วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555
เกร็ดเล็กๆน้อยซื้อรถมือ2แบบไม่เสียรู้ใคร
ตัวอย่าง เกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆ รถที่อุบัติเหตุมาแล้วในประเภท1 และเทคนิคซ่อมตบตาผู้รู้
เทคนิคดูรถประเภท 1
1.ให้ ดูที่สติกเกอร์จากโรงงาน ที่ติดอยู่บริเวณ คานรับฝากระโปรงหน้า เสากลาง หรือขอบประตู ถ้ายังมีอยู่ ไม่ชำรุดเสียหายมันจะเป็นตัวบ่งบอกว่า รถคันนั้นไม่เคยมีอุบัติเหตุ
2.ให้ ดูน็อตที่อยู่ในห้องเครื่อง ดูสีที่แต้มหัวน๊อต ดูรูต่างๆเป็นรูปทรงกลมหรือไม่ หากไม่มีร่อยรอยถูกขัน หรือไม่มีสีหลุดหายแล้ว และรูยังเป็นรูปทรงกลม รถคันนั้นไม่เคยประสบอุบัติเหตุ (กรณีนี้รถมีอายุไม่เกิน 2-3 ปี เกินจากนี้สีหัวน๊อตจะเจือจางไปแล้ว)
3. ดูสีที่ติดตามขอบคิว ขอบประตู ดูตะเข็บ รอยอาร์ค รอยซีลตามรอยต่อบริเวณห้องเครื่อง เสากลาง แผงท้าย หัวแชชซีส์ แผงหลังไฟใหญ่ คานใต้หม้อน้ำ แชชซีส์หน้า-หลัง เคาะฟังเสียงหนาทึบของสีโป้ว ฝากระโปรง ประตู บังโคลน ดูร่องประตู ร่องไฟใหญ่ ร่องกันชนหน้า-หลัง ดูเม็ดสี รูปทรงรถ ดูความคมเส้นสันของรถ ถ้าอยู่ในสภาพเดิมๆ แสดงว่ารถคันนั้นไม่มีอุบัติเหตุ (ที่จริงยังมีจุดดูรถอีกมากมาย ใคร่ขออธิบายคร่าวๆเท่านี้)
แต่ สำหรับ x-ray2car ไม่อาจยืนยันได้100% เพราะหากตั้งใจจะตบตากันจริงๆก็ทำไม่ยาก คนทำรถชนหนัก พลิกคว่ำ ซ่อมเพื่อขาย เขาย่อมรู้ดีว่า บรรดากูรูเรื่องรถมือสองจะดูรถจุดไหน
เทคนิคซ่อมเพื่อขาย รถประเภท 2(เบื้องต้นพอสังเขป)
1. ในกรณีรถถูกชนบริเวณที่มีสติกเกอร์ติดอยู่ ( เป็นสติกเกอร์ชนิดนี้จะพิเศษ มีความเหนี่ยวยากต่อการฉีกขาด ) เขาสามารถจะใช้สติกเกอร์อันเดิมที่ติดรถมา(รถที่ถูกชน) ติดในตำแหน่งเดิม(หลังซ่อมเสร็จ) วิธีการ คือ ใช้ไดร์เป่าผม อังบริเวณสติกเกอร์พออุ่นๆ กาวที่เหนียวแน่นของสติดเกอร์ก็จะละลาย อ่อนตัว แกะออกได้ง่าย และไม่ทำให้สติกเกอร์เสียหาย การทำแบบนี้ก็สามารถตบตาคนดูรถที่ไม่มีประสบการณ์ได้เป็นอย่างดี หรือแม้แต่ช่างด้วยกันเอง เมื่อเห็นสติกเกอร์ยังอยู่ รอยอาร์คยังมี มักนอนใจ รถคันนี้ไม่เคยมีอุบัติเหตุ แต่ในความเป็นจริงอาจไม่เป็นเช่นนั้น
2. เรื่องน๊อตในห้องเครื่อง ถ้ารูปทรงน๊อตเสีย หรือรอยถูกขันมาแล้ว เขาเปลี่ยนน๊อตใหม่ ใช้น๊อตแบบเดียวกับโรงงาน(มีขายทั่วไป) แล้วใช้สีแต้ม มีแค่นั้น ส่วนเรื่องรูรูปทรงกลม ใช้ตะใบแต่งรูได้ ทั้งส่วนที่เป็นคานรับ หรือแผงหลังไฟ ก็ไม่ต่างกับรถสภาพเดิมๆ
3. เรื่องสีติดตามคิ้ว ตามยางขอบกระจก ขอบประตูรถ ก็ไม่ยาก เวลาทำสีเขาก็รื้อออกหมด ไม่นิยมใช้การปิดกระดาษ ส่วนรอยอาร์ค ตะเข็บ ซีลรอยต่อต่างๆ เขามีวิธีทำรอยอาร์คเทียม(ขอสงวนบอกให้ทราบถึงวิธี เพราะต้องใช้เนื้อที่อธิบายมากเกินไป) น้ำยาซีลตะเข็บมีทั้งแบบ หลอด แบบทา จะเน้นทำจุดสำคัญๆ ที่ตามองเห็น ทำเสร็จออกมาเนียนไม่ต่างกับรถสภาพเดิมๆ
ความจริงบางมุม เกี่ยวกับรถมือสอง
ใน กรุงเทพฯ และปริมณฑล จะมีอู่เคาะพ่นสีและศูนย์ซ่อมรถยนต์ยี่ห้อดังๆ จำนวนนับร้อยนับพันแห่ง ซึ่งเกือบร้อยละ 90 ของอู่เหล่านี้ จะซ่อมรถที่เกิดจากอุบัติเหตุที่มีทั้งประเภทชนเบา ชนหนัก และพลิกคว่ำ ซึ่งหลังจากซ่อมเสร็จ รถเหล่านี้ก็ยังคงมีความบอบช้ำ ไม่สมบูรณ์อยู่ก็มาก ท้ายที่สุดรถเหล่านี้ ก็จะกลับไปสู่ตลาดซื้อขายรถมือสอง ซึ่งทำให้ตลาดรถมือสองมีทั้งรถชนเบา ชนหนัก รถพลิกคว่ำ รถดัดแปลง หรือแม้แต่รถตัดต่อ ขายรวมอยู่กับรถมือสองสภาพดีๆ เต็มท้องตลาด ซึ่งมีปะปนอยู่เป็นจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว
ตาดีได้ ตาร้ายเสีย
รถ มือ สองที่จอดขายตามตลาดรถยนต์ หรือรถบ้านที่เจ้าของขายเอง ซึ่งบางคันหรืออาจจะแทบทุกคันที่สีของรถจะใหม่เอี่ยมเงางาม ทั้งสภาพภายในภายนอก ดูเรียบร้อยสวยงามใกล้เคียงรถใหม่ป้ายแดง แต่หากจะซื้อรถมือสองสักคัน ควรได้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญมีประสบการณ์สูงเฉพาะด้าน ให้คำแนะนำและช่วยตรวจเช็ครถให้ก่อนจะตัดสินใจซื้อรถจะดีที่สุด โดยควรเป็นช่างที่มีความชำนาญเฉพาะทาง ด้านตัวถังรถยนต์จะตรงจุดที่สุด เพราะตัวถังเป็นส่วนที่ควรให้ความสำคัญเป็นประการแรก ซึ่งช่างควรเป็นช่างที่มีอายุงานมากจึงจะสามารถวินิจฉัยสภาพรถได้อย่าง ชัดเจนแม่นยำ
ใช่ว่าใครๆ ก็ดูรถเป็น
รถ มือสองแม้ราคาจะถูกกว่ารถใหม่ป้ายแดง แต่ราคาต่อคันก็ยังหลายแสนบาท บางรุ่นราคาเป็นล้านบาท ถ้าผู้ซื้อดูรถไม่เป็นหรือมีความรู้แบบครึ่งๆ กลางๆ แค่เห็นรถสวยราคาถูกใจ โอกาสที่จะเจอแจ๊คพอร์ต!!!ได้รถมีตำหนิที่อาจเคยประสบอุบัติเหตุอย่างหนัก หรือบางคันอาจมีคนตายมาครอบครองเป็นเจ้าของ ซึ่งหากคุณมาทราบภายหลังก็จะเป็นเรื่องที่น่าช้ำใจ บางทีถึงขั้นเจ็บใจเนื่องจากเสียรู้จากการถูกย้อมแมวขาย
เมื่อถึง เวลา ที่ต้องการจะขายก็จะถูกกดราคาต่ำๆ ซึ่งรถสภาพดีๆ ก็ยังอาจถูกกดราคาได้ และยิ่งถ้าเป็นรถที่มีปัญหามาก่อน จะยิ่งถูกกดราคาต่ำกว่าราคามาตรฐานอยู่มาก ชวนให้เสียความรู้สึกเสียดายเงินซึ่งไม่ควรจะเสีย และรู้สึกไม่คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป เพราะซื้อรถมีตำหนิมาใช้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ควรเกิดขึ้นกับคุณเลย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น