ต้องเจอกันอยู่แล้ว รวมถึงเรื่องของการขยายตัวตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของรู ปทรง
เมื่อได้รับความร้อน ด้วยเหตุนี้เจ้าความร้อนจึงไม่ใช่ตัวการหลักที่จะทำใ ห้กระจกแตก
เพียงแต่ความร้อนจะเป็นตัวการส่งเสริมให้กระจกแตกได้ ต่างหาก เช่นเดียวกันกับสะพานที่ตามปกติสามารถรอง
รับน้ำหนักคนข้ามได้สบาย ต่อให้ควบพ่อ “บุญเลิศ” ห้อตะบึงผ่านไปลุยสะพานก็ยังเฉย
แต่ถ้าสะพานชำรุดเสียหายอยู่แล้ว แค่ตัวเด็กเล็ก ๆ เดินผ่านสะพานก็พัง
แบบนี้เราจะว่าเด็กเป็นตัวการที่ทำให้สะพานพังได้หรื อเปล่าล่ะ…??!!
โครงสร้างรถมีปัญหา
รถบางรุ่นบางยี่ห้อ อาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของโครงสร้างจากการประกอ บที่ยังไม่เนี้ยบพอ
ทำให้มีการบิดอยู่เล็กน้อย ลำพังการใช้งานตามปกติก็ไม่มีปัญหาอันใด
แต่เมื่อตัวรถมีการบิดตัวหรือเกิดการกระแทกแรง ๆ อย่างเช่น การเลี้ยวโค้ง หรือกระแทกกับคอสะพาน
ก็อาจจะทำให้กระจกแตกได้ จนกระทั่งรถบางรุ่นถึงกับบอกว่า “ถ้ากระจกไม่แตกไม่ใช่ของแท้” ก็มี
หรือบางครั้งเป็นรถยอดนิยมขายดีจนประกอบไม่ทัน บริษัททำกระจกต้องเร่งผลิตเพื่อให้ทันกับการประกอบ
คุณภาพอาจจะด้อยไปบ้าง หรือเป็นด้วยความรีบ กระจกบางบานอาจจะไม่ได้สเป็คแต่คลาดเคลื่อนนิดหน่อย
ก็มีการหยวน ๆ กันบ้าง บางครั้งจึงเกิดปัญหากระจกแตกได้ (ง่าย)
กระจกเป็นโรคเครียด
เรื่องนี้มักเกิดขึ้นโดยผู้ขับขี่ไม่ทราบ คือ กระจกบังลมหน้าได้รับความเครียด
จนกระทั่งทำลายความแข็งแรงของกระจกให้หมดไป ซึ่งความเครียดนี้มันไม่สามารถมองเห็นกันได้
ไม่มีร่องรอยบ่งบอกปรากฏไว้ จะมารู้ก็ต่อเมื่อกระจกระเบิดซะแล้ว
สำหรับตัวสร้างความเครียดมักเกิดขึ้นจากการกระทบกับว ัสดุขนาดเล็ก พวกเศษหินที่ดีดมาจากรถคันหน้าหรือ
รถที่วิ่งสวนทาง ขณะที่ก้อนหินกระเด็นมาโดนกระจก ถ้าเป็นมุมตรงก็หนักหน่อยแรงกระทบจะมีมาก
ทำให้เกิดเป็นรอยร้าวเล็ก ๆ ขึ้นในเนื้อกระจกแต่มันจะมีขนาดเล็กมากจนกระทั่งมองด ้วยตาเปล่าไม่เห็น
หรือถ้าเป็นก้อนหินขนาดเขื่องซักหน่อยก็จะเกิดเป็นรอ ยกะเทาะเล็ก ๆ บางคนยังเข้าใจว่ากระจกรถตัวเองแข็งแรง
เจอก้อนหินเข้าไปยังเฉย โดยหารู้ไม่ว่าตัวก่อเรื่องได้เกิดขึ้นแล้ว เช่นเดียวกันกับก้อนหินขนาดเล็กที่กระเด็นมาถูก
กระจกในมุมเฉียง ก็สามารถเกิดรอยกระเทาะเล็ก ๆ และสร้างความเครียดให้กับกระจกได้

เมื่อกระจกได้รับความร้อนจากแสงแดด ทำให้แผ่นกระจกมีการขยายตัว ถ้าเป็นสภาวะปกติมันก็ไม่มีปัญหาอันใด
เพราะการขยายตัวของกระจกทั้งแนวตั้งและแนวนอน เป็นไปอย่างสม่ำเสมอทั่วทั้งแผ่น
ตามที่มีการคำนวณเอาไว้แล้วแต่ในกรณีที่กระจกมีรอยร้ าว หรือรอยกะเทาะเกิดขึ้น
การขยายตัวก็จะต่างกันทำให้ไม่สม่ำเสมอเท่าเทียมกัน และเป็นตัวการที่ทำให้กระจกแตก
เปลี่ยนกระจกใหม่
โดยทั่วไปการเปลี่ยนกระจกใหม่ ทางบริษัทรถมักไม่ค่อยมีปัญหา เพราะกระจกที่นำมาเปลี่ยนนั้นได้มาตรฐาน
การวัดขนาดและตรวจสอบด้วยเครื่องโมลด์ เกจ มาแล้ว รวมทั้งกลวิธีและอุปกรณ์ในการเปลี่ยนก็ได้มาตรฐาน
แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกศูนย์จะเจ๋งเสมอไป ประเภทเปลี่ยนกระจกแล้ว “ขาเปียก”ตอนฝนตก จากการรั่วซึม
ของกระจกก็ยังมีให้เจอได้บ้างเหมือนกัน มีหลายท่านไม่นิยมเปลี่ยนกระจกกับทางศูนย์ เพราะราคาค่อนข้างแพง
ก็เลยหันไปเล่นของถูกจากร้านกระจกทั่วไป ซึ่งมีเรื่องหลายอย่างที่ต้องใส่ใจ
มิฉะนั้นอาจเกิดปัญหากระจกแตกหรือเกิดการรั่วซึมในภา ยหลังได้
รูปแบบของการติดตั้ง
การยึดกระจกเข้ากับตัวรถนั้นมีหลายแบบ เช่น แบบใช้ยางขอบกระจกหรือแบบใช้กาวหยอดแล้ววางประกบลงไป
พวกรถที่ใช้ยางขอบกระจกควรจะเปลี่ยนยางของกระจกทุกคร ั้งที่มีการเปลี่ยนกระจก
ทั้งนี้เพราะยางที่ผ่านการใช้งานไปเมื่อมีการถอดออกม าแล้วใส่เข้าไปใหม่
อาจเกิดการยืดตัวหรือไม่เข้ากับรอยเดิมได้สนิท มักจะทำให้เกิดการรั่วซึม

ส่วนประเภทที่ใช้กาวหยอดยึดเอาไว้ ก็ต้องมีการขูดเอากาวเดิมออกให้หมด พร้อมทำความสะอาดรวมทั้งเทคนิค
ในการติดตั้งก็ต้องมีเยอะด้วย ไม่ว่าจะเป็นชนิด ปริมาณ และตำแหน่งของกาวที่ใช้ ระยะเวลาที่รอให้กาวเซ็ตตัว
การเว้นช่องว่างของขอบกระจกการวางตำแหน่งกระจกไม่ได้ ฉาก ฯลฯ อะไรต่าง ๆ เหล่านี้
กระจกมาตรฐานต่ำ
กระจกรถมีทำขึ้นมามากมายหลายบริษัท บางแห่งก็ได้เรื่อง บางทีก็ไม่ค่อยได้ความ ตั้งแต่คุณภาพของเนื้อกระจก
ไม่ว่าจะเป็นความใสหรือการหลอกตา ขนาดของกระจกไม่ได้มาตรฐาน ทั้งความกว้าง ความยาวและความหนาด้วย
บางทีเป็นของคัดเกรดทิ้งมาจากบริษัทรถ ซึ่งไม่ได้สเป็คตามที่กำหนดแล้วคนผลิตเสียดายไม่อยาก ทุบทิ้ง
เลยนำออกมาจำหน่ายในราคาถูก ถ้าผิดสเป็คเล็กน้อยก็ไม่เป็นไร แต่ถ้ามากนักมันก็มีปัญหาได้
โครงสร้างตัวถัง
พวกรถที่มีอุบัติเหตุอาจได้รับการซ่อมแซมมาไม่ดีเท่า ที่ควร โครงสร้างมีการบิดตัว
แบบนี้ก็มีปัญหากับการเปลี่ยนกระจก ถ้าพบว่ารถเคยมีอุบัติเหตุแม้จะไม่เกี่ยวกับโครงหลัง คาและกระจกแตกเป็น
ประจำ หรือเกิดการรั่ว อาจมีปัญหากับโครงสร้างตัวรถซึ่งเกิดการบิดตัว อันเป็นผลกระทบจากการชนมานั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น