วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554
“เครื่องหลวม…ซื้อหรือซ่อมดี”
เครื่องยนต์อันเป็นพลังแห่งการขับเคลื่อนของรถยนต์ทุกคัน ชิ้นส่วนที่จะ
ต้องทำงานอยู่ทุกวินาที ย่อมมีการสึกหรออย่างที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ไม่ว่ารถคัน ใดจะใหม่หรือเก่า ก็หนีไม่
พ้นการหมดอายุ การใช้งานของเครื่องยนต์ ปัญหาที่จะต้องพบก็คือ จะทำอย่างไร ให้รถกลับไปมี
เครื่องยนต์ที่สมบูรณ์อย่างคุ้มค่าเงินที่สุด และมี 2 ทางเลือกที่จะต้องตัดสินใจอย่างรอบคอบ คือ การ
ซ่อมแซมเครื่องยนต์ตัวเก่า และเปลี่ยนเครื่องยนต์(ใช้แล้ว)ตัวใหม่ ซึ่งทั้ง 2 ทางเลือก ต่างมีข้อดีและ
ข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป
การซ่อมแซมเครื่องยนต์ตัวเก่า (OVERHAUL)
ภาษาชาวบ้านเรียกว่า “ฟิตเครื่อง” เป็นทางเลือกที่อู่ซ่อมรถชอบและแนะนำให้ลูกค้าเลือกว ิธีนี้
เพราะการซ่อมแซมเครื่องยนต์ตัวเก่า จะต้องมีการรื้อชิ้นส่วน เพื่อวิเคราะห์การสึกหรอ และตัดสินใจ
เลือกเปลี่ยนอะไหล่ใหม่ การที่เจ้าของรถยนต์ส่วนใหญ่มอบหมายให้อู่หาซื้ออะไห ล่ให้นั้น เป็นการเปิด
ทางให้อู่สามารถ “บวกราคาอะไหล่” หรือ ซื้ออะไหล่ของเทียม แต่เก็บเงินในราคาอะไหล่แท้
อย่าคิดจะจับผิดในจุดนี้ เพราะอู่ซ่อมรถส่วนใหญ่มักจะสนิทสนมกับร้านอะไหล่จนเ ป็นปกติ จะให้ลง
ราคาในใบเสร็จเท่าไรก็ได้ บางครั้งไม่ได้เปลี่ยน แต่มีรายการอะไหล่อยู่ในใบเสร็จก็ยังมี และอย่าคิด
ว่าจะแก้ปัญหานี้ได้โดยเลือกซื้ออะไหล่เอง อู่บริการจะมีข้อแม้ว่า เจ้าของรถไม่ชำนาญพอ และอาจทำ
ให้งานล่าช้า ถ้าซื้ออะไหล่มาไม่ครบหรือซื้อผิดรุ่นการบวกราคาค่าอ ะไหล่ในใบเสร็จร้านอะไหล่บางครั้ง
ไม่ใช่เงินจำนวนเล็กน้อย เพราะบางแห่งบวกกันกว่า 50-100% เรื่องอย่างนี้อยู่ที่จรรยาบรรณนอกจากอู่
ซ่อมรถจะได้กำไรจากการบวกราคาค่าอะไหล่ ยังมีการบวกคาใช้จ่ายในส่วนของ “โรงกลึง” อีก
หลายสิบเปอร์เซ็นต์ ท้ายสุดยังได้ค่าแรงรื้อประกอบอีก 2,000-3,000 บาท (ค่าแรงเปลี่ยนเครื่อง
เพียง 1,000-1,500 บาทเท่านั้น)การเลือกวิธีซ่อมเครื่องเก่า จะต้องเสียเวลาประมาณ 3-7 วัน กับค่าใช้
จ่ายสูงลิบ และยากแก่การควบคุม เพราะจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักการ “ฟัน” ของอู่ อีกทั้งยังต้องลุ้น
กับฝีมือช่างอีกด้วยภาพการสึกหรอของเครื่องยนต์ จะเป็นตัวกำหนดทางเลือกที่ดี ขีดจำกัดอยู่
ที่ “การสึกหรอของกระบอกสูบและชาฟท์(แบริ่ง)”
ถ้ากระบอกสูบมีการสึกหรอจนไม่สามารถใช้ลูกสูบชุดเดิม ได้ การกลึงคว้านเพื่อเปลี่ยนลูกสูบใหญ่ขึ้น
หมายถึงค่าใช้จ่าย…โรงกลึง, ลูกสูบ และแหวนลูกสูบ ฯลฯการคว้านกระบอกสูบในภายหลังนี้ จะไม่มี
การ “ชุบแข็ง” ที่ผิวกระบอกสูบเดิมที่ถูกคว้านออกไปที่มีการชุบแข็ง จากโรงงานผู้ผลิต
ผิวกระบอกสูบที่ไม่ได้ชุบแข็ง จะมีอัตราการสึกหรอมากกว่ามาตรฐาน เครื่องยนต์จะมีอายุการใช้งาน
สั้นลง และไม่คุ้มค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปการเลือกวิธีการซ่ อมแซมเครื่องยนต์ตัวเก่า จะคุ้มค่าก็ต่อเมื่อ
เป็นเครื่องยนต์ของรถยุโรป ที่มีปริมาณเครื่องยนต์เก่าซึ่งนำเข้ามาจำหน่ายกันน้ อยและมีราคาสูง แต่ถ้า
เป็นรถญี่ปุ่น เครื่องยนต์ในตลาดอะไหล่เก่าให้เลือกมาก และอย่างจุใจ
อีกประการก็คือ การเลือกฟิตเครื่องเก่าจะคุ้มค่าก็ต่อเมื่อ ไม่ต้องเปลี่ยนลูกสูบ, แบริ่ง (ชาฟท์) และ
วาล์ว รวมถึงในเรื่องของค่าใช้จ่าย เพราะถ้าค่าใช้จ่ายในการฟิตเครื่องสูงกว่า 50% ของราคาเครื่องเก่า
ในเชียงกง
สิ่งที่ควรระวังก็คือ อู่บริการส่วนใหญ่ มักจะประเมินราคาค่าซ่อมขั้นต้นไว้ เพื่อจูงใจให้
เลือกวิธีซ่อมเครื่องยนต์เก่า แต่เมื่อลงมือไปแล้ว ค่าใช้จ่ายจะบานปลายจนไม่สามารถควบคุมได้ ด้วย
ข้ออ้างที่ว่า “ทำครั้งเดียวทำดี ๆ ไปเลย” ซึ่งถึงเวลานั้นก็คงกลับตัวกันไม่ทัน เพราะเครื่องก็ถูกรื้อออก
มาแล้ว อย่างไรก็ต้องทำให้เสร็จ
การเปลี่ยนเครื่องยนต์
ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องยนต์ใช้แล้วของรถญี่ปุ่น มีให้เลือกซื้ออย่างแพร่หลายในราคาที่น่าสนใจ โดย
แหล่งใหญ่ตอนนี้อยู่ที่เซียงกงบางนารองลงมาก็เซียงกง ปทุมวันบริเวณหลังสนามกีฬาแห่งชาติ
และที่สี่แยกหลักสี่ในชื่อเรียก “เชียงกงหลักสี่” นอกจากนั้น ยังมีที่เซียงกงรังสิตและร้านเล็ก ๆ กระจาย
อยู่ตามตึกแถวทั่วกรุงเทพฯ
เครื่องยนต์ที่ถูกนำเข้ามา จะเป็นเครื่องยนต์ที่ผ่านการใช้งานมาแล้วทั้งสิ้น ถูกถอดออกมาจากรถยนต์ที่
ถูกทิ้งในป่าช้ารถในประเทศญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นมักใช้รถกันเพียง 3-5 ปี เพราะในญี่ปุ่นรถมีราคาถูก แต่ค่า
ซ่อมแพง ถ้าใครทนใช้เกินระยะเวลานี้ จะมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง การต่อทะเบียน ตรวจสภาพ
ประกันภัย ฯลฯ จนทางเลือกในการซื้อรถใหม่เป็นทางที่คุ้มค่ากว่า
การใช้งานในระยะเวลา 3-5 ปี มิได้หมายความว่ารถยนต์จะผ่านการใช้งานอย่างหฤโหดเป็ นแสน ๆ
กิโลเมตรแบบคนไทย เพราะระบบขนส่งมวลชนที่ดีเยี่ยม คนญี่ปุ่นหลายคน จึงใช้รถยนต์แค่วันเสาร์-
อาทิตย์เท่านั้น
นอกจากรถยนต์ที่ถูกทิ้งด้วยสาเหตุที่กล่าวมา ก็มีรถยนต์ที่ถูกทิ้งเพราะเกิดอุบัติเหตุ “ไม่คุ้มค่าซ่อม”
บริษัทประกันภัยจะเคลมรถใหม่ให้แก่ลูกค้า พร้อมกับทิ้งรถเก่าเข้าป่าช้ารถไป
อย่าคิดว่ารถที่ถูกทิ้งจะต้องถูกชนยับแบบเมืองไทย เพราะการ “ไม่คุ้มค่าซ่อม” ของญี่ปุ่น คือ การ
ชนในส่วนที่ไขน็อตเปลี่ยนไม่ได้ ในเมื่อค่าแรงแพงมาก จะมาดึงมาเคาะโป๊วสีนั้นไม่คุ้มแน่ บางครั้ง แค่
ชนท้ายยุบหรือเสาประตูงอรถก็ถูกทิ้งกันแล้ว
ถ้าอุบัติเหตุไม่เกิดขึ้นจนทำให้เครื่องยนต์เสียหาย เครื่องยนต์ก็จะถูกถอดลำเลียงมาจำหน่ายในเมือง
ไทย เช่นเดียวกับรถประเภทแรกที่เจ้าของทิ้งเพราะไม่อยากต ่อทะเบียน
บางครั้งรถก็เกิดอุบัติเหตุหลังผ่านการใช้งานเพียงไม ่กี่เดือนหรือยังไม่พ้นระยะ “รันอิน” ด้วย
ซ้ำไป ถ้าใครโชคดีได้ซื้อเครื่องลักษณะนี้ก็เท่ากับซื้อเคร ื่องใหม่ในราคาเครื่องเก่า
เครื่องยนต์ที่ถูกส่งเข้ามาขายจะปะปนกันระหว่าง “รถทิ้ง” กับ “รถชน” ซึ่งก็ไม่มีใครจด
จำกันได้แม้แต่ผู้ขายเอง
แต่เครื่องยนต์ส่วนใหญ่จะมีสภาพไม่ต่ำกว่า 50-70% อย่างแน่นอน คาดคะเนได้จากการใช้งานโดย
เฉลี่ยของคนในเมืองหลวงวันละ 30-40 กิโลเมตร (ไป-กลับลาดพร้าว-ฝั่งธนบุรี) 1 ปีจะถูกใช้ประมาณ
14,000 กม. 4 ปีก็ 56,000 กม. ยังเหลือให้เราใช้อีกกว่า 50%
บางเครื่องอาจจะถูกใช้น้อยกว่านี้ เพราะเป็นที่ถูกทิ้งเพราะการชน อีกทั้งการแข่งขันของกลุ่มผู้ค้า
อะไหล่เก่าก็รุนแรงขึ้น จนต้องมีการคัดสรรเครื่องยนต์ที่มีสภาพดีมาจำหน่าย
ความคุ้มค่าของการเลือกซื้อเครื่องยนต์ใหม่ (ใช้แล้ว) อยู่ที่เทคนิคการเลือกซื้อ เพื่อให้ได้เครื่องยนต์ที่
มีอายุการใช้งานเหลืออยู่มากที่สุด
ข้อดีของการเลือกเปลี่ยนเครื่องยนต์
ความแน่นอนในการประกอบชิ้นส่วน – ช่างในโรงงานผู้ผลิตย่อมเหนือกว่าฝีมือช่างตามอู่ทั่ วไป
ในกรณี “ฟิตเครื่อง” จะต้องลุ้นในฝีมือช่างประกอบด้วย อะไหล่ดีหมดแต่ฝีมือไม่ดีก็พังได้
การควบคุมค่าใช้จ่าย – ค่าใช้จ่ายหลักมีเพียงค่าเครื่อง, ค่าหัวเทียน, ผ้าคลัตช์, น้ำมันเครื่อง ทางอู่
บริการไม่สามารถบวกค่าอะไหล่ได้มากเท่ากับการฟิตเครื ่อง ลดค่าแรงการฟิตเครื่อง 3,000-5,000
บาท มาเป็นค่าเปลี่ยนเครื่อง 2,000 –3,000 บาทเท่านั้น
ค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการฟิตเครื่องยนต์ – การฟิตเครื่องที่จะได้เครื่องสมบูรณ์ใกล้ 100% ที่สุด จำเป็นต้อง
ใช้อะไหล่แท้ที่มีราคาแพงลิบลิ่ว ราคาอะไหล่ทั้งหมด แพงกว่าราคาเครื่อง 1 ตัวอีก และถึงแม้จะใช้
อะไหล่แท้และประกอบดีเพียงใด เครื่องยนต์ที่เสร็จออกมาก็จะได้แค่ “ใกล้” 100% หรือประมาณ 80-
90% เท่านั้นเอง เพราะหลายชิ้นส่วนมีการสึกหรอแล้ว
อะไหล่เหลือเก็บ – ควรเก็บเครื่องยนต์เก่ากลับมาบ้าน (ถ้ามีที่เก็บ) เพราะอะไหล่ต่าง ๆ อาจนำ
มาใช้ได้ในอนาคต ถ้าที่เก็บไม่พอ ให้ถอดอะไหล่ชิ้นต่าง ๆ ออกมาเก็บไว้ เช่น ไดชาร์จ, ไดสตาร์ท,
คาร์บูเรเตอร์, จานจ่าย, สายหัวเทียน, ปั๊มส่งน้ำมันเชื้อเพลิง, ฟลายวีล, ทวีคลัตช์, ผ้าคลัตช์, ปั๊มน้ำ
ฯลฯ อุปกรณ์เหล่านี้เสมือนผลกำไรของเรา อนาคตถ้าชิ้นส่วนเหล่านี้เสียก็จะมีอะไหล่ใช้โดยไม่ต ้อง
ซื้อ
ประหยัดเวลา – การเปลี่ยนเครื่องใช้เวลาเพียง 1-2 วัน สะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องลำบากเสีย
ค่าเดินทางหลายวัน ต่างจากการฟิตเครื่องที่ใช้เวลา 3-7 วัน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น