เคยไหมค่ะหลังจากที่เราซื้อรถมาแล้วโดยเฉพาะรถยนต์มือสอง ที่เราต้องคอยดูแลเอาใจใส่อย่างดีแต่ไม่รู้ว่าจะต้องดูแลเป็นพิเศษตรงไหนบ้าง ไม่เป็นไรค่ะหมดห่วงไปเลยเพราะวันนี้เรามีมาฝากกัน ไปดูกันเลยค่ะว่าีมีอะไรบ้างเริ่มจากการดูแลอันไหนก่อนกันแน่
1. เติมน้ำมันล้นถังไม่เป็นผลดี
ในสภาพอากาศร้อนจัดอย่าเติมน้ำมันจนล้นถัง เพราะความร้อนจะทำให้เพิ่มความดัน มีผลทำให้น้ำมันขยายตัวลื่นไหลออกจากถังเกิดอันตราย สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ
2. ลากเกียร์ทำให้คลัตช์เสียเร็ว
การใช้เกียร์ควรทำให้เหมาะสมและถูกจังหวะ อย่าลากเกียร์บ่อย จะทำให้คลัทช์เสียเร็วและยางหมดอายุเร็วขึ้น
3. อย่าขับรถจนน้ำมันหมดถัง
การขับรถจนน้ำหมดถัง จะทำให้เครื่องกรองน้ำมันมีโอกาสเสียได้มาก เนื่องจากตะกอนบางอย่างที่สะสมอยู่ในถังจะไปค้างที่เครื่องกรอง
4. อย่าใช้อิฐแทนแม่แรงรถ
อิฐสร้างบ้านก้อนที่แข็งที่สุดยังสามารถแตกได้ อย่าใช้รองหรือหนุนรถแทนแม่แรงต่างหาก เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้
5. ใช้แอลกอฮอล์ทำความสะอาดกระจก
แอลกอฮอล์มีคุณสมบัติช่วยฆ่าเชื้อโรคและยังใช้ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่เป็นแก้วหรือกระจกได้ กระจกรถของคุณที่มีคราบสกปรก จะถูกขจัดได้อย่างง่ายดายด้วยแอลกอฮอล์
6. สำรวจกระจกอย่าให้มีรอยร้าว
รอยร้าวที่กระจกเพียงเล็กน้อย จะทำให้ขยายวงกว้างไปสู่การแตกใหญ่ได้ต้องหมั่นสำรวจอยู่เสมอ การเปิดแอร์เย็นจัดในขณะอากาศภายนอกร้อนจะทำให้กระจกหดตัวอย่างรวดเร็ว เป็นสาเหตุให้เกิดการแตกของกระจกได้
7. เครื่องเป่าผมก็มีประโยชน์
รถที่สตาร์ทไม่ติดอันเนื่องมาจากปัญหาความชื้นลองใช้เครื่องเป่าผมเป่าความร้อนบริเวณเครื่องยนต์ที่คิดว่ามีความชื้นจนกว่าจะแห้ง แล้วลองสตาร์ทใหม่ดูอีกครั้ง
8.การควบคุมอารมณ์
การขับรถจำเป็นที่จะต้องควบคุมอารมณ์ด้วยความอดทนยิ่งในสภาพรถติดแสนสาหัส แบบบ้านเรายิ่งต้องมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยไม่สวมวิญญาณร้ายขณะขับรถ ไม่ใช้วาจาหยาบคาย และอย่าพยายามสั่งสอนบทเรียนต่อผู้อื่น
9. โกรธและหงุดหงิดอย่าขับรถเด็ดขาด
อารมณ์โกรธและหงุดหงิด มีผลเสียอย่างยิ่งต่อการใช้รถใช้ถนน ความกดดันทางอารมณ์จะทำให้มีผลต่อเนื่องไปยังผู้ขับขี่รถคนอื่น และนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุครั้งร้ายแรงได้
10. อย่าตอบโต้กับผู้ขับขี่รายอื่น
หากคุณอารมณ์เสียเนื่องจากผู้ขับขี่รถคันอื่น ต้องพยายามเก็บกดอารมณ์ไม่ตอบโต้ การตอบโต้จะทำให้เกิดผลร้ายต่อเนื่อง อย่างน้อยจะทำให้เราขาดสมาธิขาดการสังเกต สุดท้ายก็ลงเอยด้วยอุบัติเหตุ เป็นไปได้น่าจะจอดรถสงบสติอารมณ์สักครู่
11. หลีกเลี่ยงการเดินทางในสภาพอากาศเลวร้าย
เรามั่นใจแค่ไหนในการขับขี่รถในสภาพอากาศที่เลวร้าย เช่น ฝนตกหนัก หมอกลงจัด ทางที่ดีควรจะงดการขับรถ หันไปใช้บริการของรถสาธารณะจะดีกว่า ทั้งนี้ต้องติดตามการพยากรณ์ของอุตุนิยมวิทยา
12. การปรับพวงมาลัย
รถรุ่นใหม่สามารถปรับแกนพวงมาลัยให้เข้ากับสภาวะร่างกายของผู้ขับขี่ได้ อย่าปรับให้พวงมาลัยอยู่ในตำแหน่งที่มองแผงหน้าปัดยาก ล็อคแกนพวงมาลัยให้มั่นคงหลังจากปรับตำแหน่งจนได้ที่แล้ว ห้ามปรับพวงมาลัยในขณะรถเคลื่อนที่เด็ดขาด
13. เกียร์สูงสุด
เป็นเกียร์ที่ใช้กับอัตราเร็วสูง แต่ให้กำลังน้อยที่สุดเราจะใช้เกียร์สูงสุดกับอัตราเร็วของรถยนต์ที่แตกต่างกันได้มา คุณสามารถใช้แล่นด้วยความเร็วคงที่บนถนนทางตรง
14. อย่าให้ไฟดวงหนึ่งดวงใดขาด
การใช้สัญญาณไฟจะทำให้รถคันอื่นที่ตามหลัง หรือสวนทางเข้าใจในเจตนาของเรา แต่หากไฟสัญญาณดวงหนึ่งดวงใดขาดไป จะทำให้เป็นอันตรายแก่การใช้รถใช้ถนน ควรตรวจสอบและหาฟิวส์ หรือไฟอะไหล่ไว้ในรถบ้าง
15. ไฟเตือนภัยมีความสำคัญ
อย่าขับรถยนต์ออกไปเด็ดขาด กรณีที่มีการเตือนของไฟบนแผงหน้าปัดขึ้น เช่น ไฟเตือนความดันน้ำมันหล่อลื่น เพราะจะทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้
16. กระพริบไฟหน้าแทนแตร
การใช้ไฟสูง-ต่ำของไฟหน้า ทำให้เกิดการกระพริบสามารถเตือนผู้ขับขี่รายอื่นด้วย ที่คาดว่าจะไม่ได้ยินเสีสยแตรจากรถของเรา
17. อย่าปล่อยเกียร์ว่างให้รถเคลื่อนลงทางลาดเองไม่ถูกต้อง
การปล่อยให้รถไหลไปเองโดยไม่ใช้การขับเคลื่อนจะทำให้ควบคุมรถยนต์ยาก โดยเฉพาะพวงมาลัยและเบรคเกียร์จะเข้ายากขึ้นอีกด้วย
18. ลดเกียร์ไม่จำเป็นต้องไล่ตามลำดับ
การลดลงเกียร์ต่ำไม่จำเป็นต้องไล่ตามลำดับ เช่น จากเกียร์ห้ามาเกียร์สาม จากเกียร์สามมาเกียร์หนึ่ง เช่นนี้ จะทำให้เรามีเวลามองถนน และจับพวงมาลัยได้นานขึ้น
19. ใกล้ทางแยกอย่าเปลี่ยนเลนกะทันหัน
ต้องตัดสินใจให้ดีว่าคุณกำลังจะไปทางไหน ซ้าย-ขวา หรือตรง อย่าตัดเลนซ้ายมาขวา หรือขวามาซ้าย บริเวณใกล้ทางแยกจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ หรือไม่ก็ถูกตำรวจจับแน่นอน
20. จะไม่มีการชนท้ายรถคนอื่นเด็ดขาด
ไม่ขับชิดคันหน้าเกินไปหรือกะระยะการทำงานของเบรคได้ถูกต้อง
21. สิ่งกีดขวางกลางถนน
บังเอิญสิ่งกีดขวางอยู่ในช่องจราจรของเรา ตามหลักเราต้องให้รถยนต์วิ่งสวนทางมาผ่านไปก่อน กรณีสิ่งกีดขวางอยู่ฝังตรงข้ามอย่าผลีผลามเหยียบคันเร่งเลยไป เพราะรถคันสวนทางเราอาจไมยอมหยุดรถและหลบสิ่งกีดขวางออกมาในเลนของเราหน้าตาเฉย
22. สิ่งกีดขวางอยู่บนเนิน
นับว่าเป็นเรื่องท้าทายให้ต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ การใช้เบรคจำเป็นอย่างยิ่งที่จะนำมาจัดการแก้ปัญหานี้
23. แซงรถที่กำลังวิ่ง
ต้องเข้าใจว่ารถคันหน้าที่กำลังวิ่งด้วยความเร็วหนึ่งหากเราคิดจะแซง แน่นอนว่าความเร็วของรถเราต้องมากกว่า เมื่อหักลบกับความเร็วคันหน้าก็จะได้ระยะทางที่ต้องใช้ในการแซง นั่นก็คือ แซงรถกำลังวิ่งครั้งหนึ่งต้องใช้เวลามากกว่าปกติ ทางที่ดีไม่แน่ใจอย่าแซงจะดีกว่า
24. แซงระทางชัน
หากเป็นรถที่บรรทุกของหนักและวิ่งช้ากว่าเรา การแซงจะใช้เวลาสั้นลงอย่างมาก แต่พึงระวังรถสวนเลนตรงข้าม ซึ่งจะวิ่งลงทางลาดด้วยความเร็วสูง
25. อย่าเร่งรถหากกำลังถูกแซง
จะเป็นการผิดมารยาทอย่างยิ่ง หากรถของคุณที่กำลังถูกแซงเร่งเครื่องหนีด้วยความเร็วเพิ่มขึ้น เมื่อเห็นว่ารถคันขวาของคุณกำลังจะถูกแซง ต้องชะลอความเร็วรถของคุณ เพื่อให้รถของเขาแซงขึ้นไปได้อย่างรวดเร็ว
26. ขับรถขึ้นเขา
กรณีขับรถขึ้นเขาหรือเนิน แน่นอนว่ารถของคุณต้องใช้กำลังเพิ่มมากขึ้น การขับต้องเปลี่ยนมาใช้เกียร์ต่ำกว่าเดิมเพื่อรักษาความเร็วของรถ การเปลี่ยนเกียร์ต้องเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว เพราะขณะที่เรายกเท้าออกจากคันเร่งแล้วเหยียบคลัตช์เปลี่ยนเกียร์
27. ขับรถลงทางลาด
ขึ้นเนินใช้เกียร์ต่ำเพื่อรักษาความเร็วของรถ ลงทางลาดก็ต้องใช้เกียร์ต่ำ เพื่อลดอัตราเร็วของรถแทนการใช้เบรค เพราะหากใช้เบรคในทางลาดมากไป จะทำให้เบรคลื่นและจับไม่อยู่เนื่องจากมีความร้อนสูง
28. ออกตัวของรถขึ้นทางชัน
ผู้ขับขี่มือใหม่มักมีปัญหาการออกตัวขึ้นเนินแล้วรถเคลื่อนที่ถอยหลัง ต้องฝึกให้มีความสามารถในการใช้คันเร่งคลัตช์และเบรคมือพร้อมกัน โดยใช้เท้าซ้ายกดแป้นคลัตช์ลง โยกคันเกียร์จากเกียร์ว่างไปยังเกียร์หนึ่ง ใช้เท้าขวากดแป้นคันเร่ง โดยกดให้มากกว่าการออกตัวบนพื้นระดับ และต้องกดอย่างสม่ำเสมอตามปริมาณชองความชัน
29. จดรถหันหน้าขึ้นเนิน
หลีกเลี่ยงได้ควรหลีก แต่ถ้าจำเป็นต้องจอดให้ชิดขอบขวาทางด้านซ้ายมากที่สุด หมุนพวงมาลัยให้ล้อหันไปทางขวาป้องกันการเคลื่อนที่ถอยหลังเป็นเกียร์หนึ่งและใช้เบรคมือให้มั่นคง
30. จอดรถหันหน้าลงเนิน
หมุนพวงมาลัยไปทางซ้ายให้ล้อหันเข้าหาขอบทางเท้า ป้องกันไม่ให้รถเคลื่อนที่เดินหน้าใส่เกียร์ถอยหลังและเบรคมือไว้
31. ทางโค้งนะ
ให้สังเกตป้ายจราจรว่า โค้งไปทางขวาหรือทางซ้าย การเข้าโค้งให้ใช้เบรคเท้าควบคุมความเร็วของรถ เลือกเกียร์ให้เหมาะสมใช้คันเร่งอย่างระมัดระวังและบังคับรถให้ชิดเส้นแบ่งถนนทางขวาไว้จนตลอดทางโค้ง
32. ระวังหลุดโค้ง
ปรกติทางโค้งจะมีทั้งป้ายจราจรเตือนล่วงหน้าและมีเสาหลักปักตามระยะโค้ง แต่หากผู้ขับขี่ไม่ควบคุมความเร็วเข้าโค้งด้วยความโค้ง โค้งธรรมดาก็จะกลายเป็นโค้งหักศอกให้ได้รับอันตรายให้เห็นกันอยู่บ่อย ๆ
33. ความดันลมของยางสัมพันธ์กับพวงมาลัย
ยางรถยนต์จะต้องมีความดันลมในปริมาณพอเหมาะไม่มากหรือน้อยเกินไปถ้ามากไปทำให้ยากสึกหรอ ไม่ยึดถนนและลื่นไถลทางโค้งแต่หากความดันลมยางน้อยไปจะทำให้ยางร้อนจัดยางไม่เกาะถนนและสึกหรอง่าย สังเกตว่าความดันลมยางน้อยไปเมื่อพวงมาลัยมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น
34. เบรคบนทางโค้งอันตราย!
ควรหลีกเลี่ยงการใช้เบรคบนถนนทางโค้ง เพราะจะทำให้รถยนต์เสียการทรงตัวและมีแนวโน้มลื่นไถลหลุดโค้งออกไป
35. รถใหญ่บังรถเล็ก
รถใหญ่ที่วิ่งตามทางแยกอาจบังรถเล็กอีกคันที่กำลัง แซงขึ้นมา หากเราตัดสินใจเลี้ยวออกจากทางแยกแบบปัจจุบันทันด่วน โดยไม่ระวังให้ดี อาจเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้
36. ถอยหลังทางไหนหมุนพวงมาลัยทางนั้น
การถอยหลังรถแรก ๆ อาจจะดูไม่ถนัด ต้องอาศัยประสบการณ์ โดยมีเคล็ดลับอยู่ว่าจะให้ส่วนท้ายของรถหันไปทางไหนก็หมุนพวงมาลัยไปทางนั้น ส่วนผู้ขับก็เอี้ยวตัวไปดูข้างหลังโดยมือถือพวงมาลัยมือหนึ่ง อีกมือพาดบนพนักพิงผู้โดยสาร
37. ข้อห้ามของการถอยหลัง
อย่าใช้วิธีกลับรถโดยการถอยหลังจากถนนซอยสู่ถนนใหญ่ เมื่อไม่แน่ใจว่าปลอดภัย อย่าถอยหลังและอย่าถอยหลังเป็นระยะทางไกล ๆ โดยไม่จำเป็น
38. ไฟเขียวให้รีบไปแน่หรือ
การขับรถบริเวณทางแยกที่มีไฟจราจรกำกับและเป็นไฟเขียวอยู่ ไม่ตะบี้ตะบันเหยียบคันเร่งให้ทันสัญญาณไฟ ควรสังเกตดูว่าไฟเขียวนั้นนานแค่ไหน แล้วสังเกตดูว่ารถจากถนนฝั่งหนึ่งมีแถวยาวเท่าใน และควรขับรถเว้นระยะกับรถคันหลังดูว่าหากเบรคกะทันหัน กรณีไม่ทันไฟเขียว แล้วคุณจะไม่ถูกชนท้าย
39. รีบร้อนไปไหนยังไฟแดงอยู่เลย
ผู้ขับขี่หลายรายต้องเสียอกเสียใจทุกวันนี้ เพราะประสบอุบัติเหตุ เนื่องจากชอบออกรถในขณะที่สัญญาณไฟยังเป็นไฟแดงหรือเหลืองอยู่ โดยคาดเดาล่วงหน้าเกี่ยวกับการเปลี่ยนสัญญาณไฟจราจร ในขณะที่รถอีกฝั่งยังไฟแดงอาศัยลูกติดพันจากไฟเขียว ผลก็คือ ประสานงากันจังเบ้อเริ่ม เดือดร้อนกันทั่วหน้า
40. ถูกจี้ท้ายและเตือนด้วยไฟสูงต่ำ
หลายคนคงเคยเจอนักเลงกลางถนน โดยขับขี่อยู่ ดี ๆ ก็มีรถคันอื่นมาจี้ท้ายแถมใช้ไฟสูงต่ำยิงใส่ท้ายรถ อย่าตกใจและห้ามตอบโต้เด็ดขาด เพียงแต่ค่อย ๆ เปลี่ยนช่องจราจรไปทางซ้าย เพื่อให้เกิดช่องว่างให้รถคันหลังผ่านไปได้
41. กระจกหน้ารถต้องสะอาดอยู่เสมอ
กระจกหน้ารถที่สะอาด เมื่อเวลาฝนตก ใบปัดน้ำฝนจะทำความสะอาดได้เร็วมากขึ้นมาก ควรลดอัตราเร็วลงหากอุปกรณ์ปัดน้ำฝนทำงานไม่ทันกับปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก
42. ไม่แตะเบรคขณะรถลื่นไถล
กรณีรถขาดการทรงตัว เมื่อเจอสภาพถนนมีน้ำมันเกลื่อนกลาดอย่าตกใจยกเท้าออกจากคันเร่งและหมุนพวงมาลัยไปในทิศทางเดียวกับทิศทางการลื่นไถลโดยห้ามแตะเบรคโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก
43. อย่าเพิ่งดับไฟขณะรุ่งสาง
การรีบดับไฟเมื่อขับรถตอนรุ่งสางไม่เป็นผลดีต้องให้แน่ใจว่าคุณสามารถมองเห็นถนนและผู้ขับขี่คันอื่นอย่างชัดเจนเสียก่อนจึงค่อยดับไฟ กรณีรถมีสีคล้ำ ดำ หรือน้ำเงิน ซึ่งไม่ค่อยสะท้อนแสงต้องเปิดไฟแต่เนิ่น ๆ เมื่อเริ่มจะมือและปิดไฟช้ากว่าคันอื่นเมื่อเวลารุ่งสาง
44. การใช้น้ำมันหล่อลื่น
การเติมน้ำมันหล่อลื่นต้องรักษาปริมาณให้ถึงขีดกำหนดของรถเสมอ น้ำมันหล่อลื่นเป็นสารอันตรายต่อผิวหนัง ควรล้างมือทันทีและเก็บภาชนะบรรจุน้ำมันให้ห่างไกลจากมือเด็ก
45. รถเสียระวังเสียงรถ
เมื่อรถคุณเกิดเสียกลางทางแล้วมีอาสาสมัครเสนอตัวให้ความช่วยเหลือ หากคุณไม่แน่ใจพฤติกรรมอย่าลงจากรถเด็ดขาด ให้ผู้ผ่านกระจกแล้วล็อคประตูไว้วานให้ช่วยไปโทรศัพท์หาผู้ที่คุณต้องการจะติดต่อด้วยจะดีที่สุด
46. อุปกรณ์พยาบาลที่ควรจะมีในรถ
เพื่อความปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉน คุณควรมีสิ่งเหล่านี้ไว้ในรถ พลาสเตอร์, ผ้าพันแผล ขวดพลาสติคใส่น้ำสะอาดไว้ กรรไกร คีม ผ้าพันแผลแบบยืดหดได้ โคมไฟฟ้า เหรียญ(สำหรับโทรศัพท์)
47. เด็กเล็กก็ควรคาดเข็มขัด
อุบัติเหตุหลายครั้งเด็กเล็กต้องเสียชีวิตหรือบาดเจ็บจำนวนมาก ในเมืองนอกได้ออกแบบที่นั่งเฉพาะสำหรับเด็กไว้อย่างมาตรฐาน โดยเฉพาะมีเข็มขัดนิรภัยให้เด็กคาดเข็มขัดด้วย สำหรับเมืองไทยที่ยังไม่มีที่นั่งเด็กแพร่หลาย ก็อาศัยพี่เลี้ยงหรือผู้โดยสารไปด้วยคอยดูแล อย่าปล่อยให้เด็กเป็นอิสระเด็ดขาด
48. ทำยังไงเมื่อกระจกหน้ารถแตกละเอียด
อุบัติเหตุเช่นนี้เกิดขึ้นได้เมื่อรถแล่นด้วยความเร็วสูง ต้องควบคุมสติให้ได้ผ่นอคันเร่งหาที่จอดอย่าปลอดภัย หากระดาษหนังสือพิมพ์มาคลุมหน้าปัดรถและกระโปรงรถใกล้กระจกหน้าเพื่อป้องกันไม่ให้เศษกระจกปลิวเข้ามา แล้วจึงหาอะไรมาค่อย ๆ ทุบกระจกที่แตกค้างออก แล้วขับรถไปหาอู่ซ่อมโดยเร็ว
49. เบรคจม
อุบัติเหตุบางครั้งเกิดจากการที่อยู่ดี ๆ คันเบรคก็จมซึ่งทำให้การหยุดรถทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร เป็นเช่นนี้ให้ลดความเร็วลงค่อย ๆ ปั๊มเบรคสองสามครั้งเพื่อให้ความร้อนไปไล่ฟองอากาศและความชื้นจากนั้นจึงค่อย ๆ ขับไปด้วยควมเร็วเป็นปกติ
50. น้ำมันท่วม
รถที่จอดนิ่งอยู่สตาร์ทหลายทีก็ไม่ติด แถมยังได้กลิ่นฉุนของน้ำมันแสดงว่าน้ำมันได้ท่วมคาร์บูเรเตอร์ แล้วควาคอยอย่างน้อยสิบนาที เพื่อให้น้ำมันระเหยแล้ว เริ่มติดเครื่องใหม่อีกครั้ง
51. อาการแบตเตอรี่หมด
อีกกรณีที่สตาร์ทเครื่องรถไม่ติด แล้วไฟหน้ารถไม่สว่างให้สันนิษฐานได้ว่าแบตเตอรี่หมดให้ชาร์จใหม่ได้ทันที หากทำไม่เป็นก็ตามช่างหรือติดต่อศูนย์ที่คุณซื้อรถก็ได้
52. ความร้อนสูงผิดปกติ
สังเกตุได้จาก เข็มชี้ระดับความร้อนที่หน้าปัดขึ้นสูงกว่าธรรมดา อย่าขับรถต่อไป เพราะจะทำให้รถได้รับความเสียหายร้ายแรงได้ ต้องหาที่ร่มจอดรถ เปิดฝากระโปรงทิ้วไว้รอจนกว่าเครื่องยนต์จะเย็นลงในระดับปรกติจึงค่อยเดินทางต่อไป กรณีที่เกิดจากน้ำมในหม้อน้ำพร่องไป ต้องรออย่างน้อย 10 นาทีถึงจะเปิดฝาหม้อน้ำเติมน้ำได้
53. เบรคเสียกะทันหัน
เบรคที่ถูกใช้มากในบางกรณี อาจทำให้เสียหรือผ้าเบรคสึกมีผลให้รถเบรคไม่ค่อยอยู่ วิธีแก้ไขคือ ให้จอดรถชั่วคราวเพื่อให้เบรคพักการทำงานระยะหนึ่ง
54. หัดเปลี่ยนยางไว้บ้างก็ดี
กรณีที่เราขับรถออกทางไกลที่เปลี่ยว ๆ ห่างจากปั๊มน้ำมันข้างทางแล้วเกิดยางรั่วยางแตก การเปลี่ยนยางอะไหล่ต้องใช้ความสามารถของตนเอง การศึกษาวิธีการเปลี่ยนจากคู่มือ และหัดลองเปลี่ยนขณะจอดรถอยู่ให้คล่อง มิฉะนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว มีหวังคุณได้นอนหง่าวอยู่ในรถคนเดียวทั้งคืนแน่
55. ฟิวส์ซองบุหรี่
ระบบไฟฟ้าของรถใช้ฟิวส์เป็นตัวเชื่อมไฟ หากฟิวส์เกิดขาดกะทันหัน แก้ปัญหาได้โดยใช้กระดาษตะกั่วห่อซองบุหรี่หรือกระดาษห่อช็อกโกแล็ตมาหุ้มฟิวส์นั้นแล้วนำไปใช้ต่อฟิวส์นั้นก็จะทำงานได้ชั่วคราว
56. ยางโดนตะปูเจาะ
ประการแรกให้เปลี่ยนยางอะไหล่ทันที ถ้าไม่มียางอะไหล่ สำรวจยางเส้นนั้นว่ามียางในหรือไม่ ประการสำคัญไม่ควรดึงตะปูออกก่อนจะทำให้เวลาขับเคลื่อนรถ ยางจะแตก ระเบิดได้ ควรขับออกไปช้า ๆ อย่างระมัดระวังประคับประคองให้ไปถึงอู่หรือปั๊ม ทำการปะให้เรียบร้อย
57. ตรวจสนิมรถด้วยแม่เหล็ก
รถปัจจุบันส่วนใหญ่ตัวถังจะฉาบด้วยยากันสนิม ซึ่งเป็นฉนวน บริเวณที่กระเทาะแล้วเกิดสนิม จะทำให้เกิดแรงดึงดูดกับแม่เหล็ก
58. เรื่องของสีรถ
หากสีรถเกิดถลอกและเป็นสนิม หรือมีปัญหาอื่น ๆ เกี่ยวกับสีรถไม่ควรลงมือแก้ไขเอง เช่น เช็ด ขูด ควรนำรถเข้าอู่ ให้ช่างที่มีความชำนาญดูแล มิฉะนั้นจะทำให้เกิดรอยด่างของสีรถได้
59. รถติดอย่าหยุดติดรถ
ปัญหารถติดบ้านเราเลี่ยงกันไม่พ้น ขณะขับรถไปต่อคันที่หยุดข้างหน้าควรเว้นช่วงไว้ให้ห่างพอที่รถจะเคลื่อนตัวไปซ้ายขวาได้ เป็นการเผื่อเอาไว้หากเกิดอุบัติเหตุรถชนท้ายด้านหน้ารถจะได้ไม่ถูกอัดก๊อปปี้เสียหายทั้งรถและชีวิต
60. ยางอะไหล่ต้องพร้อมเสมอ
รถเกือบทุกคันก็มักมียางอะไหล่ติดไว้เสมอ อย่าลืมที่จะตรวจสอบสภาพของยางอะไหล่บ้าง เป็นต้นว่าลมยางต้องมีความดันมาตรฐานเสมอ ไม่อ่อนจนเกินไป เพราะหากเกิดฉุกเฉินขึ้นมา ยางอะไหล่รั่วหรือแตก สถานการณ์จะเลวร้ายไปกันใหญ่
61. กรวยเติมน้ำมันฉุกเฉิน
น้ำมันแห้งสนิทกลางทาง ซื้อน้ำมันใส่แกลลอนมาแต่ดันลืมติดกรวยมาด้วย ไม่ยากเลย เพียงหาถ้วยใส่น้ำอัดลมพลาสติค ผ่าแล้วม้วนเป็นรูปกรวยมาเป็นที่เติม หรือใช้กระดาษทบกันหลาย ๆ ชั้น มาพับเป็นรูปกรวยก็ได้พอจะแก้ขัดไปครั้งหนึ่ง
เป็นไงบ้างล่ะค่ะ สำหรับเนื้อหาข้อมูลที่เรานำมาฝากสามารถนำไปใช้ได้เลยไหมค่ะอาจจะยาวไปหน่อย แต่รับรองค่ะว่ามีแต่สาระที่ดีๆแน่นอ เพื่อคุณผู้อ่าน เืพื่อคนไทยเราค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น